กรุงไทยยันปล่อยกู้ สยาม อินดิก้า 2,000 ล้านบาท หวังช่วยแก้ปัญหาเรื่องเงินหมุนเวียน ก่อนกลายเป็นเอ็นพีแอล และมีเงื่อนไขรัดกุมให้การทำบัญชีต้องผ่านธนาคารทั้งหมด พร้อมจ้างบริษัทสิงคโปร์คุมสต็อกเข้าออกทั้งหมด แจงไม่เกี่ยวเพรซิเด้นท์ฯหลังมีการปรับโครงสร้างการถือหุ้นใหม่ ส่วนแบงก์กรุงเทพระบุยังไม่มียอดปล่อยกู้กลุ่มเพรซิเด้นท์ฯเพิ่ม
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวชี้แจงกรณีที่ธนาคารได้ทำข้อตกลงในการปล่อยกู้สินเชื่อหมุนเวียนให้กับ บริษัท สยาม อินดิก้า จำกัด ในวงเงิน 2,000 ล้านบาทว่า ในช่วงก่อนหน้านี้บริษัทดังกล่าวได้ทำการขอสินเชื่อจากธนาคารไปแล้วจำนวน 1,000 ล้านบาท ซึ่งได้กู้ไปตั้งแต่ปี 2546 หรือ 2547 เพื่อลงทุนก่อสร้างโรงปรับปรุงคุณภาพข้าว ไซโล และท่าเรือ
โดยการลงทุนก่อสร้างในส่วนของเงินกู้เก่านั้น เพิ่งจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่ธนาคารก็ไม่ได้ปล่อยสินเชื่อหมุนเวียนให้ เพราะเกิดปัญหากับบริษัท เพรซิเด้นท์ อะกริ ซึ่งในขณะนั้นถือเป็นบริษัทในกลุ่มเดียวกัน และเกิดปัญหาทำให้ไม่สามารถจะชำระเงินได้ โดยขณะนี้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่อยู่กับธนาคารเป็นเงินประมาณ 900 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาทางบริษัท สยาม อินดิก้า ได้ทำการปรับโครงสร้างโดยทางผู้ถือหุ้นได้มีการซื้อหุ้นกันเอง ทำให้การถือหุ้นได้แยกจากบริษัทเพรซิเด้นท์ อะกริ ธนาคารจึงได้อนุมัติปล่อยกู้ให้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้สามารถชำระหนี้ได้ในอนาคต
ทั้งนี้ ธนาคารมีเงื่อนไขว่าธนาคารจะเป็นผู้คอยควบคุมเรื่องสต็อกการเข้าออกของสินค้า และการเข้าออกของเงินทั้งหมดโดยให้ทำผ่านบัญชีของธนาคารกรุงไทย ซึ่งทางธนาคารได้ทำการจ้างบริษัทจากสิงคโปร์ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องการคุมสต็อก เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงสำหรับธนาคาร และสามารถรับรู้การเบิกใช้เงินของบริษัทดังกล่าว ส่วนหลักประกันของสยาม อินดิก้า มีมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท
"เราปล่อยกู้ให้คนเดียว พอมีปัญหาเราก็ต้องไปแก้ ถ้าเราไม่ทำอะไรช่วยไปเขาก็อาจจะกลายเป็นเอ็นพีแอลได้ แต่ถ้าปล่อยให้เขาจะหมุนเงินได้ ก็จะมีสภาพคล่องมากขึ้น พอเดินได้ก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศด้วย เพียงแต่เราไม่ให้เขาจับเงินให้ผ่านบัญชีทั้งหมด ส่วนการถือหุ้นของบริษัทสยาม อินดิก้า ตอนนี้ก็ไม่ได้มีนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร ประธานกลุ่มบริษัทเพรซิเดนท์ฯ อยู่แล้วเพราะภายในได้มีการปรับโครงสร้างโดยมีการ สวอปหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมไปแล้ว ไม่ได้เป็นกลุ่มเดียวกันแล้ว"
นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันธนาคารได้ทำการปรับโครงสร้างหนี้กับลูกค้ารายใหญ่ 3 ราย มูลหนี้ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งได้มีการอนุมัติไปแล้วเหลือเพียงขั้นตอนการลงนาม โดยหลังจากที่ปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวจะทำให้เอ็นพีแอลของธนาคารในไตรมาส 2 ลดลงไปประมาณ 1% จากกว่า 9% เหลือกว่า 8%
ส่วนนโยบายการปล่อยสินเชื่อโรงสีข้าว ธนาคารยังคงมีการปล่อยสินเชื่อหมุนเวียนกับลูกค้าเก่าอยู่ ตามราคาข้าวที่สูงขึ้น เพราะตอนนี้ลูกค้าของธนาคารยังไม่มีปัญหา แต่กับลูกค้ารายใหม่นั้นธนาคารจะมีการดูรายละเอียดที่มากขึ้น
โดยเรื่องของการตรวจสต็อกข้าวนั้น ขณะนี้ทางธนาคารต่างๆในสมาคมได้มีการหารือร่วมกันแล้วเหลือเพียงส่งแนวนโยบายไปยังทุกธนาคารเพื่อใช้แนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน โดยการไปตรวจสต็อกข้าวนั้นจะมีการเข้าตรวจพร้อมกันเพื่อป้องกันปัญหาการให้หลักประกันเดียวแล้วขอสินเชื่อซ้ำซ้อนหลายธนาคาร
สำหรับ พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจนั้นหากมีการบังคับใช้ก็จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ขอกู้และธนาคาร โดยเฉพาะกับลูกค้ารายเล็ก หรือผู้ที่มีรายได้น้อย ที่มีหลักทรัพย์มูลค่าไม่สูง ซึ่งที่ผ่านมาในต่างประเทศได้มีการแก้ไขกฎหมายและบังคับใช้ไปก่อนหน้าแล้ว
ด้านนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อเกษตรของธนาคารในปัจจุบันจะดูจากการมีธรรมาภิบาลของลูกค้า รวมถึงระยะเวลาที่เป็นลูกค้ากับธนาคาร ซึ่งหากเป็นมานานความเชื่อใจก็จะมีมาก รวมถึงลูกค้าใหม่ก็ยินดีที่จะปล่อยสินเชื่อให้ แต่สิ่งสำคัญคือเรื่อของความเสี่ยงซึ่งธนาคารใช้เป็นหลักในการพิจารณา โดยสินเชื่อเกษตรของธนาคารยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เช่น จากโครงการเกษตรก้าวหน้า และคาดว่าจะได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่วนการขอสินเชื่อในกลุ่มเพรซิเด้นท์ฯขณะนี้ยังไม่มีเพิ่มเติมแต่อย่างใด
สำหรับเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปีนี้ยังคาดว่าจะอยู่ที่ 5% โดยจะขับเคลื่อนจากการลงทุนของภาคเอกชนและรัฐบาล และจะมีความสมดุลมากขึ้น ส่วนเรื่องของราคาน้ำมันซึ่งมีผลต่อราคาสินค้านั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลได้ติดตามดูแลอยู่ โดยปัจจัยกดดันจากราคาน้ำมันนี้ก็จะยังมีต่อไป แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งในระยะต่อไปคงจะมีการกระตุ้นให้เกิดการประหยัดกันมากขึ้น
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวชี้แจงกรณีที่ธนาคารได้ทำข้อตกลงในการปล่อยกู้สินเชื่อหมุนเวียนให้กับ บริษัท สยาม อินดิก้า จำกัด ในวงเงิน 2,000 ล้านบาทว่า ในช่วงก่อนหน้านี้บริษัทดังกล่าวได้ทำการขอสินเชื่อจากธนาคารไปแล้วจำนวน 1,000 ล้านบาท ซึ่งได้กู้ไปตั้งแต่ปี 2546 หรือ 2547 เพื่อลงทุนก่อสร้างโรงปรับปรุงคุณภาพข้าว ไซโล และท่าเรือ
โดยการลงทุนก่อสร้างในส่วนของเงินกู้เก่านั้น เพิ่งจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่ธนาคารก็ไม่ได้ปล่อยสินเชื่อหมุนเวียนให้ เพราะเกิดปัญหากับบริษัท เพรซิเด้นท์ อะกริ ซึ่งในขณะนั้นถือเป็นบริษัทในกลุ่มเดียวกัน และเกิดปัญหาทำให้ไม่สามารถจะชำระเงินได้ โดยขณะนี้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่อยู่กับธนาคารเป็นเงินประมาณ 900 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาทางบริษัท สยาม อินดิก้า ได้ทำการปรับโครงสร้างโดยทางผู้ถือหุ้นได้มีการซื้อหุ้นกันเอง ทำให้การถือหุ้นได้แยกจากบริษัทเพรซิเด้นท์ อะกริ ธนาคารจึงได้อนุมัติปล่อยกู้ให้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้สามารถชำระหนี้ได้ในอนาคต
ทั้งนี้ ธนาคารมีเงื่อนไขว่าธนาคารจะเป็นผู้คอยควบคุมเรื่องสต็อกการเข้าออกของสินค้า และการเข้าออกของเงินทั้งหมดโดยให้ทำผ่านบัญชีของธนาคารกรุงไทย ซึ่งทางธนาคารได้ทำการจ้างบริษัทจากสิงคโปร์ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องการคุมสต็อก เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงสำหรับธนาคาร และสามารถรับรู้การเบิกใช้เงินของบริษัทดังกล่าว ส่วนหลักประกันของสยาม อินดิก้า มีมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท
"เราปล่อยกู้ให้คนเดียว พอมีปัญหาเราก็ต้องไปแก้ ถ้าเราไม่ทำอะไรช่วยไปเขาก็อาจจะกลายเป็นเอ็นพีแอลได้ แต่ถ้าปล่อยให้เขาจะหมุนเงินได้ ก็จะมีสภาพคล่องมากขึ้น พอเดินได้ก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศด้วย เพียงแต่เราไม่ให้เขาจับเงินให้ผ่านบัญชีทั้งหมด ส่วนการถือหุ้นของบริษัทสยาม อินดิก้า ตอนนี้ก็ไม่ได้มีนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร ประธานกลุ่มบริษัทเพรซิเดนท์ฯ อยู่แล้วเพราะภายในได้มีการปรับโครงสร้างโดยมีการ สวอปหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมไปแล้ว ไม่ได้เป็นกลุ่มเดียวกันแล้ว"
นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันธนาคารได้ทำการปรับโครงสร้างหนี้กับลูกค้ารายใหญ่ 3 ราย มูลหนี้ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งได้มีการอนุมัติไปแล้วเหลือเพียงขั้นตอนการลงนาม โดยหลังจากที่ปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวจะทำให้เอ็นพีแอลของธนาคารในไตรมาส 2 ลดลงไปประมาณ 1% จากกว่า 9% เหลือกว่า 8%
ส่วนนโยบายการปล่อยสินเชื่อโรงสีข้าว ธนาคารยังคงมีการปล่อยสินเชื่อหมุนเวียนกับลูกค้าเก่าอยู่ ตามราคาข้าวที่สูงขึ้น เพราะตอนนี้ลูกค้าของธนาคารยังไม่มีปัญหา แต่กับลูกค้ารายใหม่นั้นธนาคารจะมีการดูรายละเอียดที่มากขึ้น
โดยเรื่องของการตรวจสต็อกข้าวนั้น ขณะนี้ทางธนาคารต่างๆในสมาคมได้มีการหารือร่วมกันแล้วเหลือเพียงส่งแนวนโยบายไปยังทุกธนาคารเพื่อใช้แนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน โดยการไปตรวจสต็อกข้าวนั้นจะมีการเข้าตรวจพร้อมกันเพื่อป้องกันปัญหาการให้หลักประกันเดียวแล้วขอสินเชื่อซ้ำซ้อนหลายธนาคาร
สำหรับ พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจนั้นหากมีการบังคับใช้ก็จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ขอกู้และธนาคาร โดยเฉพาะกับลูกค้ารายเล็ก หรือผู้ที่มีรายได้น้อย ที่มีหลักทรัพย์มูลค่าไม่สูง ซึ่งที่ผ่านมาในต่างประเทศได้มีการแก้ไขกฎหมายและบังคับใช้ไปก่อนหน้าแล้ว
ด้านนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อเกษตรของธนาคารในปัจจุบันจะดูจากการมีธรรมาภิบาลของลูกค้า รวมถึงระยะเวลาที่เป็นลูกค้ากับธนาคาร ซึ่งหากเป็นมานานความเชื่อใจก็จะมีมาก รวมถึงลูกค้าใหม่ก็ยินดีที่จะปล่อยสินเชื่อให้ แต่สิ่งสำคัญคือเรื่อของความเสี่ยงซึ่งธนาคารใช้เป็นหลักในการพิจารณา โดยสินเชื่อเกษตรของธนาคารยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เช่น จากโครงการเกษตรก้าวหน้า และคาดว่าจะได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่วนการขอสินเชื่อในกลุ่มเพรซิเด้นท์ฯขณะนี้ยังไม่มีเพิ่มเติมแต่อย่างใด
สำหรับเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปีนี้ยังคาดว่าจะอยู่ที่ 5% โดยจะขับเคลื่อนจากการลงทุนของภาคเอกชนและรัฐบาล และจะมีความสมดุลมากขึ้น ส่วนเรื่องของราคาน้ำมันซึ่งมีผลต่อราคาสินค้านั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลได้ติดตามดูแลอยู่ โดยปัจจัยกดดันจากราคาน้ำมันนี้ก็จะยังมีต่อไป แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งในระยะต่อไปคงจะมีการกระตุ้นให้เกิดการประหยัดกันมากขึ้น