ผู้จัดการรายวัน - บล.เคจีไอ เล็งดึงนักลงทุนยุโรป-อเมริกาลงทุน "ไทยเด็กซ์" จากปัจจุบันต่างชาติเข้าลงทุนแถบเอเชีย "นฤมล" ต้นเดือนเม.ย. ต่างชาติสั่งซื้อหน่วยเพิ่ม 200-300 ล้านบาท -ราคาหุ้นเพิ่ม ดันขนาดกองทุนโตกว่า 3 ล้านบาท หนุนฝรั่งเข้าลงทุนมากขึ้นจากสภาพคล่องสูง จากผลโรดโชว์ พร้อมมั่นใจปีนี้แตะ 1 หมื่นล้านบาทแน่นอน
นางสาวนฤมล อาจอำนวยวิภาส ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI เปิดเผยว่า ขณะนี้นักลงทุนสถาบันต่างประเทศได้ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในกองทุนกองทุนเปิด ไทยเด็กซ์ เซ็ท 50 อีทีเอฟ (TDEX) มากขึ้น โดยช่วงที่ผ่านมาได้มีการสั่งซื้อหน่วยลงทุนกับทางบริษัทจำนวน 200-300 ล้านบาท ทำให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (เอยูเอ็ม) ณ วันที่ 17 เมษายน 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3,368.48 ล้านบาท
"เอยูเอ็มที่สูงกว่าระดับ 3.3 พันล้านบาท ถือว่าสูงสุดตั้งแต่จัดตั้งกองทุน และเชื่อว่าเมื่อเอยูเอ็มปรับตัวในระดับ 3 พันล้านบาท จะทำให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนมากขึ้นจากที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายที่สูง"
สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนให้นักลงทุนต่างประเทศเข้าลงทุนใน TDEX มากขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่บริษัทได้มีการไปนำเสนอข้อมูลแก่นักลงทุนต่างประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกงเกาหลี ไต้หวัน จีน โดยขณะนี้นักลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่ที่จะเข้ามาลงทุนนั้นเป็นนักลงทุนกลุ่มดังกล่าว และนักลงทุนญี่ปุ่นก็เริ่มที่จะเข้ามาลงทุนแล้ว โดยบริษัทมีแผนให้ทางบริษัทในเครือเคจีไอ ต่างประเทศ มีการแนะนำนักลงทุนต่างประเทศยุโรป อเมริกา ให้เข้ามาลงทุนในTDEX ซึ่งขณะนี้เริ่มมีการดำเนินการแล้ว ซึ่งคาดว่าจะมีนักลงทุนดังกล่าวเข้ามาซื้อ
"จากการที่ขนาดกองทุน TDEX ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.36 พันล้านบาท ณ วันที่ 18 เม.ย. ซึ่งถือว่าสูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนมาจากนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนและราคาหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และการที่บริษัทจะมีการไปโรดโชว์ตลอดทั้งปีนี้ ทำให้บริษัทมั่นใจว่าขนาดกองทุนปีนี้จะปรับตัวสูงขึ้นอยู่ 10,000 ล้านบาทได้" นางสาวนฤมล กล่าวว่า
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนใน TDEX ในสัดส่วนที่ต่ำ เนื่องจากขนาดกองทุนยังเล็ก ทำให้มีปัญหาในเรื่องสภาพคล่องในการซื้อขาย แต่เมื่อขนาดกองทุนมีการเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ต่างชาติเริ่มสนใจที่จะเข้ามาลงทุนมากขึ้น และขณะนี้เม็ดเงินการลงทุนของต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้น จากที่ตลาดอื่นไม่ค่อยน่าสนใจลงทุน เช่น จีน อินเดีย ทำให้เม็ดเงินต่างประเทศเข้ามาลงทุน ทำให้ปริมาณการซื้อขายหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับ กว่า 20,000 ล้านบาท
นางสาวนฤมล กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทเตรียมที่จะมีการออกกองทุนอิควิตี้อีทีเอฟ (อีทีเอฟ) เพื่ออิงกับดัชนีใหม่ ฟุตซี่อินเด็กซ์ซี่รี่ ซึ่งจะต้องให้ทางตลาดอนุพันธ์ มีการออกฟิวเจอร์ที่อิงกับดัชนีใหม่ออกมาก่อน ซึ่งตามกระบวนการแล้วทางตลาดจะออกดัชนีฟุ้ตซี่อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมนี้
ส่วนในเรื่องความคืบหน้าในการที่จะนำกองทุนอีทีเอฟไทยหรือ TDEX ไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ แต่จากการที่ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯไต้หวันจะมีการนำอีทีเอฟของประเทศเกาหลีจึงต้องรอให้มีการดำเนินการจดทะเบียนของอีทีเอฟเกาหลีให้เรียบร้อยก่อน
สำหรับในเรื่องการที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อนุมัติให้นักลงทุนไทยสามารถที่จะไปลงทุนต่างประเทศได้นั้น ขณะนี้บล.เคจีไอ อยู่ระหว่างการดำเนินการที่ให้ให้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศโดยผ่านบริษัท รวมถึงบริษัทมีความสนใจที่จะมีการดำเนินการออกเสนอขาย และการซื้อขายใบรับฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เปลี่ยนมือได้ (TCR) โดยคาดว่าหลักทรัพย์ฯที่จะนำมาออกเป็น TCR จะเป็นของประเทศที่ทางเคจีไอมีสาขาอยู่ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม บล.เคจีไอ กังวลว่าเมื่อมีการออก TCR มาแล้วจะไม่มีสภาพคล่อง เพราะทางด้านก.ล.ต.ไม่ได้มีการกำหนดให้ผู้ที่มีการออกต้องมีผู้ที่ดูแลสภาพคล่อง (มาร์เกตเมกเกอร์) ซึ่งอาจจะทำให้มีปัญหาในเรื่องสภาพคล่อง โดยจะทำให้โบรกเกอร์มีต้นทุนในการดำเนินการที่สูงเพื่อที่ต้องดูแลสภาพคล่องของ TCR ที่มีการออกเสนอขาย
นางสาวนฤมล อาจอำนวยวิภาส ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI เปิดเผยว่า ขณะนี้นักลงทุนสถาบันต่างประเทศได้ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในกองทุนกองทุนเปิด ไทยเด็กซ์ เซ็ท 50 อีทีเอฟ (TDEX) มากขึ้น โดยช่วงที่ผ่านมาได้มีการสั่งซื้อหน่วยลงทุนกับทางบริษัทจำนวน 200-300 ล้านบาท ทำให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (เอยูเอ็ม) ณ วันที่ 17 เมษายน 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3,368.48 ล้านบาท
"เอยูเอ็มที่สูงกว่าระดับ 3.3 พันล้านบาท ถือว่าสูงสุดตั้งแต่จัดตั้งกองทุน และเชื่อว่าเมื่อเอยูเอ็มปรับตัวในระดับ 3 พันล้านบาท จะทำให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนมากขึ้นจากที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายที่สูง"
สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนให้นักลงทุนต่างประเทศเข้าลงทุนใน TDEX มากขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่บริษัทได้มีการไปนำเสนอข้อมูลแก่นักลงทุนต่างประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกงเกาหลี ไต้หวัน จีน โดยขณะนี้นักลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่ที่จะเข้ามาลงทุนนั้นเป็นนักลงทุนกลุ่มดังกล่าว และนักลงทุนญี่ปุ่นก็เริ่มที่จะเข้ามาลงทุนแล้ว โดยบริษัทมีแผนให้ทางบริษัทในเครือเคจีไอ ต่างประเทศ มีการแนะนำนักลงทุนต่างประเทศยุโรป อเมริกา ให้เข้ามาลงทุนในTDEX ซึ่งขณะนี้เริ่มมีการดำเนินการแล้ว ซึ่งคาดว่าจะมีนักลงทุนดังกล่าวเข้ามาซื้อ
"จากการที่ขนาดกองทุน TDEX ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.36 พันล้านบาท ณ วันที่ 18 เม.ย. ซึ่งถือว่าสูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนมาจากนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนและราคาหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และการที่บริษัทจะมีการไปโรดโชว์ตลอดทั้งปีนี้ ทำให้บริษัทมั่นใจว่าขนาดกองทุนปีนี้จะปรับตัวสูงขึ้นอยู่ 10,000 ล้านบาทได้" นางสาวนฤมล กล่าวว่า
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนใน TDEX ในสัดส่วนที่ต่ำ เนื่องจากขนาดกองทุนยังเล็ก ทำให้มีปัญหาในเรื่องสภาพคล่องในการซื้อขาย แต่เมื่อขนาดกองทุนมีการเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ต่างชาติเริ่มสนใจที่จะเข้ามาลงทุนมากขึ้น และขณะนี้เม็ดเงินการลงทุนของต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้น จากที่ตลาดอื่นไม่ค่อยน่าสนใจลงทุน เช่น จีน อินเดีย ทำให้เม็ดเงินต่างประเทศเข้ามาลงทุน ทำให้ปริมาณการซื้อขายหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับ กว่า 20,000 ล้านบาท
นางสาวนฤมล กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทเตรียมที่จะมีการออกกองทุนอิควิตี้อีทีเอฟ (อีทีเอฟ) เพื่ออิงกับดัชนีใหม่ ฟุตซี่อินเด็กซ์ซี่รี่ ซึ่งจะต้องให้ทางตลาดอนุพันธ์ มีการออกฟิวเจอร์ที่อิงกับดัชนีใหม่ออกมาก่อน ซึ่งตามกระบวนการแล้วทางตลาดจะออกดัชนีฟุ้ตซี่อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมนี้
ส่วนในเรื่องความคืบหน้าในการที่จะนำกองทุนอีทีเอฟไทยหรือ TDEX ไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ แต่จากการที่ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯไต้หวันจะมีการนำอีทีเอฟของประเทศเกาหลีจึงต้องรอให้มีการดำเนินการจดทะเบียนของอีทีเอฟเกาหลีให้เรียบร้อยก่อน
สำหรับในเรื่องการที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อนุมัติให้นักลงทุนไทยสามารถที่จะไปลงทุนต่างประเทศได้นั้น ขณะนี้บล.เคจีไอ อยู่ระหว่างการดำเนินการที่ให้ให้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศโดยผ่านบริษัท รวมถึงบริษัทมีความสนใจที่จะมีการดำเนินการออกเสนอขาย และการซื้อขายใบรับฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เปลี่ยนมือได้ (TCR) โดยคาดว่าหลักทรัพย์ฯที่จะนำมาออกเป็น TCR จะเป็นของประเทศที่ทางเคจีไอมีสาขาอยู่ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม บล.เคจีไอ กังวลว่าเมื่อมีการออก TCR มาแล้วจะไม่มีสภาพคล่อง เพราะทางด้านก.ล.ต.ไม่ได้มีการกำหนดให้ผู้ที่มีการออกต้องมีผู้ที่ดูแลสภาพคล่อง (มาร์เกตเมกเกอร์) ซึ่งอาจจะทำให้มีปัญหาในเรื่องสภาพคล่อง โดยจะทำให้โบรกเกอร์มีต้นทุนในการดำเนินการที่สูงเพื่อที่ต้องดูแลสภาพคล่องของ TCR ที่มีการออกเสนอขาย