แบงก์ชาติป้องแบงก์ ระบุแม้หุ้นตกก็ไม่กระทบฐานะ ส่วนปีหน้าผลจากวิกฤตการเงินโลกจะส่งผลให้ลูกค้ารายใหญ่กู้เงินนอกได้ยาก และจะหันมาพึ่งเงินกู้ในประเทศแทน ซึ่งจะส่งผลต่อลูกหนี้รายย่อยที่จะขอสินเชื่อจากแบงก์ยาก แบงก์ชาติรู้สึกเป็นห่วง
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าในช่วงที่ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยดัชนีมีความผันผวนและปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมานั้น จากการติดตามของธปท. พบว่ากระทบต่อเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์เพียง 0.25% เท่านั้น ซึ่งยังไม่กระทบต่อฐานะของธนาคารพาณิชย์ เพราะหากเทียบกับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐานของบีไอเอสทั้งระบบของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนกันยายน เฉลี่ยอยู่ที่ 15.6% สูงกว่าเกณฑ์ที่ธปท.กำหนดไว้ที่ 8.5% เท่านั้น
“เมื่อดูภาพรวมของระบบแบงก์ขณะนี้ ถือว่าไม่ห่วง ตอนนี้แบงก์ยังมีความมั่นคงอยู่ ถึงแม้ดัชนีหุ้นไทยจะลดลง ก็กระทบเงินกองทุนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ” นายสรสิทธิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ปีหน้าผลจากวิกฤตสถาบันการเงินโลก จะส่งผลต่อลูกค้ารายใหญ่ที่ต่อไปอาจจะพึ่งการกู้เงินจากต่างประเทศได้ยาก ทำให้ต้องกลับมาพึ่งเงินกู้ในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อลูกหนี้รายย่อยที่ต้องการสินเชื่อก็เป็นได้ เนื่องจากลูกหนี้รายใหญ่เป็นลูกหนี้ที่มีศักยภาพที่ธนาคารพาณิชย์ต้องการปล่อยกู้ให้อยู่แล้ว เพราะเป็นวงเงินที่สูง ขณะที่ลูกหนี้รายย่อยในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวอาจจะถูกมองว่ามีความเสี่ยงมากขึ้น ทำให้ขอสินเชื่อจากแบงก์ได้ลำบาก ซึ่งประเด็นเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ธปท.ติดตามดูแลอยู่ ในขณะนี้
นายสรสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การที่รัฐมีนโยบายให้ธปท.เข้าไปดูแลการปล่อยสินเชื่อให้มีการกระจายตัวมากขึ้น จากกระแสข่าวที่ออกมาว่าแบงก์พาณิชย์ไม่ปล่อยกู้นั้น เป็นเรื่องปกติในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลออาจทำให้ธนาคารณิชย์มีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากเป็นพิเศษ แต่เท่าที่ดูข้อมูลความสามารถในการปล่อยกู้ของแบงก์ยังมี ดังจะเห็นได้จาก เงินกองทุนของระบบธนาคารพาณิชย์มีมากถึง 15% เศษ ถือว่ายังเพียงพอในการขยายสินเชื่อ เป็นฐานการในปล่อยกู้ได้ รวมทั้งสภาพคล่องในระบบและสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์มีเพียงพอ ซึ่งหากมีความต้องการสินเชื่อจริง แบงก์ยังสามารถปล่อยสินเชื่อได้ ทั้งนี้ จะเห็นว่าที่ผ่านมาการขยายตัวของสินเชื่อตัวเลขล่าสุด เดือนกันยายน สินเชื่อขยายตัวได้ถึง 10.87% ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ภาคธุรกิจใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเงินทุนเพื่อการลงทุน รวมทั้งสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ยังขยายตัวดี
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ธปท..มีหน้าที่ตรวจสอบฐานะเท่านั้น ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง ไม่มีอำนาจในการกำกับดูแลหรือสั่งให้ธนาคารของรัฐปล่อยกู้ ซึ่งที่ผ่านมา ธปท.ได้พยายามผลักดันให้แบงก์รัฐมีการปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจเอสเอ็มอี รวมทั้งการค้ำประกันสินเชื่อ
“เป็นเรื่องปกติที่ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว แบงก์พาณิชย์มีความระมัดระวังที่จะปล่อยกู้ ซึ่งอนาคตสินเชื่อคาดว่าจะชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นความต้องการก็คงจะน้อยลง แต่ถามว่าแบงก์จะปล่อยกู้ได้ไหม มองว่าความสามารถในการปล่อยกู้ยังตอบสนองอยู่ ขณะที่เอ็นพีแอล ขณะนี้ไม่น่าเป็นห่วง มีการลดลงอย่างเนื่อง ทั้งสัดส่วนเอ็นพีแอลและยอดคงค้างจริง ถือว่าแบงก์ค่อนข้างแข็งแรง” นายสรสิทธิ์กล่าว
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าในช่วงที่ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยดัชนีมีความผันผวนและปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมานั้น จากการติดตามของธปท. พบว่ากระทบต่อเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์เพียง 0.25% เท่านั้น ซึ่งยังไม่กระทบต่อฐานะของธนาคารพาณิชย์ เพราะหากเทียบกับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐานของบีไอเอสทั้งระบบของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนกันยายน เฉลี่ยอยู่ที่ 15.6% สูงกว่าเกณฑ์ที่ธปท.กำหนดไว้ที่ 8.5% เท่านั้น
“เมื่อดูภาพรวมของระบบแบงก์ขณะนี้ ถือว่าไม่ห่วง ตอนนี้แบงก์ยังมีความมั่นคงอยู่ ถึงแม้ดัชนีหุ้นไทยจะลดลง ก็กระทบเงินกองทุนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ” นายสรสิทธิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ปีหน้าผลจากวิกฤตสถาบันการเงินโลก จะส่งผลต่อลูกค้ารายใหญ่ที่ต่อไปอาจจะพึ่งการกู้เงินจากต่างประเทศได้ยาก ทำให้ต้องกลับมาพึ่งเงินกู้ในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อลูกหนี้รายย่อยที่ต้องการสินเชื่อก็เป็นได้ เนื่องจากลูกหนี้รายใหญ่เป็นลูกหนี้ที่มีศักยภาพที่ธนาคารพาณิชย์ต้องการปล่อยกู้ให้อยู่แล้ว เพราะเป็นวงเงินที่สูง ขณะที่ลูกหนี้รายย่อยในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวอาจจะถูกมองว่ามีความเสี่ยงมากขึ้น ทำให้ขอสินเชื่อจากแบงก์ได้ลำบาก ซึ่งประเด็นเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ธปท.ติดตามดูแลอยู่ ในขณะนี้
นายสรสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การที่รัฐมีนโยบายให้ธปท.เข้าไปดูแลการปล่อยสินเชื่อให้มีการกระจายตัวมากขึ้น จากกระแสข่าวที่ออกมาว่าแบงก์พาณิชย์ไม่ปล่อยกู้นั้น เป็นเรื่องปกติในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลออาจทำให้ธนาคารณิชย์มีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากเป็นพิเศษ แต่เท่าที่ดูข้อมูลความสามารถในการปล่อยกู้ของแบงก์ยังมี ดังจะเห็นได้จาก เงินกองทุนของระบบธนาคารพาณิชย์มีมากถึง 15% เศษ ถือว่ายังเพียงพอในการขยายสินเชื่อ เป็นฐานการในปล่อยกู้ได้ รวมทั้งสภาพคล่องในระบบและสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์มีเพียงพอ ซึ่งหากมีความต้องการสินเชื่อจริง แบงก์ยังสามารถปล่อยสินเชื่อได้ ทั้งนี้ จะเห็นว่าที่ผ่านมาการขยายตัวของสินเชื่อตัวเลขล่าสุด เดือนกันยายน สินเชื่อขยายตัวได้ถึง 10.87% ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ภาคธุรกิจใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเงินทุนเพื่อการลงทุน รวมทั้งสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ยังขยายตัวดี
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ธปท..มีหน้าที่ตรวจสอบฐานะเท่านั้น ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง ไม่มีอำนาจในการกำกับดูแลหรือสั่งให้ธนาคารของรัฐปล่อยกู้ ซึ่งที่ผ่านมา ธปท.ได้พยายามผลักดันให้แบงก์รัฐมีการปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจเอสเอ็มอี รวมทั้งการค้ำประกันสินเชื่อ
“เป็นเรื่องปกติที่ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว แบงก์พาณิชย์มีความระมัดระวังที่จะปล่อยกู้ ซึ่งอนาคตสินเชื่อคาดว่าจะชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นความต้องการก็คงจะน้อยลง แต่ถามว่าแบงก์จะปล่อยกู้ได้ไหม มองว่าความสามารถในการปล่อยกู้ยังตอบสนองอยู่ ขณะที่เอ็นพีแอล ขณะนี้ไม่น่าเป็นห่วง มีการลดลงอย่างเนื่อง ทั้งสัดส่วนเอ็นพีแอลและยอดคงค้างจริง ถือว่าแบงก์ค่อนข้างแข็งแรง” นายสรสิทธิ์กล่าว