xs
xsm
sm
md
lg

มาริษลั่นธุรกิจบลจ.แกร่ง หากวิกฤตกลต.เข้าเคลียร์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

"มาริษ" ยืนยันบลจ.ไอเอ็นจีไม่ได้รับผลกระทบหลังรัฐบาลเนเธเเลนด์อัดเงินช่วยเหลือธนาคารไอเอ็นจีกรุ๊ปกว่า 1 หมื่นล้านยูโร หรือประมาณ 1.34 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เชื่อการอัดฉีดเม็ดเงินครั้งนี้จะส่งผลให้ธนาคารเเข็งเเกร่งขึ้น ย้ำชัดกองทุนเป็นนิติบุคตคล หากเกิดวิกฤติกับบลจ.ทุกเเห่ง ทางก.ล.ต.จะเป็นผู้จัดหาผู้จัดการกองทุนรายใหม่ให้

นายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงผลกระทบจากกรณีที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์อัดฉีดเม็ดเงินให้กับบริษัทไอเอ็นจี 1 หมื่นล้านยุโร หรือราว 1.34 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐว่า ทางบลจ.ไอเอ็นจีไม่ได้รับผลกระทบกับหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งสถานะโดยรวมของธนาคารไอเอ็นจีในเนเธอร์แลนด์ยังคงดีอยู่ โดยในครึ่งปีแรกยังมีกำไรราว 3.5พันล้านยูโร แต่ขาดทุนในไตรมาส 3/51 ราว 500 ล้านยูโร ซึ่งเรื่องดังกล่าวอาจทำให้นักลงทุนบางส่วนอาจเกิดความกังวล

ขณะเดียวกันเข้าใจว่านโยบายการดำรงเงินกองทุนขั้นที่ 1 ของธนาคารไอเอ็นจีคงกำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 8% ซึ่งสูงกว่าที่ทางการกำหนดไว้ที่ 4% ทำให้พอในไตรมาส 3 เงินกองทุนขั้นที่ 1 ลงมาต่ำกว่า 8% ตามสภาวะตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก ทางไอเอ็นจีจึงตัดสินใจเพิ่มเงินกองทุนขึ้น ให้เป็นไปตามนโยบายที่เคยทำไว้ ซึ่งเงินที่ได้รับมานั้นจะนำไปจัดสรรเพิ่มุทุนให้กับธนาคารไอเอ็นจี 5 พันล้านยูโร ที่เหลือจะกระจายไปที่ธุรกิจประกันภัย เเละธุรกิจอื่นที่ต้องเพิ่มทุน

"ส่วนการบริหารจัดการกองทุนนั้น ต้องเรียนให้ทราบก่อนว่ากองทุนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล ซึ่งทางบลจ.ไม่ว่าจะเป็นบลจ.ที่ใดนั้น บลจ.มีหน้าที่เพียงผู้บริหารสินทรัพย์ที่อยู่ในกองทุนเท่านั้น ซึ่งถ้าบลจ.เกิดปัญหาอะไรขึ้น ทางกองทุนจะไม่ได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์เเละตลาดหลักทรัพย์จะเป็นผู้หาผู้จัดการกองทุนเข้ามาบริหารจัดการเเทนบลจ."นาย มาริษ กล่าว

รายงานข่าวจากบลจ.ไอเอ็นจี เปิดเผยว่า ไอเอ็นจี ได้บรรลุข้อตกลงในการสนับสนุนเงินจากทางการเนเธอร์เเลนด์เพื่อวัตถุประสงค์ในการสร้างความเเข็งเเกร่งทางฐานะการเงินเเละความมั่นคงของไอเอ็นจี เพื่อพ้นวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยไอเอ็นจี จะออกหลักทรัพย์ที่ไม่มีสิทธิออกเสียงรวมจำนวน 1 หมื่นล้านยูโรให้เเก่รัฐบาลเนเธอร์เเลนด์ เเละความร่วมมือในครั้งนี้ได้ส่งผลให้เงินกองทุนขั้นที่ 1 ของ ไอเอ็นจีเเบงก์ ขยับสูงขึ้น 8% พร้อมทั้งสร้างความเเข็งเเกร่งให้กับฐานะทางการเงินของ ไอเอ็นจี ประกันชีวิต รวมทั้งลดอัตราส่วนหนี้สินรวมาต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของ ไอเอ็นจี กรู๊ป มาลงสู่ระดับ 10%

ส่วนสถานการณ์ทางการเงิน ของไอเอ็นจี นั้น ทางบริษัทจะออกทรัพย์ที่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงขั้นที่ 1 จำนวน 1 พันล้านหุ้น ให้เเก่ทางเธอร์เเลนด์ได้จัดหุ้นตัวนี้อยู่ในกลุ่มเงินกองทุนสำรองขั้นที่ 1 ซึ่งหลักทรัพย์นี้เทียบได้กับหุ้นสามัญปกติเเละทางการเนเธอร์เเลนด์ก็จะจัดให้อยู่ในประเภทเดียวกับผู้ถือหุ้นสามัญทั่วไป โดยโครงสร้างของการเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 นั้น ได้ถูกออกเเบบมาเพื่อให้หลีกเลี่ยงผลกระทบต่อจำนวนหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่เเละสิทธิออกเสียงของผู้ถอืหุ้นเดิม เเละหลักทรัพย์จะถูกโอนย้ายตามความยินยอมของ ไอเอ็นจี เเละธนาคารกลางเนเธอร์เเลนด์เท่านั้น

ทั้งนี้ ING มีสิทธิ์ที่จะซื้อหุ้นคืนในบางส่วนหรือหมดทั้งจำนวนได้ทุกเวลาที่ราคา 150% ของราคาขายหลักทรัพย์ ยิ่งไปกว่านั้น ING ยังมีสิทธิ์ที่จะแปลงสภาพหุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นสามัญในสัดส่วนหนึ่งต่อหนึ่ง ภายหลัง 3 ปี นับจากวันที่ออกหลักทรัพย์ ซึ่งทางการเนเธอร์แลนด์จะจ่ายเงินคืนให้ที่ราคา 10 ยูโรต่อหุ้น

โดยการชำระดอกเบี้ยของหลักทรัพย์ชั้นที่ 1 นี้ จะจ่ายให้เมื่อมีการจ่ายเงินปันผล ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายปันผลในช่วงระยะเวลากลางปีหรือปลายปีก็ตาม ซึ่งจะจ่ายให้หุ้นส่วนสามัญตามงบการเงินปีก่อนหน้าวันที่ที่จะชำระดอกเบี้ย ซึ่งดอกเบี้ยต่อปีนั้นจะมากถึง 0.85 ยูโร หรือเท่ากับ 110% ของเงินปันผลที่จ่ายให้กับหุ้นสามัญในปี 2008, 120% ของปี 2009 และ 125% ของปี 2010 และปีต่อๆไ ป

จากสถานการณ์ดังกล่าว ING ได้ตัดสินใจงดจ่ายเงินปันผลงวดสิ้นปี 2008 นั่นหมายถึง ในปีนี้ ING จ่ายเงินปันผลรวม 0.74 ยูโรต่อหุ้นตามที่ได้จ่ายไปแล้วเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ING Group จะนำเงินจากการเพิ่มทุนในส่วนของเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1 capital) มาเพิ่มสัดส่วนของผู้ถือหุ้นใน ING Bank เป็นจำนวน 5 พันล้านยูโร และเพิ่มความแข็งแกร่งของงบดุลสของ ING ประกันชีวิตอีก 2 พันล้านยูโร ส่วนที่เหลืออีก 3 พันล้านยูโรนั้นจะนำไปลดสัดส่วนของหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นใน ING Group จาก 15% ให้เหลือประมาณ 10 % ภายหลังจากการทำรายการนี้ อัตราส่วนของ Core Tier-1 ของ ING Bank จะอยู่ที่ประมาณ 8 % และอัตราส่วนของ Tier-1 จะมากกว่า 10 %
กำลังโหลดความคิดเห็น