สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เตรียมรวบรวมนักลงทุนที่เสียหายกรณี SECC ยื่นฟ้องแพ่ง คาดใช้เวลา 1 สัปดาห์ และดำเนินการได้ ม.ค.นี้ คาดเป็นคดีประวัติศาสตร์ เพราะเป็นการฉ้อฉลครั้งร้ายแรงที่สุด นับตั้งแต่ก่อตั้งตลาดหุ้นไทย คาดรุนแรงกว่ากรณีของ “รอยเน็ท” ที่เคยเกิดขึ้น ถือเป็นการผิดธรรมาภิบาล ที่ไม่น่าเกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นได้ เพราะต้องผ่านการตรวจสอบเป็นอย่างดี และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว
วันนี้ (17 ธันวาคม 2551) สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เปิดแถลงว่า สมาคมฯ เตรียมร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวบรวมรายชื่อนักลงทุนที่เสียหายจากกรณีของ บริษัท เอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ SECC เพื่อยื่นฟ้องทางแพ่งเรียกร้องค่าเสียหาย
นายวิชัย พูลวรลักษณ์ นายกสมาคม เปิดเผยว่า สมาคมอยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ได้รับความเสียหายจากกการลงทุนในบริษัท เอสอีซีซี ให้ได้มากที่สุด เพื่อดำเนินการฟ้องร้องผู้บริหารและกรรมการบริษัท ทั้งทางแพ่งและอาญา ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ซึ่งได้ให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นรายย่อยฟ้องร้องกรรมการและผู้บริหารได้ โดยจะใช้เวลารวบรวมรายชื่อประมาณ 1 สัปดาห์ คาดว่า ดำเนินการฟ้องได้ในเดือนมกราคม 2552
ส่วนจำนวนผู้ถือหุ้นและมูลค่าความเสียหายทั้งหมด ยังไม่สามารถประเมินตัวเลขที่แท้จริงได้ แต่เฉพาะความเสียหายจากการลงทุนในหุ้นเอสอีซีซี คาดว่า อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท แต่ไม่ทราบว่า เป็นรายย่อยและรายใหญ่มีจำนวนเท่าใดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัท เอสอีซีซี มีผลดำเนินงานเป็นปกติ จนกระทั่งผู้ตรวจสอบบัญชีมีหมายเหตุในงบการเงินไตรมาส 3 ปี 2551 เรื่องการปล่อยกู้ จากนั้นราคาหุ้นลดลงโดยตลอด ทำให้ผู้ถือหุ้นที่ลงทุนโดยสุจริตได้รับความเสียหาย
ตั้งแต่ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์มา การที่ผู้บริหารทำความผิดแบบนี้เป็นกรณีแรก สร้างความเสียหายทั้งต่อตัวบริษัท ผู้ถือหุ้น และลูกค้าของบริษัท รุนแรงกว่ากรณีของรอยเน็ทที่เคยเกิดขึ้น เป็นการผิดธรรมาภิบาลที่ไม่น่าเกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นที่ต้องผ่านการตรวจสอบเป็นอย่างดี และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งทางสมาคมเพิ่งพบความผิดปกติเมื่อปิดงบไตรมาส 3
“เหตุการณ์ครั้งนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุดตั้งแต่ตั้งตลาดหลักทรัพย์มา ไม่เคยมีครั้งใดที่ผู้บริหารทำผิดอย่างเปิดเผย และมากถึงขนาดนี้ จนทำให้นักลงทุนรายย่อยได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก เพราะทุจริตทั้งในตลาดหุ้น และนอกตลาด ทางสมาคมจึงต้องศึกษากฎหมายทุกแง่มุมเพื่อฟ้องผู้เกี่ยวข้องให้ถึงที่สุด ทั้งผู้บริหารระดับสูง และกรรมการ”
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ยืนยันว่ากระบวนการตรวจสอบของ ตลท.มีเพียงพอ และดำเนินการอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบเอสอีซีซี นายไพบูลย์ สุขสุธรรมวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอีซีซี กล่าวว่า นายอธิคม สุระสุนทร ตำแหน่งเลขานุการบริษัทประสงค์ที่จะลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีภาระหน้าที่ต้องดูแลหน่วยงานที่รับผิดชอบมาก โดยมีผลนับตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป
นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล เลขาธิการ ก.ล.ต.กล่าวถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบบริษัท เอสอีซีซี คาดว่า จะสามารถสรุปผลการตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดได้ในเร็วนี้ และได้มีหนังสือถึงกรรมการและกรรมการตรวจสอบแต่ละราย กำชับว่า หากไม่ดูแลให้เอสอีซีซีดำเนินการตามที่สำนักงาน ก.ล.ต.สั่งการ กรรมการแต่ละรายจะมีความรับผิดด้วย
สำหรับกรณีการมีใบหุ้นปลอม เกิดขึ้นเนื่องจากกฎหมายในปัจจุบันไม่บังคับว่าหุ้นของบริษัทจดทะเบียนทุกแห่งต้องเข้าสู่ระบบ scriptless ผู้ถือหุ้นที่ต้องการโกงจึงมีการทำใบหุ้นปลอมขึ้นเพื่อหาประโยชน์ แต่เพิ่งตรวจพบเมื่อมีการนำใบหุ้นปลอมดังกล่าวไปฝากในระบบของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (TSD) จึงเป็นเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไขโดยปัจจุบันสำนักงาน ก.ล.ต.และ TSD อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหา ด้วยการบังคับให้หุ้นของบริษัทจดทะเบียนต้องใช้ระบบ scriptless แต่ก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบในด้านต่างๆ ให้รอบคอบด้วย
วันนี้ (17 ธันวาคม 2551) สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เปิดแถลงว่า สมาคมฯ เตรียมร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวบรวมรายชื่อนักลงทุนที่เสียหายจากกรณีของ บริษัท เอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ SECC เพื่อยื่นฟ้องทางแพ่งเรียกร้องค่าเสียหาย
นายวิชัย พูลวรลักษณ์ นายกสมาคม เปิดเผยว่า สมาคมอยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ได้รับความเสียหายจากกการลงทุนในบริษัท เอสอีซีซี ให้ได้มากที่สุด เพื่อดำเนินการฟ้องร้องผู้บริหารและกรรมการบริษัท ทั้งทางแพ่งและอาญา ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ซึ่งได้ให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นรายย่อยฟ้องร้องกรรมการและผู้บริหารได้ โดยจะใช้เวลารวบรวมรายชื่อประมาณ 1 สัปดาห์ คาดว่า ดำเนินการฟ้องได้ในเดือนมกราคม 2552
ส่วนจำนวนผู้ถือหุ้นและมูลค่าความเสียหายทั้งหมด ยังไม่สามารถประเมินตัวเลขที่แท้จริงได้ แต่เฉพาะความเสียหายจากการลงทุนในหุ้นเอสอีซีซี คาดว่า อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท แต่ไม่ทราบว่า เป็นรายย่อยและรายใหญ่มีจำนวนเท่าใดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัท เอสอีซีซี มีผลดำเนินงานเป็นปกติ จนกระทั่งผู้ตรวจสอบบัญชีมีหมายเหตุในงบการเงินไตรมาส 3 ปี 2551 เรื่องการปล่อยกู้ จากนั้นราคาหุ้นลดลงโดยตลอด ทำให้ผู้ถือหุ้นที่ลงทุนโดยสุจริตได้รับความเสียหาย
ตั้งแต่ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์มา การที่ผู้บริหารทำความผิดแบบนี้เป็นกรณีแรก สร้างความเสียหายทั้งต่อตัวบริษัท ผู้ถือหุ้น และลูกค้าของบริษัท รุนแรงกว่ากรณีของรอยเน็ทที่เคยเกิดขึ้น เป็นการผิดธรรมาภิบาลที่ไม่น่าเกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นที่ต้องผ่านการตรวจสอบเป็นอย่างดี และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งทางสมาคมเพิ่งพบความผิดปกติเมื่อปิดงบไตรมาส 3
“เหตุการณ์ครั้งนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุดตั้งแต่ตั้งตลาดหลักทรัพย์มา ไม่เคยมีครั้งใดที่ผู้บริหารทำผิดอย่างเปิดเผย และมากถึงขนาดนี้ จนทำให้นักลงทุนรายย่อยได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก เพราะทุจริตทั้งในตลาดหุ้น และนอกตลาด ทางสมาคมจึงต้องศึกษากฎหมายทุกแง่มุมเพื่อฟ้องผู้เกี่ยวข้องให้ถึงที่สุด ทั้งผู้บริหารระดับสูง และกรรมการ”
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ยืนยันว่ากระบวนการตรวจสอบของ ตลท.มีเพียงพอ และดำเนินการอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบเอสอีซีซี นายไพบูลย์ สุขสุธรรมวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอีซีซี กล่าวว่า นายอธิคม สุระสุนทร ตำแหน่งเลขานุการบริษัทประสงค์ที่จะลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีภาระหน้าที่ต้องดูแลหน่วยงานที่รับผิดชอบมาก โดยมีผลนับตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป
นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล เลขาธิการ ก.ล.ต.กล่าวถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบบริษัท เอสอีซีซี คาดว่า จะสามารถสรุปผลการตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดได้ในเร็วนี้ และได้มีหนังสือถึงกรรมการและกรรมการตรวจสอบแต่ละราย กำชับว่า หากไม่ดูแลให้เอสอีซีซีดำเนินการตามที่สำนักงาน ก.ล.ต.สั่งการ กรรมการแต่ละรายจะมีความรับผิดด้วย
สำหรับกรณีการมีใบหุ้นปลอม เกิดขึ้นเนื่องจากกฎหมายในปัจจุบันไม่บังคับว่าหุ้นของบริษัทจดทะเบียนทุกแห่งต้องเข้าสู่ระบบ scriptless ผู้ถือหุ้นที่ต้องการโกงจึงมีการทำใบหุ้นปลอมขึ้นเพื่อหาประโยชน์ แต่เพิ่งตรวจพบเมื่อมีการนำใบหุ้นปลอมดังกล่าวไปฝากในระบบของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (TSD) จึงเป็นเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไขโดยปัจจุบันสำนักงาน ก.ล.ต.และ TSD อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหา ด้วยการบังคับให้หุ้นของบริษัทจดทะเบียนต้องใช้ระบบ scriptless แต่ก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบในด้านต่างๆ ให้รอบคอบด้วย