บิ๊กกรมที่ดินเครื่องร้อน เดินหน้าผลักดันกรมที่ดินสู่การบริหารที่ดี แย้ม!ผ่อนปรนกฎเกณฑ์ดึงผู้ประกอบการจัดสรรที่ดินเข้าสู่ระบบ แถมจูงใจให้ผู้ซื้อเลือกโครงการจัดสรรที่ถูกต้องตามกฎหมาย เตรียมดึงธุรกิจบริหารอาคารชุดเข้าสังกัด ลดปัญหาผู้จัดการนิติบุคคลฯเกื้อหนุนพรรคพวก เอาเปรียบเจ้าของร่วมรายอื่น ถกอีกรอบพรบ.อาคารชุด จดจัดตั้งอาคารชุดและค่าใช้จ่ายโอนใบจอง
นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมที่ดิน เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายในการบริหารงานกรมที่ดินวานนี้ (21)ว่า แนวทางจากนี้ไป จะมุ่งพัฒนาและส่งเสริมให้กรมที่ดินมีพัฒนาการในการให้บริการในเรื่องต่างๆ โดยจะมีการสานต่อแนวทางต่างๆที่อดีตอธิบดีกรมที่ดินได้วางเป้าหมายไว้ ทั้งในเรื่องโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ โครงการปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐ การตรวจสอบหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน(ส.ค.1) การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ 51 จังหวัด การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการที่ดิน และการบังคับใช้พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะพ.ร.บ.อาคารชุดฉบับแก้ไขจะมีผลบังคับใช้แล้ว แต่การบังคับใช้ในทางกฎหมายอยู่ระหว่างการร่างกฎหมายกระทรวงให้แล้วเสร็จ โดยทางกรมฯจะมีการหารือเกี่ยวกับแนวทางและรายละเอียดอีกครั้ง เพื่อให้กระบวนการแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนต.ค.นี้
" ในเรื่องของการส่งเสริมธุรกิจอสังหาฯนั้น เราคงต้องพยายามสนับสนุนให้บริษัทเอกชนเข้าสู่ระบบ โดยอาจไม่เคร่งครัดในเรื่องระบบสาธารณูปโภคมากเกินไป ซึ่งในส่วนของกฎหมายเราก็ว่ากันไป แต่ที่สำคัญแล้ว กรมที่ดินไม่อยากให้เอกชนหลบเลี่ยงกฎหมาย และจะพยายามจูงใจให้ประชาชนซื้อโครงการจัดสรรที่ถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับนโยบายการตรวจสอบบริษัทอสังหาฯนอมินี ที่อาจจะรวมถึงเส้นทางของเงิน แหล่งที่มาของหุ้นนั้น ตรงนี้ อาจจะลำบาก เพียงแต่ทางกรมฯจะพิจารณาว่าหากเป็นสัญญาชาติไทยเราก็ให้ ยกเว้นสุดท้ายมีการฟ้องร้องหรือเป็นข่าวขึ้นมา ทางกรมฯจะเข้าไปตรวจสอบ และหากชี้ชัดแล้ว ก็สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้ " นายอนุวัฒน์กล่าว
นอกจากนี้ ตนยังมีแนวคิดที่ส่งเสริมธุรกิจการบริหารอาคารชุด เนื่องจากมีการร้องเรียนการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนิติบุคคลอาคารชุด และบางแห่งเจ้าของร่วมไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการให้บริการ ดังนั้น หากสามารถทำให้นิติบุคคลอาคารชุดมีต้นสังกัดเหมือนกับธุรกิจประกัน ก็จะช่วยลดปัญหาให้แก่เจ้าของร่วมได้
นายสุรสิทธิ์ สหัสธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาฯกรมที่ดิน กล่าวว่า พ.ร.บ.อาคารชุดฯที่มีการบังคับใช้นั้น มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องต่างๆค่อนข้างมาก ซึ่งทางผู้ประกอบการอาคารชุดเห็นว่า กฎเกณฑ์ค่อนข้างเข้มและปฎิบัติยาก เช่น วิธีการจดทะเบียนอาคารชุด หรือการเปลี่ยนตัวผู้จะซื้อห้องชุดตามแบบอช.22 (ใบจอง) โดยผู้ขาย(เจ้าของโครงการ) ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายใดๆนั้น (ค่าธรรมเนียม) เป็นช่องทางให้เกิดการเก็งกำไรห้องชุดได้
" จากข้อมูลที่ผู้ประกอบการเสนอมานั้น อาจจะคิดค่าใช้จ่ายในการโอนใบจองประมาณ 3-5% แต่ทางกรมฯคิดว่าไม่ควรคิด ซึ่งตรงนี้เราคงต้องหาข้อสรุป เพียงแต่คงไม่สามารถพูดในสาระได้ "นายสุรสิทธิ์กล่าว
แหล่งข่าวจากบริษัทบริหารอาคารชุดแห่งหนึ่ง กล่าวว่า หากกรมที่ดินมีแนวคิดจะทำให้ธุรกิจบริหารอาคารชุด มีหลักในการบริหารความเสี่ยงให้แก่โครงการอาคารชุดนั้น ตรงนี้โดยภาพรวมแล้วจะดี ป้องกันไม่ให้นิติบุคคลอาคารชุดบางแห่งหาประโยชน์ให้แก่กลุ่มและพรรคพวก แต่อย่าลืมว่า ผู้จัดการอาคารชุด มีทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล หากมีการเพิ่มความเสี่ยงในเรื่องค่าใช้จ่ายแล้ว ก็จะส่งผลต่อเนื่องไปถึงเจ้าของร่วม ยิ่งในปัจจุบัน โครงการคอนโดฯในระดับล้านบาทต้นๆ มีค่อนข้างมาก
" แม้ว่าธุรกิจการบริหารอาคารชุดจะไม่มีสังกัด ไม่ขึ้นตรงกับกระทรวงพาณิชย์ แต่หากนิติบุคคลอาคารชุดแห่งใด ก่อความเสียหาย ทางเจ้าของร่วมก็สามารถร้องไปยังกรมที่ดิน ซึ่งทางกรมจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ"
อนึ่ง นายอนุวัฒน์ เคยดำรงตำแหน่งอยู่ในกรมที่ดินก่อนที่จะย้ายไปทำงานอยู่ที่ฝ่ายปกครองเป็นเวลากว่า 7 ปี
นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมที่ดิน เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายในการบริหารงานกรมที่ดินวานนี้ (21)ว่า แนวทางจากนี้ไป จะมุ่งพัฒนาและส่งเสริมให้กรมที่ดินมีพัฒนาการในการให้บริการในเรื่องต่างๆ โดยจะมีการสานต่อแนวทางต่างๆที่อดีตอธิบดีกรมที่ดินได้วางเป้าหมายไว้ ทั้งในเรื่องโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ โครงการปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐ การตรวจสอบหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน(ส.ค.1) การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ 51 จังหวัด การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการที่ดิน และการบังคับใช้พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะพ.ร.บ.อาคารชุดฉบับแก้ไขจะมีผลบังคับใช้แล้ว แต่การบังคับใช้ในทางกฎหมายอยู่ระหว่างการร่างกฎหมายกระทรวงให้แล้วเสร็จ โดยทางกรมฯจะมีการหารือเกี่ยวกับแนวทางและรายละเอียดอีกครั้ง เพื่อให้กระบวนการแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนต.ค.นี้
" ในเรื่องของการส่งเสริมธุรกิจอสังหาฯนั้น เราคงต้องพยายามสนับสนุนให้บริษัทเอกชนเข้าสู่ระบบ โดยอาจไม่เคร่งครัดในเรื่องระบบสาธารณูปโภคมากเกินไป ซึ่งในส่วนของกฎหมายเราก็ว่ากันไป แต่ที่สำคัญแล้ว กรมที่ดินไม่อยากให้เอกชนหลบเลี่ยงกฎหมาย และจะพยายามจูงใจให้ประชาชนซื้อโครงการจัดสรรที่ถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับนโยบายการตรวจสอบบริษัทอสังหาฯนอมินี ที่อาจจะรวมถึงเส้นทางของเงิน แหล่งที่มาของหุ้นนั้น ตรงนี้ อาจจะลำบาก เพียงแต่ทางกรมฯจะพิจารณาว่าหากเป็นสัญญาชาติไทยเราก็ให้ ยกเว้นสุดท้ายมีการฟ้องร้องหรือเป็นข่าวขึ้นมา ทางกรมฯจะเข้าไปตรวจสอบ และหากชี้ชัดแล้ว ก็สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้ " นายอนุวัฒน์กล่าว
นอกจากนี้ ตนยังมีแนวคิดที่ส่งเสริมธุรกิจการบริหารอาคารชุด เนื่องจากมีการร้องเรียนการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนิติบุคคลอาคารชุด และบางแห่งเจ้าของร่วมไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการให้บริการ ดังนั้น หากสามารถทำให้นิติบุคคลอาคารชุดมีต้นสังกัดเหมือนกับธุรกิจประกัน ก็จะช่วยลดปัญหาให้แก่เจ้าของร่วมได้
นายสุรสิทธิ์ สหัสธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาฯกรมที่ดิน กล่าวว่า พ.ร.บ.อาคารชุดฯที่มีการบังคับใช้นั้น มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องต่างๆค่อนข้างมาก ซึ่งทางผู้ประกอบการอาคารชุดเห็นว่า กฎเกณฑ์ค่อนข้างเข้มและปฎิบัติยาก เช่น วิธีการจดทะเบียนอาคารชุด หรือการเปลี่ยนตัวผู้จะซื้อห้องชุดตามแบบอช.22 (ใบจอง) โดยผู้ขาย(เจ้าของโครงการ) ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายใดๆนั้น (ค่าธรรมเนียม) เป็นช่องทางให้เกิดการเก็งกำไรห้องชุดได้
" จากข้อมูลที่ผู้ประกอบการเสนอมานั้น อาจจะคิดค่าใช้จ่ายในการโอนใบจองประมาณ 3-5% แต่ทางกรมฯคิดว่าไม่ควรคิด ซึ่งตรงนี้เราคงต้องหาข้อสรุป เพียงแต่คงไม่สามารถพูดในสาระได้ "นายสุรสิทธิ์กล่าว
แหล่งข่าวจากบริษัทบริหารอาคารชุดแห่งหนึ่ง กล่าวว่า หากกรมที่ดินมีแนวคิดจะทำให้ธุรกิจบริหารอาคารชุด มีหลักในการบริหารความเสี่ยงให้แก่โครงการอาคารชุดนั้น ตรงนี้โดยภาพรวมแล้วจะดี ป้องกันไม่ให้นิติบุคคลอาคารชุดบางแห่งหาประโยชน์ให้แก่กลุ่มและพรรคพวก แต่อย่าลืมว่า ผู้จัดการอาคารชุด มีทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล หากมีการเพิ่มความเสี่ยงในเรื่องค่าใช้จ่ายแล้ว ก็จะส่งผลต่อเนื่องไปถึงเจ้าของร่วม ยิ่งในปัจจุบัน โครงการคอนโดฯในระดับล้านบาทต้นๆ มีค่อนข้างมาก
" แม้ว่าธุรกิจการบริหารอาคารชุดจะไม่มีสังกัด ไม่ขึ้นตรงกับกระทรวงพาณิชย์ แต่หากนิติบุคคลอาคารชุดแห่งใด ก่อความเสียหาย ทางเจ้าของร่วมก็สามารถร้องไปยังกรมที่ดิน ซึ่งทางกรมจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ"
อนึ่ง นายอนุวัฒน์ เคยดำรงตำแหน่งอยู่ในกรมที่ดินก่อนที่จะย้ายไปทำงานอยู่ที่ฝ่ายปกครองเป็นเวลากว่า 7 ปี