บลจ.ไทยพาณิชย์ เตรียมแผนรับเม็ดเงินกองทุนเกาหลีไหลกลับเข้าไทย เล็งส่งกองพันธบัตรรัฐ+ตราสารหนี้บริษัทเอกชน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ลูกค้า จากกระแสความนิยมลงทุนในความเสี่ยงต่ำ และช่องทางระดมทุนมีน้อย บีบบจ.ต้องหันมาออกตราสารหนี้เพื่อระดมทุน ชี้ช่วงนี้เน้นเซฟเงินลงทุน ไม่ผุดกองทุนแบบหวือหวา พร้อมคาดปีหน้ากองทุนเอฟไอเอฟ เกิดยาก
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่าในปีหน้า เม็ดจากการลงทุนผ่านกองทุนรวมต่างประเทศที่ไปลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้จะไหลกลับเข้ามาสู่ปนะเทศไทย ซึ่งจากข้อมูลแล้วจะมีทั้งหมดประมาณ 270,000 ล้านบาท โดยเม็ดเงินได้เริ่มทยอยกลับเข้าในในไทยแล้วบางส่วน แต่จะเข้ามาเพิ่มขึ้นในปี 2552
ทั้งนี้ จากภาวะสวิกฤตการเงินโลกที่เกิดขึ้น บลจ.ไทยพาณิชย์ ถือว่าเป็นบริษัทจัดการลงทุนรายแรกที่หยุดการออกกองทุนประเภทดังกล่าวลง เนื่องจากมีการคาดการว่าประเทศเกาหลีใต้จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ แม้เงินทุนสำรองและพื้นฐานของประเทศจะได้รับผลกระทบน้อย แต่ในเรื่องความเชื่อมั่นและความกังวลย่อมมีอยู่สูงตามความเสี่ยงของการลงทุนในต่างประเทศ
อย่างไรก็ตามกลับมองว่าเม็ดเงินดังกล่าว จะถือเป็ฯอีกช่องทางหนึ่งที่จะเข้ามาเสริมสภาพคล่องให้กับประเทศไทย ท่ามกลางภาวะการเศรษบกิจของประเทศที่ชะลอตัวลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่วนตัวจึงไม่ห่วงปัญหาสภาพคล่องทางเศรษฐกิจของไทยในปีหน้ามากนัก
ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการรองรับเม็ดเงินดังกล่าวที่จะเริ่มทยอยกลับมา บริษัทมีแผนที่จะจัดทำกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เป็นการเข้าไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย และบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ (Government Bond & Coporaiton Bonds : GCOP)เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน ที่ต้องการการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งเป็นที่สนจิอย่างมากใน ขณะนี้
“พันธบัตรรัฐบาลจะมีความมั่นคง และมีความเสี่ยงในการลงทุนน้อยแม้ผลตอบแทนจะอยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกัน จากวิกฤตการเงินดลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จะส่งผลให้บรรดาบริษัทจดทะบียนขนาดใหญ่ ซึ่งมีแผนที่จะใช้เงินจำนวนมากในการดำเนินโครงการ หรือลงทุนเพิ่มประสบปัญหาในเรื่องการหาแหล่งเงิน เนื่องจากจะได้รับการอนุมัติปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณฺชย์ได้น้อย หรือไม่ได้เลย นอกจากนี้หากคิดจะไปขอกู้จากต่างประเทศ ก็จะได้รับผลกระทบจากปัญหาเครดิตไลน์ที่ทุกสถาบันการเงินปรับตัวลดลง จนต้องหันมาออกหุ้นกู้ หรือตราสารหนี้ในประเทศเพื่อนำเงินไประดมทุนแทน ซึ่งจะมีมากขึ้นและผลิตภัณฑ์นี้ก็ให้ผลตอบแทนได้ในระดับที่ดี”
ทั้งนี้ จากการสอบถาม กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ ระบุว่า ตราสารหนี้ของบริษัทที่กองทุนดังกล่าวจะเข้าไปลงทุนนั้น จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ปัจจัยพื้นฐษนทางธุรกิจดี ไม่มีหนี้สินต่อทุนมาก และมีแนวโน้มการดำเนินงานที่เติบโต เช่นบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน เป็นต้น ซึ่งกองทุนประเภทนี้คาดว่าจะเปิดขายได้ประมาณ 1 – 2เดือนนับจากนี้
สำหรับการดำเนินธุรกิจกองทุนรวมของบริษัทในขณะนี้ ในส่วนโปรดักต์ใหม่ บริษัทจะหันมาจัดตั้งกองทุนที่มีผลตอบแทนที่อยู่ในระดับที่รับได้ และมีความเสี่ยงไม่สูง หรือไม่เน้นสินค้าที่หวือหวา อย่างไรก็ตามคาดว่าจะไม่มีการออกกองทุนรวมตราสารหนี้ประเภท อีซีพี เหมือนในช่วงที่ผ่านมาได้รับความนิยมจากนักลงทุนและในหลายบริษัทจัดการกองทุน เพราะปัจจุบันนักลงทุนให้ความสำคัญกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นอย่างมาก
ส่วนแนวคิดการกองทุนรวมตราสารทุนนั้น เรื่องดังกล่าวยังต้องพิจารณากันต่อไป แต่หากจะมีการออกจะต้องเป็นโปรดักต์ที่มีการป้องกันความเสี่ยงสูง เช่นอาจมีการลงทุนให้หุ้น และส่วนหนึ่งจะนำเงินไปลงทุนในฟิวเจอร์ส เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง โดยหากราคาหุ้นดีดตัวก็ให้ผู้ลงทุนรับผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นไป แต่หากดัชนีหุ้นปรับตัวลดลงก็ยังได้ฟิวเจอร์สเข้ามาช่วยกระจายความเสี่ยง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ลงทุนได้รับเงินต้นกลับคืน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกองทุนรวมต่างประเทศ (เอฟเอฟ) ประเภทต่างๆ กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ในปี 2552 อาจจะมีโอกาสได้เห็นกองทุนใหม่ๆบ้าง แต่คงจะไม่มีมากนัก
ที่ผ่านมา บลจ.ไทยพาณิชย์ นับเป็นบริษัทจัดการลงทุนแห่งหนึ่งที่มีการเปิดขายกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นใหม่ทุกสัปดาห์ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดขยหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรและตราสารธนาคาร 11 (SCBGBANK11) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน เน้นลงทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย และตราสารหนี้ภาคเอกชน และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรและตราสารหนี้ 11 (SCBGCORP11) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน เน้นลงทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย และตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยได้เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนในระหว่าง วันที่ 28 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2551 และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่าในปีหน้า เม็ดจากการลงทุนผ่านกองทุนรวมต่างประเทศที่ไปลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้จะไหลกลับเข้ามาสู่ปนะเทศไทย ซึ่งจากข้อมูลแล้วจะมีทั้งหมดประมาณ 270,000 ล้านบาท โดยเม็ดเงินได้เริ่มทยอยกลับเข้าในในไทยแล้วบางส่วน แต่จะเข้ามาเพิ่มขึ้นในปี 2552
ทั้งนี้ จากภาวะสวิกฤตการเงินโลกที่เกิดขึ้น บลจ.ไทยพาณิชย์ ถือว่าเป็นบริษัทจัดการลงทุนรายแรกที่หยุดการออกกองทุนประเภทดังกล่าวลง เนื่องจากมีการคาดการว่าประเทศเกาหลีใต้จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ แม้เงินทุนสำรองและพื้นฐานของประเทศจะได้รับผลกระทบน้อย แต่ในเรื่องความเชื่อมั่นและความกังวลย่อมมีอยู่สูงตามความเสี่ยงของการลงทุนในต่างประเทศ
อย่างไรก็ตามกลับมองว่าเม็ดเงินดังกล่าว จะถือเป็ฯอีกช่องทางหนึ่งที่จะเข้ามาเสริมสภาพคล่องให้กับประเทศไทย ท่ามกลางภาวะการเศรษบกิจของประเทศที่ชะลอตัวลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่วนตัวจึงไม่ห่วงปัญหาสภาพคล่องทางเศรษฐกิจของไทยในปีหน้ามากนัก
ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการรองรับเม็ดเงินดังกล่าวที่จะเริ่มทยอยกลับมา บริษัทมีแผนที่จะจัดทำกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เป็นการเข้าไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย และบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ (Government Bond & Coporaiton Bonds : GCOP)เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน ที่ต้องการการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งเป็นที่สนจิอย่างมากใน ขณะนี้
“พันธบัตรรัฐบาลจะมีความมั่นคง และมีความเสี่ยงในการลงทุนน้อยแม้ผลตอบแทนจะอยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกัน จากวิกฤตการเงินดลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จะส่งผลให้บรรดาบริษัทจดทะบียนขนาดใหญ่ ซึ่งมีแผนที่จะใช้เงินจำนวนมากในการดำเนินโครงการ หรือลงทุนเพิ่มประสบปัญหาในเรื่องการหาแหล่งเงิน เนื่องจากจะได้รับการอนุมัติปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณฺชย์ได้น้อย หรือไม่ได้เลย นอกจากนี้หากคิดจะไปขอกู้จากต่างประเทศ ก็จะได้รับผลกระทบจากปัญหาเครดิตไลน์ที่ทุกสถาบันการเงินปรับตัวลดลง จนต้องหันมาออกหุ้นกู้ หรือตราสารหนี้ในประเทศเพื่อนำเงินไประดมทุนแทน ซึ่งจะมีมากขึ้นและผลิตภัณฑ์นี้ก็ให้ผลตอบแทนได้ในระดับที่ดี”
ทั้งนี้ จากการสอบถาม กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ ระบุว่า ตราสารหนี้ของบริษัทที่กองทุนดังกล่าวจะเข้าไปลงทุนนั้น จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ปัจจัยพื้นฐษนทางธุรกิจดี ไม่มีหนี้สินต่อทุนมาก และมีแนวโน้มการดำเนินงานที่เติบโต เช่นบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน เป็นต้น ซึ่งกองทุนประเภทนี้คาดว่าจะเปิดขายได้ประมาณ 1 – 2เดือนนับจากนี้
สำหรับการดำเนินธุรกิจกองทุนรวมของบริษัทในขณะนี้ ในส่วนโปรดักต์ใหม่ บริษัทจะหันมาจัดตั้งกองทุนที่มีผลตอบแทนที่อยู่ในระดับที่รับได้ และมีความเสี่ยงไม่สูง หรือไม่เน้นสินค้าที่หวือหวา อย่างไรก็ตามคาดว่าจะไม่มีการออกกองทุนรวมตราสารหนี้ประเภท อีซีพี เหมือนในช่วงที่ผ่านมาได้รับความนิยมจากนักลงทุนและในหลายบริษัทจัดการกองทุน เพราะปัจจุบันนักลงทุนให้ความสำคัญกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นอย่างมาก
ส่วนแนวคิดการกองทุนรวมตราสารทุนนั้น เรื่องดังกล่าวยังต้องพิจารณากันต่อไป แต่หากจะมีการออกจะต้องเป็นโปรดักต์ที่มีการป้องกันความเสี่ยงสูง เช่นอาจมีการลงทุนให้หุ้น และส่วนหนึ่งจะนำเงินไปลงทุนในฟิวเจอร์ส เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง โดยหากราคาหุ้นดีดตัวก็ให้ผู้ลงทุนรับผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นไป แต่หากดัชนีหุ้นปรับตัวลดลงก็ยังได้ฟิวเจอร์สเข้ามาช่วยกระจายความเสี่ยง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ลงทุนได้รับเงินต้นกลับคืน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกองทุนรวมต่างประเทศ (เอฟเอฟ) ประเภทต่างๆ กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ในปี 2552 อาจจะมีโอกาสได้เห็นกองทุนใหม่ๆบ้าง แต่คงจะไม่มีมากนัก
ที่ผ่านมา บลจ.ไทยพาณิชย์ นับเป็นบริษัทจัดการลงทุนแห่งหนึ่งที่มีการเปิดขายกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นใหม่ทุกสัปดาห์ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดขยหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรและตราสารธนาคาร 11 (SCBGBANK11) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน เน้นลงทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย และตราสารหนี้ภาคเอกชน และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรและตราสารหนี้ 11 (SCBGCORP11) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน เน้นลงทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย และตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยได้เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนในระหว่าง วันที่ 28 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2551 และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท