ศูนย์ข่าวภูเก็ต -บสย.ค้ำประกันสินเชื่อให้เอสเอ็มอีในพื้นที่ใต้ตอนบนแล้ว 300 กว่าล้านบาท ขณะนี้ที่ภาพรวมทั้งประเทศค้ำไปแล้วกว่า 3,000 ล้านบาท เผยผลกระทบเศรษฐกิจสหรัฐฯส่งผลต่ออุตฯแปรรูปด้านเกษตรในพื้นที่บางแล้ว
นายสุทธิเดช ช่วยคล้าย ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยถึงการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ บสย.สาขาสุราษฎร์ธานี ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ตอนบน 7 จังหวัด ประกอบด้วย ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พังงา กระบี่ ได้เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อ ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่มีปัญหาสินทรัพย์ที่จะนำไปค้ำประกันกับธนาคารพาณิชย์ไม่เพียงพอ 306 ล้านบาท
ในขณะที่ภาพรวมทั้งประเทศ บสย.ได้เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้แก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมแล้วกว่า 3,000 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ในช่วงแรก 4,100 ล้านบาท แต่ได้มีการปรับลด เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ส่วนสาขาสุราษฎร์ธานีก็ได้ปรับลดเป้าหมายลงเช่นกันจากเดิมกำหนดไว้ที่ 625 ล้านบาท ขณะนี้ลดเหลือ 350 ล้านบาท ซึ่งคิดว่าสิ้นปีนี้น่าที่จะทำได้ตามเป้าหมายที่ไว้วางไว้
นายสุทธิเดช กล่าวต่อว่า ผู้ประกอบการ ที่ต้องการให้บสย.เข้ามาค้ำประกันสินเชื่อ ในพื้นที่ภาคใต้จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร เช่น รับซื้อยางพารา โรงงานแปรรูปปาล์ม แปรรูปไม้ยางพารา รวมถึงธุรกิจบริการและเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร ซึ่งทั้งสองอุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมที่หลักของพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้จะมีปัญหาสินทรัพย์ ที่จะนำไปค้ำประกันกับธนาคารไม่เพียงพอต่อวงเงินสินเชื่อ บสย. จึงเข้าไปค้ำประกันให้ 50% ของวงเงินสิ้นเชื่อทั้งหมด แต่วงเงินที่ค้ำประกันไม่เกิน 40 ล้านบาท
นายสุทธิเดช ยังกล่าวถึงความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนว่า อุตสาหกรรมขนาดย่อมในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนยังมีความต้องการสินเชื่อในการดำเนินธุรกิจและให้บสย.เข้าไปค้ำประกันได้อีกจำนวนมาก แต่ขณะนี้การลงทุนเริ่มที่จะมีความเสี่ยง จากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีปัญหาลุกลามมาจากสหรัฐอเมริกา โรงงานบางแห่งมีออเดอร์เข้ามาน้อย เช่น โรงงานแปรรูปไม้ยางพาราที่ส่งไปตลาดจีนเริ่มมีปัญหาออเดอร์เข้ามาน้อย จากที่ก่อนหน้านี้ทางจีนได้มีการออเดอร์เข้ามามาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจ ที่ถดถอยทำให้การสั่งสินค้าเข้ามาน้อยตามไปด้วย รวมถึงอุตสาหกรรมแปรรูปด้านการเกษตรอื่นๆด้วย
นายสุทธิเดช ช่วยคล้าย ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยถึงการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ บสย.สาขาสุราษฎร์ธานี ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ตอนบน 7 จังหวัด ประกอบด้วย ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พังงา กระบี่ ได้เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อ ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่มีปัญหาสินทรัพย์ที่จะนำไปค้ำประกันกับธนาคารพาณิชย์ไม่เพียงพอ 306 ล้านบาท
ในขณะที่ภาพรวมทั้งประเทศ บสย.ได้เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้แก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมแล้วกว่า 3,000 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ในช่วงแรก 4,100 ล้านบาท แต่ได้มีการปรับลด เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ส่วนสาขาสุราษฎร์ธานีก็ได้ปรับลดเป้าหมายลงเช่นกันจากเดิมกำหนดไว้ที่ 625 ล้านบาท ขณะนี้ลดเหลือ 350 ล้านบาท ซึ่งคิดว่าสิ้นปีนี้น่าที่จะทำได้ตามเป้าหมายที่ไว้วางไว้
นายสุทธิเดช กล่าวต่อว่า ผู้ประกอบการ ที่ต้องการให้บสย.เข้ามาค้ำประกันสินเชื่อ ในพื้นที่ภาคใต้จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร เช่น รับซื้อยางพารา โรงงานแปรรูปปาล์ม แปรรูปไม้ยางพารา รวมถึงธุรกิจบริการและเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร ซึ่งทั้งสองอุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมที่หลักของพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้จะมีปัญหาสินทรัพย์ ที่จะนำไปค้ำประกันกับธนาคารไม่เพียงพอต่อวงเงินสินเชื่อ บสย. จึงเข้าไปค้ำประกันให้ 50% ของวงเงินสิ้นเชื่อทั้งหมด แต่วงเงินที่ค้ำประกันไม่เกิน 40 ล้านบาท
นายสุทธิเดช ยังกล่าวถึงความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนว่า อุตสาหกรรมขนาดย่อมในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนยังมีความต้องการสินเชื่อในการดำเนินธุรกิจและให้บสย.เข้าไปค้ำประกันได้อีกจำนวนมาก แต่ขณะนี้การลงทุนเริ่มที่จะมีความเสี่ยง จากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีปัญหาลุกลามมาจากสหรัฐอเมริกา โรงงานบางแห่งมีออเดอร์เข้ามาน้อย เช่น โรงงานแปรรูปไม้ยางพาราที่ส่งไปตลาดจีนเริ่มมีปัญหาออเดอร์เข้ามาน้อย จากที่ก่อนหน้านี้ทางจีนได้มีการออเดอร์เข้ามามาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจ ที่ถดถอยทำให้การสั่งสินค้าเข้ามาน้อยตามไปด้วย รวมถึงอุตสาหกรรมแปรรูปด้านการเกษตรอื่นๆด้วย