ASTV ผู้จัดการรายวัน – บลจ.ไทยพาณิชย์เผยแผนการลงทุนในปีหน้า เน้นออกตราสารหนี้ภาครัฐผสมหุ้นกู้เอกชนที่มีอายุยาว 1 – 3 ปี หวังรองรับเม็ดเงินที่ไหลจากกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ แต่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ก่อนจัดตั้งโครงการ เหตุนักลงทุนไม่นิยมลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุเกิน 6 เดือน เตือนช่วงนี้ควรเพิ่มตราสารหนี้ไว้ในพอร์ตรองรับความผันผวน พร้อมจี้ภาครัฐออกบอนด์เพิ่ม
นายชูเกียรติ ธิติหิรัญเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน สายงานการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า แผนการลงทุนของบริษัทในปี 2552 จะออกกองทุนเปิดที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ผสมผสานกับหุ้นกู้เอกชน เพื่อรองรับเม็ดเงินจากกองทุนรวมต่างประเทศที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ซึ่งจะเริ่มทยอยหมดอายุลงในปีหน้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน ที่ต้องการการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยจะเสนอขายกองทุนเปิดที่มีอายุโครงการประมาณ 1 – 3 ปี
ทั้งนี้ ในส่วนของตราสารหนี้ภาครัฐนั้นไม่มีปัจจัยในเรื่องของความเสี่ยงมาก มีเพียงแค่ในเรื่องของดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์/พี) ที่คาดว่าน่าปรับลดลงอย่างแน่นอน เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง และในปีหน้าธนาคารพาณิชย์จะมีการปล่อยกู้น้อยลง ส่งผลให้สภาพคล่องในระบบไม่ล้นเหมือนที่ผ่านมา โดยอัตราดอกเบี้ยอาจจะมีการปรับลดลง แต่ไม่เท่ากับดอกเบี้ยนโยบาย
อย่างไรก็ตาม บริษัทมองว่าหุ้นกู้เอกชนนั้นยังมีความน่าสนใจอยู่ โดยจะเข้าไปลงทุนในบริษัทเอกชนชั้นดี มีขนาดใหญ่ มีผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาดี มีความสามารถในการทำกำไร และมีอันดับความน่าเชื่อถือ (เครดิต เรตติ้ง) อยู่ที่ระดับตั้งแต่ A- ขึ้นไป โดยหลักการแล้วคือหุ้นบลูชิพที่บริษัทเข้าไปลงทุนนั่นเอง เพราะในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี นักลงทุนจึงมีความกลัวในการที่จะเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ
นายชูเกียรติ กล่าวว่า จากวิกฤติการณ์สถาบันการเงินโลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ซึ่งมีแผนที่จะใช้เงินจำนวนมากในการดำเนินโครงการหรือลงทุนเพิ่มประสบปัญหาในเรื่องการหาแหล่งเงิน เนื่องจากจะได้รับการอนุมัติปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ได้น้อยหรือไม่ได้เลย นอกจากนี้หากคิดจะไปขอกู้จากต่างประเทศ ก็จะได้รับผลกระทบจากปัญหาเครดิตไลน์ที่ทุกสถาบันการเงินปรับตัวลดลง จนต้องหันมาออกหุ้นกู้ หรือตราสารหนี้ในประเทศเพื่อนำเงินไประดมทุนแทน
ส่วนหุ้นกู้ที่บริษัทเอกชนขนาดใหญ่นั้น ส่วนใหญ่สนใจออกจะมีอายุประมาณ 3 ปีขึ้นไป เนื่องจากสามารถบริหารต้นทุนทางการเงินได้ดีกว่า และอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้ถูก จึงต้องการล็อกอัตราดอกเบี้ยถูกในระยะยาว หากอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวปรับขึ้นมา ก็จะยังมีต้นทุนที่ถูกอยู่ดี ขณะที่นักลงทุนนิยมลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 เดือน เนื่องจากหากลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวแล้วอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงต่อก็ดีไป แต่หากอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นก็เสียโอกาสการลงทุนไป โดยจะขอศึกษาดูความเป็นไปได้ก่อน ซึ่งอาจจะเริ่มจากการให้นักลงทุนเริ่มเรียนรู้ไปก่อน
ขณะเดียวกัน แนะนำนักลงทุนว่าในพอร์ตการลงทุนในปัจจุบันควรมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ให้มากขึ้น ทั้งตราสารหนี้ของรัฐบาลและของบริษัทเอกชน โดยตราสารหนี้ที่ลงทุนนั้นควรเป็นตราสารหนี้ที่มีทั้งอายุประมาณ 1 – 2 ปีผสมกันไป ส่วนการลงทุนในหุ้นนั้นควรมีสัดส่วนของการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 20 – 30% ก็พอแล้ว ทั้งนี้โดยส่วนตัวแล้วมองว่ารัฐบาลควรที่จะออกตราสารหนี้ของรัฐบาลให้มากขึ้นเพราะอัตราดอกเบี้ยได้ปรับตัวลดลง
ที่ผ่านมา บลจ.ไทยพาณิชย์ นับเป็นบริษัทจัดการลงทุนแห่งหนึ่งที่มีการเปิดขายกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นใหม่ทุกสัปดาห์ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดขายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรและตราสารธนาคาร 11 (SCBGBANK11) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน เน้นลงทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย และตราสารหนี้ภาคเอกชน และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรและตราสารหนี้ 11 (SCBGCORP11) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน เน้นลงทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย และตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยได้เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนในระหว่าง วันที่ 28 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2551 และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท
นายชูเกียรติ ธิติหิรัญเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน สายงานการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า แผนการลงทุนของบริษัทในปี 2552 จะออกกองทุนเปิดที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ผสมผสานกับหุ้นกู้เอกชน เพื่อรองรับเม็ดเงินจากกองทุนรวมต่างประเทศที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ซึ่งจะเริ่มทยอยหมดอายุลงในปีหน้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน ที่ต้องการการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยจะเสนอขายกองทุนเปิดที่มีอายุโครงการประมาณ 1 – 3 ปี
ทั้งนี้ ในส่วนของตราสารหนี้ภาครัฐนั้นไม่มีปัจจัยในเรื่องของความเสี่ยงมาก มีเพียงแค่ในเรื่องของดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์/พี) ที่คาดว่าน่าปรับลดลงอย่างแน่นอน เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง และในปีหน้าธนาคารพาณิชย์จะมีการปล่อยกู้น้อยลง ส่งผลให้สภาพคล่องในระบบไม่ล้นเหมือนที่ผ่านมา โดยอัตราดอกเบี้ยอาจจะมีการปรับลดลง แต่ไม่เท่ากับดอกเบี้ยนโยบาย
อย่างไรก็ตาม บริษัทมองว่าหุ้นกู้เอกชนนั้นยังมีความน่าสนใจอยู่ โดยจะเข้าไปลงทุนในบริษัทเอกชนชั้นดี มีขนาดใหญ่ มีผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาดี มีความสามารถในการทำกำไร และมีอันดับความน่าเชื่อถือ (เครดิต เรตติ้ง) อยู่ที่ระดับตั้งแต่ A- ขึ้นไป โดยหลักการแล้วคือหุ้นบลูชิพที่บริษัทเข้าไปลงทุนนั่นเอง เพราะในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี นักลงทุนจึงมีความกลัวในการที่จะเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ
นายชูเกียรติ กล่าวว่า จากวิกฤติการณ์สถาบันการเงินโลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ซึ่งมีแผนที่จะใช้เงินจำนวนมากในการดำเนินโครงการหรือลงทุนเพิ่มประสบปัญหาในเรื่องการหาแหล่งเงิน เนื่องจากจะได้รับการอนุมัติปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ได้น้อยหรือไม่ได้เลย นอกจากนี้หากคิดจะไปขอกู้จากต่างประเทศ ก็จะได้รับผลกระทบจากปัญหาเครดิตไลน์ที่ทุกสถาบันการเงินปรับตัวลดลง จนต้องหันมาออกหุ้นกู้ หรือตราสารหนี้ในประเทศเพื่อนำเงินไประดมทุนแทน
ส่วนหุ้นกู้ที่บริษัทเอกชนขนาดใหญ่นั้น ส่วนใหญ่สนใจออกจะมีอายุประมาณ 3 ปีขึ้นไป เนื่องจากสามารถบริหารต้นทุนทางการเงินได้ดีกว่า และอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้ถูก จึงต้องการล็อกอัตราดอกเบี้ยถูกในระยะยาว หากอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวปรับขึ้นมา ก็จะยังมีต้นทุนที่ถูกอยู่ดี ขณะที่นักลงทุนนิยมลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 เดือน เนื่องจากหากลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวแล้วอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงต่อก็ดีไป แต่หากอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นก็เสียโอกาสการลงทุนไป โดยจะขอศึกษาดูความเป็นไปได้ก่อน ซึ่งอาจจะเริ่มจากการให้นักลงทุนเริ่มเรียนรู้ไปก่อน
ขณะเดียวกัน แนะนำนักลงทุนว่าในพอร์ตการลงทุนในปัจจุบันควรมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ให้มากขึ้น ทั้งตราสารหนี้ของรัฐบาลและของบริษัทเอกชน โดยตราสารหนี้ที่ลงทุนนั้นควรเป็นตราสารหนี้ที่มีทั้งอายุประมาณ 1 – 2 ปีผสมกันไป ส่วนการลงทุนในหุ้นนั้นควรมีสัดส่วนของการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 20 – 30% ก็พอแล้ว ทั้งนี้โดยส่วนตัวแล้วมองว่ารัฐบาลควรที่จะออกตราสารหนี้ของรัฐบาลให้มากขึ้นเพราะอัตราดอกเบี้ยได้ปรับตัวลดลง
ที่ผ่านมา บลจ.ไทยพาณิชย์ นับเป็นบริษัทจัดการลงทุนแห่งหนึ่งที่มีการเปิดขายกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นใหม่ทุกสัปดาห์ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดขายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรและตราสารธนาคาร 11 (SCBGBANK11) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน เน้นลงทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย และตราสารหนี้ภาคเอกชน และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรและตราสารหนี้ 11 (SCBGCORP11) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน เน้นลงทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย และตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยได้เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนในระหว่าง วันที่ 28 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2551 และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท