แอตต้าคาดการณ์ เฉพาะบริษัทนำเที่ยว ต้องการเงินกู้เพิ่มไม่น้อยกว่า 500 ราย คิดเป็นวงเงินรวม กว่า 4,050 ล้านบาท ขณะที่ กระทรวงการท่องเที่ยวเตรียมเชิญธนาคารแห่งประเทศไทย และ สถาบันการเงิน ร่วมรับฟังปัญหา และ วงเงินสินเชื่อ ที่เอกชนต้องการ ในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ ก่อนนำรายละเอียดเสนอกรมบัญชีกลาง ของบสนับสนุนสินเชื่อ เป็นลำดับต่อไป
นายอภิชาติ สังฆอารี กรรมการ สหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย (เฟสต้า) เปิดเผยว่า ได้หารือกับสมาชิกเฟสต้าทั้ง 6 สมาคม ได้แก่ สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า), สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว(ทีทีเอเอ), สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.), สมาคมโรงแรมไทย, สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย และสมาคมรถเช่าไทย เพื่อถามความต้องการว่า ในแต่ละ สมาคม มีสมาชิกที่ต้องการเงินทุนจำนวนกี่ราย เป็นวงเงินเท่าใด โดยมอบให้ สมาคมโรงแรมไทย เป็นผู้รวบรวมรายละเอียด ในกลุ่มของผู้ที่ต้องการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ในวงเงินที่สูงกว่า 100 ล้านบาท
ส่วนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ที่ต้องการเงินกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท ล่าสุด แอตต้าได้สำรวจแล้ว เฉพาะในกลุ่มที่เป็นสมาชิก เฟสต้า มีจำนวนราว 1,300 ราย แบ่งเป็น บริษัทนำเที่ยว 800-900 ราย สำหรับกลุ่มนี้คาดว่าจะมีผู้ที่ต้องการสินเชื่อ ประมาณ 500 ราย ในวงเงินกู้เฉลี่ยรายละ 4 ล้านบาท ดังนั้นเฉพาะ กลุ่มบริษัทนำเที่ยว คาดว่าจะต้องการเงินกู้รวม 4,050 ล้านบาท
ทั้งนี้หลักเกณฑ์การปล่อยกู้ของสถาบันการเงิน จะพิจารณาเช่นใด ขึ้นอยู่กับประวัติการกู้เงินและผ่อนชำระในอดีตของบริษัทนำเที่ยวในแต่ละรายด้วย หากเครดิตดี ประวัติดี เป็นที่น่าเชื่อถือ สถาบันการเงินเขาก็จะยินดีปล่อยกู้ให้ แต่หากเครดิตไม่ดี แอตต้าจะเป็นผู้รับรองให้ แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องไปหาผู้ประกอบการในบริษัทนำเที่ยวมาอีก 2 ราย มาเซ็นรับรองไขว้กัน ซึ่งหลักเกณฑ์ที่กล่าวมา เบื้องต้น สถาบันการเงินหลายแห่ง รับได้กับกฎเกณฑ์ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม การขอร้องของผู้ประกอบการขณะนี้ คือ ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาต่อรองกับธนาคารพาณิชย์ ในการขอลดอัตราดอกเบี้ยลง 2-3% จากปกติที่คิดในอัตราประมาณ 6-7% โดยส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่ลดให้แก่ผู้ประกอบการนั้น ภาครัฐจะรับภาระเป็นผู้จ่ายให้แก่ธนาคารพาณิชย์เอง นอกจากนั้นยังต้องการขอร้องให้ในปีแรก จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยแล้ว มาเริ่มจ่ายเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยในปีที่สอง ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 3-4 ปี เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้แก่ภาคเอกชนในช่วงปีแรก ที่อาจได้รับผลกระทบจากทั้งวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง
***ก.ท่องเที่ยวถกแบงก์16ธ.ค.นี้
ทางด้านนางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ จะเชิญตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ,ธนาคารพาณิชย์,ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอีแบงก์) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) มาร่วมรับฟังข้อมูลจากภาคเอกชน ที่ได้ให้ไปรวบรวม ปัญหา และความต้องการขอสินเชื่อ ใน 6 กลุ่มธุรกิจภาคการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ภัตตาคาร บริษัทนำเที่ยว ร้านขายของที่ระลึก ตลอดจนสินค้าและบริการท่องเที่ยวอื่นๆ เป็นต้น
โดยในรายละเอียดที่ภาคเอกชนจะต้องมานำเสนอในที่ประชุมครั้งนี้ คือ เรื่องของความจำเป็นในการต้องการขอสินเชื่อ,วงเงินสินเชื่อที่ต้องการ, รายได้ที่ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสร้างให้แก่ประเทศ, การเสียภาษีของภาคเอกชน รวมถึงการจ้างงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อให้ภาคการเงินได้เห็นภาพของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวว่า มีผลกับเศรษฐกิจของประเทศอย่างไรบ้าง โดยข้อมูลทั้งหมด กระทรวงฯและภาคเอกชน จะรวบรวมนำไปชี้แจงต่อสำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง ให้รับทราบด้วย โดยวงเงินที่รัฐจะใส่มาช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวคาดว่าจะประมาณ 15,000-20,000 ล้านบาท
นายอภิชาติ สังฆอารี กรรมการ สหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย (เฟสต้า) เปิดเผยว่า ได้หารือกับสมาชิกเฟสต้าทั้ง 6 สมาคม ได้แก่ สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า), สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว(ทีทีเอเอ), สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.), สมาคมโรงแรมไทย, สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย และสมาคมรถเช่าไทย เพื่อถามความต้องการว่า ในแต่ละ สมาคม มีสมาชิกที่ต้องการเงินทุนจำนวนกี่ราย เป็นวงเงินเท่าใด โดยมอบให้ สมาคมโรงแรมไทย เป็นผู้รวบรวมรายละเอียด ในกลุ่มของผู้ที่ต้องการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ในวงเงินที่สูงกว่า 100 ล้านบาท
ส่วนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ที่ต้องการเงินกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท ล่าสุด แอตต้าได้สำรวจแล้ว เฉพาะในกลุ่มที่เป็นสมาชิก เฟสต้า มีจำนวนราว 1,300 ราย แบ่งเป็น บริษัทนำเที่ยว 800-900 ราย สำหรับกลุ่มนี้คาดว่าจะมีผู้ที่ต้องการสินเชื่อ ประมาณ 500 ราย ในวงเงินกู้เฉลี่ยรายละ 4 ล้านบาท ดังนั้นเฉพาะ กลุ่มบริษัทนำเที่ยว คาดว่าจะต้องการเงินกู้รวม 4,050 ล้านบาท
ทั้งนี้หลักเกณฑ์การปล่อยกู้ของสถาบันการเงิน จะพิจารณาเช่นใด ขึ้นอยู่กับประวัติการกู้เงินและผ่อนชำระในอดีตของบริษัทนำเที่ยวในแต่ละรายด้วย หากเครดิตดี ประวัติดี เป็นที่น่าเชื่อถือ สถาบันการเงินเขาก็จะยินดีปล่อยกู้ให้ แต่หากเครดิตไม่ดี แอตต้าจะเป็นผู้รับรองให้ แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องไปหาผู้ประกอบการในบริษัทนำเที่ยวมาอีก 2 ราย มาเซ็นรับรองไขว้กัน ซึ่งหลักเกณฑ์ที่กล่าวมา เบื้องต้น สถาบันการเงินหลายแห่ง รับได้กับกฎเกณฑ์ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม การขอร้องของผู้ประกอบการขณะนี้ คือ ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาต่อรองกับธนาคารพาณิชย์ ในการขอลดอัตราดอกเบี้ยลง 2-3% จากปกติที่คิดในอัตราประมาณ 6-7% โดยส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่ลดให้แก่ผู้ประกอบการนั้น ภาครัฐจะรับภาระเป็นผู้จ่ายให้แก่ธนาคารพาณิชย์เอง นอกจากนั้นยังต้องการขอร้องให้ในปีแรก จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยแล้ว มาเริ่มจ่ายเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยในปีที่สอง ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 3-4 ปี เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้แก่ภาคเอกชนในช่วงปีแรก ที่อาจได้รับผลกระทบจากทั้งวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง
***ก.ท่องเที่ยวถกแบงก์16ธ.ค.นี้
ทางด้านนางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ จะเชิญตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ,ธนาคารพาณิชย์,ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอีแบงก์) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) มาร่วมรับฟังข้อมูลจากภาคเอกชน ที่ได้ให้ไปรวบรวม ปัญหา และความต้องการขอสินเชื่อ ใน 6 กลุ่มธุรกิจภาคการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ภัตตาคาร บริษัทนำเที่ยว ร้านขายของที่ระลึก ตลอดจนสินค้าและบริการท่องเที่ยวอื่นๆ เป็นต้น
โดยในรายละเอียดที่ภาคเอกชนจะต้องมานำเสนอในที่ประชุมครั้งนี้ คือ เรื่องของความจำเป็นในการต้องการขอสินเชื่อ,วงเงินสินเชื่อที่ต้องการ, รายได้ที่ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสร้างให้แก่ประเทศ, การเสียภาษีของภาคเอกชน รวมถึงการจ้างงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อให้ภาคการเงินได้เห็นภาพของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวว่า มีผลกับเศรษฐกิจของประเทศอย่างไรบ้าง โดยข้อมูลทั้งหมด กระทรวงฯและภาคเอกชน จะรวบรวมนำไปชี้แจงต่อสำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง ให้รับทราบด้วย โดยวงเงินที่รัฐจะใส่มาช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวคาดว่าจะประมาณ 15,000-20,000 ล้านบาท