แนะกู้วิกฤตอสังหาฯ ปี 52 ยืดภาษี-ลด ดบ. พยุงตลาด พร้อมวอน "แบงก์ชาติ" กระตุ้นแบงก์พาณิชย์ ปล่อยสินเชื่อโครงการ
นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เปิดเผยว่า หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1% เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อแนวโน้มธุรกิจสังหาริมทรัพย์ในปี 2552 และช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคตัดสินใจซื้อบ้านได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะซื้อบ้านรายใหม่ เนื่องจากรตาคาจะต่ำลงราว 8-10%
ทั้งนี้ จากการขยายอายุมาตรการภาษีกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ จากเดิมจะครบกำหนดในวันที่ 31 มีนาคม 2552 ออกไปอีก 1 ปี เป็น 28 มีนาคม 2553 ด้วยการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 3.3% เหลือ 0.1% ลดค่าจดทะเบียนการโอนและจดจำนองจาก 2% เหลือ 0.01% จะส่งผลให้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในปี 2552 หดตัวลงเพียง5-10 % ซึ่งถือเป็นการลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม ต้องการให้ ธปท.ดำเนินนโยบายเพิ่มสภาพคล่องในระบบมากขึ้น เพราะจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ให้ทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามแบงก์ชาติ โดยที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ไม่ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้มากนักทำให้สภาพคล่องในระบบยังอยู่ในสภาวะที่ตึงตัวพอสมควร
"เศรษฐกิจที่อาจซบเซาอย่างรุนแรงในปีหน้า ยังเป็นปัจจัยที่น่าห่วงว่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากที่สุด เพราะผู้ประกอบการหลายรายเริ่มชะลอเปิดโครงการลงทุนใหม่ในปีหน้าแล้ว"
ทั้งนี้ หวังว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะไม่ชะลอตัวรุนแรงอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ เนื่องจากทิศทางเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องน่าส่งผลดีต่อการส่งออกบ้าง เพราะสินค้าไทยจะได้เปรียบสินค้าจากประเทศอื่นในตลาดโลก
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรส่งเสริมการหาตลาดใหม่เพื่อเปิดตลาดการส่งออก และใช้นโยบายลงทุนในประเทศมากขึ้น และจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำแล้ว การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งต่อไปน่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกครั้ง
ผลจากเศรษฐกิจซบเซา คาดว่าจะทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทัรพย์หน้าใหม่ นำโครงการคอนโดมิเนียมที่ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า มาเปิดประมูลขายแบบไม่กำหนดราคาขั้นต่ำมากขึ้น เพื่อกระตุ้นยอดขายและนำเงินไปชำระหนี้กับสถาบันการเงิน
นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เปิดเผยว่า หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1% เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อแนวโน้มธุรกิจสังหาริมทรัพย์ในปี 2552 และช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคตัดสินใจซื้อบ้านได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะซื้อบ้านรายใหม่ เนื่องจากรตาคาจะต่ำลงราว 8-10%
ทั้งนี้ จากการขยายอายุมาตรการภาษีกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ จากเดิมจะครบกำหนดในวันที่ 31 มีนาคม 2552 ออกไปอีก 1 ปี เป็น 28 มีนาคม 2553 ด้วยการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 3.3% เหลือ 0.1% ลดค่าจดทะเบียนการโอนและจดจำนองจาก 2% เหลือ 0.01% จะส่งผลให้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในปี 2552 หดตัวลงเพียง5-10 % ซึ่งถือเป็นการลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม ต้องการให้ ธปท.ดำเนินนโยบายเพิ่มสภาพคล่องในระบบมากขึ้น เพราะจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ให้ทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามแบงก์ชาติ โดยที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ไม่ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้มากนักทำให้สภาพคล่องในระบบยังอยู่ในสภาวะที่ตึงตัวพอสมควร
"เศรษฐกิจที่อาจซบเซาอย่างรุนแรงในปีหน้า ยังเป็นปัจจัยที่น่าห่วงว่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากที่สุด เพราะผู้ประกอบการหลายรายเริ่มชะลอเปิดโครงการลงทุนใหม่ในปีหน้าแล้ว"
ทั้งนี้ หวังว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะไม่ชะลอตัวรุนแรงอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ เนื่องจากทิศทางเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องน่าส่งผลดีต่อการส่งออกบ้าง เพราะสินค้าไทยจะได้เปรียบสินค้าจากประเทศอื่นในตลาดโลก
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรส่งเสริมการหาตลาดใหม่เพื่อเปิดตลาดการส่งออก และใช้นโยบายลงทุนในประเทศมากขึ้น และจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำแล้ว การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งต่อไปน่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกครั้ง
ผลจากเศรษฐกิจซบเซา คาดว่าจะทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทัรพย์หน้าใหม่ นำโครงการคอนโดมิเนียมที่ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า มาเปิดประมูลขายแบบไม่กำหนดราคาขั้นต่ำมากขึ้น เพื่อกระตุ้นยอดขายและนำเงินไปชำระหนี้กับสถาบันการเงิน