แบงก์ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3 "กรุงเทพ-ไทยพาณิชย์"กำไรหดรับผลขาดทุนจากเงินลงทุน หลังขายทิ้งตราสารหนี้เลห์แมนฯทั้งก้อน ขณะที่"กรุงไทย-นครหลวง-สินเอเซีย"รุ่งกำไรเพิ่มหลังกันสำรองครบ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL รายงานผลประกอบการสําหรับไตรมาส 3 ของปี 2551 มีกําไรสุทธิ 4,212 ล?านบาท หลังจากการตั้งสํารองด้อยค่าเงินลงทุนจํานวน 3,081 ล้านบาท หากไม่นับรวมรายการสํารองด้อยค่าดังกล่าว ธนาคารจะมีกําไรก่อนหักสํารองและภาษี 10,343 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 2551 จํานวน 1,159 ล?านบาท หรือ 12.6%แต่เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนธนาคารมีกำไรสุทธิลดลง เนื่องจากปีก่อนมีกำไรอยู่ที่ 5,153 ล้านบาท โดยธนาคารมีกำไรลดลง 941 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 3.14% ในปีที่แล้ว เป็น 3.37%
สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ธนาคารมีการขยายตัวด้านสินเชื่อในอัตราที่สูงถึง 13.1% โดยมีจํานวนเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2550 จํานวน 135,128 ล้านบาท เป็น 1,170,519 ล้านบาท และในช่วงเวลาดังกล่าว ธนาคารประสบความสําเร็จในการแก้ไขหนี้มีปัญหา และมีสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลง 14,584 ล้านบาท เป็น 67,087 ล้านบาท คิดเป็น 5.6% ของสินเชื่อรวม เทียบกับ 7.9% ณ สิ้นเดือนธันวาคม ปี 2550
ส่วนกำไรสุทธิ 9 เดือน อยู่ที่ 14,975 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 15,128 ล้านบาท โดยในไตรมาส 3 นี้ ธนาคารได้ตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้ของบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้งส์ สหรัฐอเมริกา เนื่องจากมูลค่าของตราสารดังกล่าวได้รับผลกระทบจากความผันผวนในตลาดการเงินในสหรัฐฯ โดยธนาคารได้ตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าเต็มจํานวนเป็นเงินรวม 3,081 ล้านบาท เป็นผลให้รายได้เงินลงทุนมียอดขาดทุน 2,518 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มขึ้น 142 ล้านบาท ธนาคารได้ตั้งสํารองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมอีก 1,067 ล้านบาท โดยสํารองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมียอดสะสม ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 จํานวน 60,351 ล้านบาท คิดเป็น 90.0% ของสินเชื่อด้อยคุณภาพ โดยมีสํารองส่วนที่เกินเกณฑ์ของธนาคารแห?งประเทศไทยสูงถึง 21,915 ล้านบาท
กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศผลประกอบการว่า กำไรสุทธิของธนาคารในไตรมาส 3/2551 อยู่ที่ 4,825 ล้านบาท ลดลง 9 % เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2550 และลดลง 17% จากไตรมาส 2/2551 ทั้งนี้ ณ 30 กันยายน 2551 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนตามกฎหมายต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระดับสูงที่ 17.1% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งในการเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในระหว่างการถดถอย สำหรับในไตรมาส 3/2551ธนาคารได้ตัดสินใจขายเงินลงทุนในต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติทางการเงินของโลกก่อนกำหนดเพื่อจำกัดความเสียหาย
โดยนายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้ความเห็นต่อผลประกอบการที่เกิดขึ้นในไตรมาส 3 ของปี 2551 ว่า วิกฤติทางการเงินที่เกิดขึ้นกับตลาดการเงินทั่วโลกในขณะนี้ นับเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายและยากลำบากสำหรับสถาบันการเงินทั้งหลายในต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ธนาคารไทยพาณิชย์ยังมีความแข็งแกร่งและพร้อมที่จะรับมือกับสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในต่างประเทศนี้ อันเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านต่างๆ ตามโครงการปรับปรุงธนาคารในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ธนาคารได้ตัดสินใจขายเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ และบริษัทวาณิชธนกิจอีก 2 แห่งออกไปก่อนกำหนด ทำให้เกิดผลขาดทุนสุทธิจากเงินลงทุนจำนวน 732 ล้านบาท (ซึ่งแสดงอยู่ในผลประกอบการตามงบการเงินเฉพาะธนาคาร)
สำหรับงบการเงินรวมซึ่งรวมผลขาดทุนจากการขายหุ้นทุนและการปรับลดราคาของเงินลงทุนภายในประเทศ โดยบริษัทย่อย 2 บริษัท ธนาคารแสดงผลขาดทุนสุทธิจากเงินลงทุนในไตรมาส 3/2551 เป็นจำนวน 971 ล้านบาท เป็นผลทำให้กำไรสุทธิในงบการเงินรวมของธนาคารไตรมาส 3/2551 อยู่ที่ 4,825 ล้านบาท เทียบกับ 5,322 ล้านบาท ในไตรมาส 3/2550 และ 5,818 ล้านบาทในไตรมาส 2/2551 ณ สิ้นไตรมาสที่ 3/2551 อัตราส่วนเงินกองทุนตามกฎหมายต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารอยู่ในระดับที่สูงมากที่ 17.1% เงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 12.4% และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อยู่ที่ 4.7% สูงกว่าอัตราขั้นต่ำที่ทางการกำหนดไว้ที่ 8.5% เงินกองทุนที่สูงดังกล่าวเป็นผลมาจากการมีสินเชื่อรายย่อยในสัดส่วนที่สูงและ ความสามารถในการทำกำไรอย่างดีเยี่ยมของเครือข่ายของธนาคารตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เงินกองทุนที่แข็งแกร่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ธนาคารรับมืออย่างมีประสิทธิภาพกับสภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะถดถอย
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า วิกฤติการณ์ของฟองสบู่ด้านสินเชื่อทั่วโลกที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความซับซ้อนทางนวัตกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นมากมายในช่วงที่ผ่านมาและการบริหารจัดการด้านความเสี่ยงที่ไม่ดีพอ ในช่วงสถานการณ์เช่นนี้ ธนาคารมุ่งดำเนินนโยบายให้เป็นไปอย่างรอบคอบระมัดระวังและโปร่งใสอย่างที่ได้ดำเนินการมาโดยตลอด และมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และผู้ถือหุ้นตลอดไป
**KTB-SCIBโชว์กำไรพุ่ง**
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย แจ้งว่า ในไตรมาส 3 ปี 51 มีกำไรสุทธิ 3,669.22 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.33 บาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 825.10 ล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.07 บาท โดยธนาคารมีกำไรเพิ่มขึ้น 2,844.12 ล้านบาท คิดเป็น 344% ขณะที่ช่วง 9 เดือนแรกของปี ธนาคารมีกำไรสุทธิรวม 9,843.11 ล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.88 บาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 5,761.34 ล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.52 บาท โดยมีกำไรเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น 4081.77 ล้านบาท หรือคิดเป็น 70%
สำหรับยอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ Non-Performing Loans(net) ประจำไตรมาส สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2551 อยู่ที่ 64,854.64 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5.96% ของเงินให้สินเชื่อรวมหลังหักเงินสำรองและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ส่วน Non-Performing Loans (gross) ประจำไตรมาส สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน อยู่ที่ 97,216.71 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.68% ของเงินให้สินเชื่อรวมก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของธนาคารในรอบ 9 เดือนแรกของปี 2551 ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถพลิกฟื้นจากผลขาดทุนสุทธิจำนวน 3,514ล้านบาทใน 9 เดือนแรกของปีก่อนมาเป็นมีกำไรสุทธิ 3,375 ล้านบาท หรือกำไร 1.60 บาทต่อหุ้น ส่วนในไตรมาส 3 ปี 2551 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 1,177 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิ 3,962 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสสองซึ่งมีกำไร 941 ล้านบาท ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียม ขณะที่สามารถบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการกันสำรองฯที่ลดลง
ส่วนผลจากการขยายธุรกิจและบริหารส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยขยับขึ้นมาอยู่ที่ 3.10% จากในช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่จาก 2.88%และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 8,936 ล้านบาท เป็น 9,510 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6%
สำหรับรายได้ค่าธรรมเนียมมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากจำนวนเพียง 517 ล้านบาทในไตรมาสแรกปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 665 ล้านบาท ในไตรมาส 3 ปีนี้ ทำให้รายได้ค่าธรรมเนียมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 เท่ากับ 1,929 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เท่ากับเพียงจำนวน 1,629 ล้านบาท และผลจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นทำให้อัตราส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมต่อรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.14 ใน 9 เดือนแรกปี 2550 เป็นร้อยละ 15.55 ในช่วงเดียวกันของปี 2551
**สินเอเซียกำไร-รายได้ดบ.เพิ่ม**
นายธงชัย อานันโทไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร สินเอเซีย จำกัด (มหาชน) (ACL) แจ้งว่าผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2551 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 134.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.91 ล้านบาท หรือคิดเป็น 68% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 79.71 ล้านบาท ส่งผลให้ในรอบ 9 เดือนแรกของปี ธนาคารมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 321.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 64.32 ล้านบาท หรือคิดเป็น 25%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 256.81 ล้านบาท
โดยสาเหตุที่ผลการดำเนินงานเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 20% เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิในไตรมาสที่สาม มีจำนวน 544.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 163.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 42.8 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการขยายตัวของธุรกิจสินเชื่อเมื่อ เทียบในช่วงเวลาเดียวกันจำนวน 12,651 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.1 ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาสที่สาม มีจำนวน 198.6 ล้านบาท ลดลง 83.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.7 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สาเหตุหลักมาจากกำไรจากเงินลงทุนลดลง 103.4 ล้านบาท กำไรจากการขายสินทรัพย์รอการขายลดลง 88.9 ล้านบาท แต่ทั้งนี้มีรายได้จากหนี้สูญรับคืนเพิ่มขึ้น 87.5 ล้านบาท
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL รายงานผลประกอบการสําหรับไตรมาส 3 ของปี 2551 มีกําไรสุทธิ 4,212 ล?านบาท หลังจากการตั้งสํารองด้อยค่าเงินลงทุนจํานวน 3,081 ล้านบาท หากไม่นับรวมรายการสํารองด้อยค่าดังกล่าว ธนาคารจะมีกําไรก่อนหักสํารองและภาษี 10,343 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 2551 จํานวน 1,159 ล?านบาท หรือ 12.6%แต่เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนธนาคารมีกำไรสุทธิลดลง เนื่องจากปีก่อนมีกำไรอยู่ที่ 5,153 ล้านบาท โดยธนาคารมีกำไรลดลง 941 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 3.14% ในปีที่แล้ว เป็น 3.37%
สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ธนาคารมีการขยายตัวด้านสินเชื่อในอัตราที่สูงถึง 13.1% โดยมีจํานวนเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2550 จํานวน 135,128 ล้านบาท เป็น 1,170,519 ล้านบาท และในช่วงเวลาดังกล่าว ธนาคารประสบความสําเร็จในการแก้ไขหนี้มีปัญหา และมีสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลง 14,584 ล้านบาท เป็น 67,087 ล้านบาท คิดเป็น 5.6% ของสินเชื่อรวม เทียบกับ 7.9% ณ สิ้นเดือนธันวาคม ปี 2550
ส่วนกำไรสุทธิ 9 เดือน อยู่ที่ 14,975 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 15,128 ล้านบาท โดยในไตรมาส 3 นี้ ธนาคารได้ตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้ของบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้งส์ สหรัฐอเมริกา เนื่องจากมูลค่าของตราสารดังกล่าวได้รับผลกระทบจากความผันผวนในตลาดการเงินในสหรัฐฯ โดยธนาคารได้ตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าเต็มจํานวนเป็นเงินรวม 3,081 ล้านบาท เป็นผลให้รายได้เงินลงทุนมียอดขาดทุน 2,518 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มขึ้น 142 ล้านบาท ธนาคารได้ตั้งสํารองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมอีก 1,067 ล้านบาท โดยสํารองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมียอดสะสม ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 จํานวน 60,351 ล้านบาท คิดเป็น 90.0% ของสินเชื่อด้อยคุณภาพ โดยมีสํารองส่วนที่เกินเกณฑ์ของธนาคารแห?งประเทศไทยสูงถึง 21,915 ล้านบาท
กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศผลประกอบการว่า กำไรสุทธิของธนาคารในไตรมาส 3/2551 อยู่ที่ 4,825 ล้านบาท ลดลง 9 % เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2550 และลดลง 17% จากไตรมาส 2/2551 ทั้งนี้ ณ 30 กันยายน 2551 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนตามกฎหมายต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระดับสูงที่ 17.1% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งในการเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในระหว่างการถดถอย สำหรับในไตรมาส 3/2551ธนาคารได้ตัดสินใจขายเงินลงทุนในต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติทางการเงินของโลกก่อนกำหนดเพื่อจำกัดความเสียหาย
โดยนายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้ความเห็นต่อผลประกอบการที่เกิดขึ้นในไตรมาส 3 ของปี 2551 ว่า วิกฤติทางการเงินที่เกิดขึ้นกับตลาดการเงินทั่วโลกในขณะนี้ นับเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายและยากลำบากสำหรับสถาบันการเงินทั้งหลายในต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ธนาคารไทยพาณิชย์ยังมีความแข็งแกร่งและพร้อมที่จะรับมือกับสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในต่างประเทศนี้ อันเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านต่างๆ ตามโครงการปรับปรุงธนาคารในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ธนาคารได้ตัดสินใจขายเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ และบริษัทวาณิชธนกิจอีก 2 แห่งออกไปก่อนกำหนด ทำให้เกิดผลขาดทุนสุทธิจากเงินลงทุนจำนวน 732 ล้านบาท (ซึ่งแสดงอยู่ในผลประกอบการตามงบการเงินเฉพาะธนาคาร)
สำหรับงบการเงินรวมซึ่งรวมผลขาดทุนจากการขายหุ้นทุนและการปรับลดราคาของเงินลงทุนภายในประเทศ โดยบริษัทย่อย 2 บริษัท ธนาคารแสดงผลขาดทุนสุทธิจากเงินลงทุนในไตรมาส 3/2551 เป็นจำนวน 971 ล้านบาท เป็นผลทำให้กำไรสุทธิในงบการเงินรวมของธนาคารไตรมาส 3/2551 อยู่ที่ 4,825 ล้านบาท เทียบกับ 5,322 ล้านบาท ในไตรมาส 3/2550 และ 5,818 ล้านบาทในไตรมาส 2/2551 ณ สิ้นไตรมาสที่ 3/2551 อัตราส่วนเงินกองทุนตามกฎหมายต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารอยู่ในระดับที่สูงมากที่ 17.1% เงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 12.4% และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อยู่ที่ 4.7% สูงกว่าอัตราขั้นต่ำที่ทางการกำหนดไว้ที่ 8.5% เงินกองทุนที่สูงดังกล่าวเป็นผลมาจากการมีสินเชื่อรายย่อยในสัดส่วนที่สูงและ ความสามารถในการทำกำไรอย่างดีเยี่ยมของเครือข่ายของธนาคารตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เงินกองทุนที่แข็งแกร่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ธนาคารรับมืออย่างมีประสิทธิภาพกับสภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะถดถอย
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า วิกฤติการณ์ของฟองสบู่ด้านสินเชื่อทั่วโลกที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความซับซ้อนทางนวัตกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นมากมายในช่วงที่ผ่านมาและการบริหารจัดการด้านความเสี่ยงที่ไม่ดีพอ ในช่วงสถานการณ์เช่นนี้ ธนาคารมุ่งดำเนินนโยบายให้เป็นไปอย่างรอบคอบระมัดระวังและโปร่งใสอย่างที่ได้ดำเนินการมาโดยตลอด และมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และผู้ถือหุ้นตลอดไป
**KTB-SCIBโชว์กำไรพุ่ง**
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย แจ้งว่า ในไตรมาส 3 ปี 51 มีกำไรสุทธิ 3,669.22 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.33 บาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 825.10 ล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.07 บาท โดยธนาคารมีกำไรเพิ่มขึ้น 2,844.12 ล้านบาท คิดเป็น 344% ขณะที่ช่วง 9 เดือนแรกของปี ธนาคารมีกำไรสุทธิรวม 9,843.11 ล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.88 บาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 5,761.34 ล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.52 บาท โดยมีกำไรเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น 4081.77 ล้านบาท หรือคิดเป็น 70%
สำหรับยอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ Non-Performing Loans(net) ประจำไตรมาส สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2551 อยู่ที่ 64,854.64 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5.96% ของเงินให้สินเชื่อรวมหลังหักเงินสำรองและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ส่วน Non-Performing Loans (gross) ประจำไตรมาส สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน อยู่ที่ 97,216.71 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.68% ของเงินให้สินเชื่อรวมก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของธนาคารในรอบ 9 เดือนแรกของปี 2551 ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถพลิกฟื้นจากผลขาดทุนสุทธิจำนวน 3,514ล้านบาทใน 9 เดือนแรกของปีก่อนมาเป็นมีกำไรสุทธิ 3,375 ล้านบาท หรือกำไร 1.60 บาทต่อหุ้น ส่วนในไตรมาส 3 ปี 2551 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 1,177 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิ 3,962 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสสองซึ่งมีกำไร 941 ล้านบาท ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียม ขณะที่สามารถบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการกันสำรองฯที่ลดลง
ส่วนผลจากการขยายธุรกิจและบริหารส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยขยับขึ้นมาอยู่ที่ 3.10% จากในช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่จาก 2.88%และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 8,936 ล้านบาท เป็น 9,510 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6%
สำหรับรายได้ค่าธรรมเนียมมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากจำนวนเพียง 517 ล้านบาทในไตรมาสแรกปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 665 ล้านบาท ในไตรมาส 3 ปีนี้ ทำให้รายได้ค่าธรรมเนียมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 เท่ากับ 1,929 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เท่ากับเพียงจำนวน 1,629 ล้านบาท และผลจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นทำให้อัตราส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมต่อรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.14 ใน 9 เดือนแรกปี 2550 เป็นร้อยละ 15.55 ในช่วงเดียวกันของปี 2551
**สินเอเซียกำไร-รายได้ดบ.เพิ่ม**
นายธงชัย อานันโทไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร สินเอเซีย จำกัด (มหาชน) (ACL) แจ้งว่าผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2551 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 134.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.91 ล้านบาท หรือคิดเป็น 68% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 79.71 ล้านบาท ส่งผลให้ในรอบ 9 เดือนแรกของปี ธนาคารมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 321.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 64.32 ล้านบาท หรือคิดเป็น 25%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 256.81 ล้านบาท
โดยสาเหตุที่ผลการดำเนินงานเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 20% เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิในไตรมาสที่สาม มีจำนวน 544.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 163.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 42.8 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการขยายตัวของธุรกิจสินเชื่อเมื่อ เทียบในช่วงเวลาเดียวกันจำนวน 12,651 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.1 ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาสที่สาม มีจำนวน 198.6 ล้านบาท ลดลง 83.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.7 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สาเหตุหลักมาจากกำไรจากเงินลงทุนลดลง 103.4 ล้านบาท กำไรจากการขายสินทรัพย์รอการขายลดลง 88.9 ล้านบาท แต่ทั้งนี้มีรายได้จากหนี้สูญรับคืนเพิ่มขึ้น 87.5 ล้านบาท