"สมชาย" คึกหลังพี่เมียประกาศโฟนอินรอบ 2 ล่าสุดออกคำสั่งแต่งตั้งผู้มีชื่อเสียงจากแวดวงราชการ ธุรกิจการเงินและภาคอุตสาหกรรม 17 คน ทำหน้าที่ช่วยให้คำปรึกษา "โอฬาร ไชยประวัติ" รับมือวิกฤตเศรษฐกิจ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจ ทำหน้าที่ช่วยการทำงานของนายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี รวมทั้งสิ้น 17 คน ประกอบด้วยตนเอง ส่วนที่เหลือได้แก่ นายพนัส สิมะเสถียร อดีตปลัดกระทรวงการคลัง นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ อดีตผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม อดีตอัยการสูงสุด นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายบุญยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ นายศิริ การเจริญดี อดีตรองผู้ว่าการ ธปท. นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย นายสำราญ ภูอนันตานนท์ อดีตที่ปรึกษา รมว.คลัง นายพิษณุ เหรียญมหาสาร รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ศจ.สมพร อิศวิลานนท์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง นางเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
"คาดว่ารองนายกรัฐมนตรี จะเรียกประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 17 คน ทุก 2 สัปดาห์ต่อครั้ง เพื่อติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ และประเมินผลของ 6 มาตรการ" นายสันติกล่าวและว่า คณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิข้างต้นจะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่างๆ ในการดำเนินงานส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการของรองนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะงานด้านเศรษฐกิจของประเทศเพื่อร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤติ รวมทั้งผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้า
ส่วนการประชุมของ สอท.ล่าสุดยังพูดคุยถึงสถานการณ์ในภาวะปัจจุบันของเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มว่ามีอุปสรรคอย่างไรบ้าง มีการคุยถึงเรื่องสภาพคล่องภายในประเทศว่ามีเพียงพอหรือไม่ สำหรับการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หลังจากที่ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดและระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ด้านนายชัยนันท์ อุโฆษกุล ประธานอนุกรรมการการค้าระหว่างประเทศสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าคงไม่ได้ทำให้ภาคเอกชนมั่นใจได้ว่าการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศและความขัดแย้งใน ครม.จะดีขึ้น เพราะเชื่อว่ารัฐบาลจะนำคนนอกเข้ามาเสริมการทำงาน แต่เป็นการสับเปลี่ยนโยกย้ายกระทรวง สุดท้ายความขัดแย้งก็ยังอยู่และจากการทำหน้าที่ที่ผ่านมาเห็นว่ารัฐบาลยังไม่สามารถนำมาตรการในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่มีอยู่มาปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรมได้
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า กระแสความขัดแย้งของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจถือเป็นหนึ่งในความเสี่ยงของเศรษฐกิจในประเทศที่ต้องเผชิญ นอกเหนือจากความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งความขัดแย้งของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะทำให้ผู้ประกอบการขาดความมั่นใจในแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น เพราะแนวทางในการแก้ไขจะไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และขาดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจ ทำหน้าที่ช่วยการทำงานของนายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี รวมทั้งสิ้น 17 คน ประกอบด้วยตนเอง ส่วนที่เหลือได้แก่ นายพนัส สิมะเสถียร อดีตปลัดกระทรวงการคลัง นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ อดีตผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม อดีตอัยการสูงสุด นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายบุญยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ นายศิริ การเจริญดี อดีตรองผู้ว่าการ ธปท. นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย นายสำราญ ภูอนันตานนท์ อดีตที่ปรึกษา รมว.คลัง นายพิษณุ เหรียญมหาสาร รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ศจ.สมพร อิศวิลานนท์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง นางเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
"คาดว่ารองนายกรัฐมนตรี จะเรียกประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 17 คน ทุก 2 สัปดาห์ต่อครั้ง เพื่อติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ และประเมินผลของ 6 มาตรการ" นายสันติกล่าวและว่า คณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิข้างต้นจะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่างๆ ในการดำเนินงานส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการของรองนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะงานด้านเศรษฐกิจของประเทศเพื่อร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤติ รวมทั้งผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้า
ส่วนการประชุมของ สอท.ล่าสุดยังพูดคุยถึงสถานการณ์ในภาวะปัจจุบันของเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มว่ามีอุปสรรคอย่างไรบ้าง มีการคุยถึงเรื่องสภาพคล่องภายในประเทศว่ามีเพียงพอหรือไม่ สำหรับการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หลังจากที่ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดและระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ด้านนายชัยนันท์ อุโฆษกุล ประธานอนุกรรมการการค้าระหว่างประเทศสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าคงไม่ได้ทำให้ภาคเอกชนมั่นใจได้ว่าการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศและความขัดแย้งใน ครม.จะดีขึ้น เพราะเชื่อว่ารัฐบาลจะนำคนนอกเข้ามาเสริมการทำงาน แต่เป็นการสับเปลี่ยนโยกย้ายกระทรวง สุดท้ายความขัดแย้งก็ยังอยู่และจากการทำหน้าที่ที่ผ่านมาเห็นว่ารัฐบาลยังไม่สามารถนำมาตรการในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่มีอยู่มาปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรมได้
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า กระแสความขัดแย้งของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจถือเป็นหนึ่งในความเสี่ยงของเศรษฐกิจในประเทศที่ต้องเผชิญ นอกเหนือจากความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งความขัดแย้งของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะทำให้ผู้ประกอบการขาดความมั่นใจในแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น เพราะแนวทางในการแก้ไขจะไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และขาดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม