ธปท.เผยเงินบาทอ่อนค่าตามทิศทางเงินทุนไหลออก ระบุไม่น่าห่วงยังเป็น โต้ไม่เกี่ยวกับนักลงทุนต่างชาติกังวลที่กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายถึง 1% เพราะรัฐบาลไทยห่วงเศรษฐกิจไทยจะย้ำแย่ ขณะที่นักบริหารเงินธนาคารพาณิชย์สั่งจับตาปัญหาการเมืองไทยหวั่นเกิดความรุนแรงส่งผลให้บาทอ่อนค่าทะลุ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การเคลื่อนไหวเงินบาทที่ค่อนข้างจะอ่อนค่าเมื่อวานนี้(4 ธ.ค.) เป็นไปตามทิศทางเงินทุนไหลออกจากตลาดการเงินตามปกติเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ได้น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด และเชื่อว่าไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการนักลงทุนต่างชาติมองว่าเศรษฐกิจไทยจะย้ำแย่จนทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ต้องตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน(อัตราดอกเบี้ยนโยบาย)ลง 1% จากระดับ 3.75% มาอยู่ที่ระดับ 2.75% เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา
โดยก่อนหน้านี้ น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยแรงๆ ถึง 1% กนง.ได้มีการประเมินแล้วว่าจะไม่กระทบต่อภาคการเงินทั้งเงินทุนเคลื่อนย้ายจากการที่เงินทุนไหลออกจากประเทศ รวมถึงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างของไทยกับต่างประเทศ ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะมีการประชุมในช่วงกลางเดือนธ.ค.นี้และหลายฝ่ายมองว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งอาจทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยห่างออกไปอีก
ด้านนักบริหารเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเมื่อวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 35.56-35.59 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยในระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 35.57 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และเงินบาทค่อยๆ ปรับอ่อนค่าเรื่อยๆ ซึ่งอ่อนค่าสุดที่ระดับ 35.77 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และท้ายสุดปิดตลาดที่ระดับ 35.73-35.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยได้ซึมซับข่าวดีที่กนง.ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 1% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แล้ว แต่โดยรวมเศรษฐกิจไทยยังไม่สดใสนัก เนื่องจากตลาดยังไม่มั่นใจกับสถานการณ์การเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่จะมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ หากต่างฝ่ายต่างมีเงื่อนไขทางการเมือง
"ต้องจับตาค่าเงินบาทว่าจะได้รับผลจากสถานการณ์การเมืองอย่างไรบ้างไม่ว่าจะเป็นช่วงหลังจากวันที่ 5 ธ.ค.นี้ไปแล้ว เพราะอาจจะมีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ(นปช.) ในวันที่ 7 ธ.ค.นี้ และจะมีการเลือกนายกฯ วันที่ 8 ธ.ค. ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงก็มีโอกาสให้เงินบาทอ่อนค่าทะลุ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้"นักบริหารเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าว
สำหรับค่าเงินบาทในช่วงสัปดาห์หน้าคาดว่า เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.50-35.80 บาทต่อดอลลาร์ ในกรณีที่เหตุการณ์ปกติไม่เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่ไม่รุนแรงนัก
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การเคลื่อนไหวเงินบาทที่ค่อนข้างจะอ่อนค่าเมื่อวานนี้(4 ธ.ค.) เป็นไปตามทิศทางเงินทุนไหลออกจากตลาดการเงินตามปกติเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ได้น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด และเชื่อว่าไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการนักลงทุนต่างชาติมองว่าเศรษฐกิจไทยจะย้ำแย่จนทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ต้องตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน(อัตราดอกเบี้ยนโยบาย)ลง 1% จากระดับ 3.75% มาอยู่ที่ระดับ 2.75% เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา
โดยก่อนหน้านี้ น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยแรงๆ ถึง 1% กนง.ได้มีการประเมินแล้วว่าจะไม่กระทบต่อภาคการเงินทั้งเงินทุนเคลื่อนย้ายจากการที่เงินทุนไหลออกจากประเทศ รวมถึงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างของไทยกับต่างประเทศ ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะมีการประชุมในช่วงกลางเดือนธ.ค.นี้และหลายฝ่ายมองว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งอาจทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยห่างออกไปอีก
ด้านนักบริหารเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเมื่อวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 35.56-35.59 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยในระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 35.57 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และเงินบาทค่อยๆ ปรับอ่อนค่าเรื่อยๆ ซึ่งอ่อนค่าสุดที่ระดับ 35.77 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และท้ายสุดปิดตลาดที่ระดับ 35.73-35.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยได้ซึมซับข่าวดีที่กนง.ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 1% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แล้ว แต่โดยรวมเศรษฐกิจไทยยังไม่สดใสนัก เนื่องจากตลาดยังไม่มั่นใจกับสถานการณ์การเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่จะมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ หากต่างฝ่ายต่างมีเงื่อนไขทางการเมือง
"ต้องจับตาค่าเงินบาทว่าจะได้รับผลจากสถานการณ์การเมืองอย่างไรบ้างไม่ว่าจะเป็นช่วงหลังจากวันที่ 5 ธ.ค.นี้ไปแล้ว เพราะอาจจะมีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ(นปช.) ในวันที่ 7 ธ.ค.นี้ และจะมีการเลือกนายกฯ วันที่ 8 ธ.ค. ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงก็มีโอกาสให้เงินบาทอ่อนค่าทะลุ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้"นักบริหารเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าว
สำหรับค่าเงินบาทในช่วงสัปดาห์หน้าคาดว่า เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.50-35.80 บาทต่อดอลลาร์ ในกรณีที่เหตุการณ์ปกติไม่เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่ไม่รุนแรงนัก