ธปท.เผยแบงก์พาณิชย์ 6 แห่ง ยืนยันสภาพคล่องมีมาก แต่ห่วงเป้าเงินฝากปีหน้า พร้อมแจงค่าเงินบาทอ่อน เอกชนยอมรับได้ ไม่เกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยนโยบาย 1%
วันนี้ (09 ธันวาคม 2551) นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวภายหลังการเข้าพบของธนาคารพาณิชย์ 6 แห่ง โดยระบุว่า ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ แจ้งว่าสภาพคล่องในภาพรวมยังมีอยู่มาก และหลังจาก ธปท.ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เชื่อว่า ธนาคารพาณิชย์จะทยอยลดตาม ซึ่งอาจจะปรับลดในส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมากกว่าเงินกู้ เนื่องจากต้นทุนยังสูงอยู่ ทำให้มีความเป็นห่วงเป้าเงินฝากในปีหน้า
ส่วนกรณีข้อกังวลเกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยมีผลต่อค่าเงินนั้น นางสุชาดา กล่าวว่า ส่วนต่างดอกเบี้ยไม่ได้มีผลต่อค่าเงินบาทมากนัก แม้จะอ่อนค่าลงไปบ้างหลังจาก ธปท.ปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่ขณะนี้กลับมาแข็งค่าเล็กน้อย หากเทียบกับเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 0.88% และสอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค นอกจากนี้ ประเทศต่างๆ ก็มีการลดดอกเบี้ยมากกว่าไทย
“ค่าเงินของเราก็อ่อนลงประมาณ 5% เทียบกับสิ้นปีก่อน ยืนยันว่า ของเราค่อนข้างมีเสถียรภาพ แต่ก็ถือว่าระดับนี้เอกชนรับได้ อ่อนไปบ้างแข็งไปบ้างเทียบกับประเทศอื่นเราก็อยู่กลางๆ และเท่าที่ดูจากการลดดอกเบี้ยที่มีการมองว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เงินบาทอ่อน จริงๆ แล้วไม่มีผลมาก เพราะคนอื่นก็ลดด้วย และคนอื่นก็ลดเยอะกว่า”
นางสุชาดา กล่าวยืนยันว่า เงินบาทที่อ่อนค่าลงในขณะนี้ ถือเป็นระดับที่ภาคเอกชนรับได้ และมีเสถียรภาพ ซึ่งส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยกับต่างประเทศในปัจจุบันไม่ได้มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ พบว่า ยังไม่มีปัญหา และ ธปท.คาดหวังที่จะให้นโยบายการคลัง เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ค่าเงิน
นางสุชาดา กล่าวเพิ่มเติมว่า การลดดอกเบี้ยทำให้มองว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น เพราะจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ขณะที่ไม่มีความกังวลเรื่องแรงกดดันจากเงินเฟ้อ แม้ว่าขณะนี้นโยบายการคลังจะต้องรอรัฐบาลใหม่ แต่ก็สามารถใช้นโยบายการเงินก่อน ถือว่าผสมผสานกันไป
วันนี้ (09 ธันวาคม 2551) นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวภายหลังการเข้าพบของธนาคารพาณิชย์ 6 แห่ง โดยระบุว่า ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ แจ้งว่าสภาพคล่องในภาพรวมยังมีอยู่มาก และหลังจาก ธปท.ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เชื่อว่า ธนาคารพาณิชย์จะทยอยลดตาม ซึ่งอาจจะปรับลดในส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมากกว่าเงินกู้ เนื่องจากต้นทุนยังสูงอยู่ ทำให้มีความเป็นห่วงเป้าเงินฝากในปีหน้า
ส่วนกรณีข้อกังวลเกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยมีผลต่อค่าเงินนั้น นางสุชาดา กล่าวว่า ส่วนต่างดอกเบี้ยไม่ได้มีผลต่อค่าเงินบาทมากนัก แม้จะอ่อนค่าลงไปบ้างหลังจาก ธปท.ปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่ขณะนี้กลับมาแข็งค่าเล็กน้อย หากเทียบกับเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 0.88% และสอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค นอกจากนี้ ประเทศต่างๆ ก็มีการลดดอกเบี้ยมากกว่าไทย
“ค่าเงินของเราก็อ่อนลงประมาณ 5% เทียบกับสิ้นปีก่อน ยืนยันว่า ของเราค่อนข้างมีเสถียรภาพ แต่ก็ถือว่าระดับนี้เอกชนรับได้ อ่อนไปบ้างแข็งไปบ้างเทียบกับประเทศอื่นเราก็อยู่กลางๆ และเท่าที่ดูจากการลดดอกเบี้ยที่มีการมองว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เงินบาทอ่อน จริงๆ แล้วไม่มีผลมาก เพราะคนอื่นก็ลดด้วย และคนอื่นก็ลดเยอะกว่า”
นางสุชาดา กล่าวยืนยันว่า เงินบาทที่อ่อนค่าลงในขณะนี้ ถือเป็นระดับที่ภาคเอกชนรับได้ และมีเสถียรภาพ ซึ่งส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยกับต่างประเทศในปัจจุบันไม่ได้มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ พบว่า ยังไม่มีปัญหา และ ธปท.คาดหวังที่จะให้นโยบายการคลัง เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ค่าเงิน
นางสุชาดา กล่าวเพิ่มเติมว่า การลดดอกเบี้ยทำให้มองว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น เพราะจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ขณะที่ไม่มีความกังวลเรื่องแรงกดดันจากเงินเฟ้อ แม้ว่าขณะนี้นโยบายการคลังจะต้องรอรัฐบาลใหม่ แต่ก็สามารถใช้นโยบายการเงินก่อน ถือว่าผสมผสานกันไป