ธปท.ยอมรับสภาพคล่องในระบบเริ่มตึงตัวเล็กน้อย เหตุแบงก์ปล่อยกู้ให้แก่ลูกค้าที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น ขณะที่การระดมทุนผ่านเงินฝากและตั๋วบี/อีชะลอตัว หลังผู้ออมเงินหันไปลงทุนในธุรกิจกองทุนรวมมากขึ้น ส่งผลให้แบงก์ปรับกลยุทธ์ออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินระยะสั้นและปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินให้ทันต่อการแข่งขันรุนแรง มั่นใจสภาพคล่องในระบบยังเหลือเฟือในการปล่อยกู้ แนะแบงก์บริหารความเสี่ยงที่ดีลดปัญหาการระดมทุนสั้นๆ ปล่อยกู้ช่วงอายุยาว
น.ส.นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้สภาพคล่องโดยรวมของธนาคารพาณิชย์ไทยเริ่มตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีการเร่งปล่อยสินเชื่อกันมากขึ้น ขณะเดียวกันการระดมทุนผ่านเงินฝากและตั๋วแลกเงิน(บี/อี)ชะลอตัวลงส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับกลยุทธ์การตลาดออกเงินฝากและบี/อีอายุสั้นๆ มาสนองความต้องการลูกค้า และมีการการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิ.ย.-ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อมาแข่งขันด้านตราสารประเภทอื่นออกมามากขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจกองทุนรวม ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกการลงทุนอื่นๆ ได้มากขึ้น
“แม้แบงก์จะมีการระดมฝากและออกตั๋วบี/อีในช่วงอายุสั้นๆ แต่ก็มีการต่ออายุสัญญาไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสภาพคล่องส่วนเกินยังมีอยู่ แม้สภาพคล่องไม่ได้ผ่อนคลายเหมือนในไตรมาส 1 เห็นได้จากเครื่องชี้สัดส่วนเงินฝากและบี/อีต่อสินเชื่อรวมยังคงเพิ่มขึ้นจาก 84.9% ในไตรมาสก่อนมาเป็น 89.8% ในไตรมาส 2 ถือว่ายังเป็นบวกอยู่”
อย่างไรก็ตามปัญหาการระดมเงินฝากในช่วงสั้นๆ อาจไม่สอดคล้องกับกับการปล่อยกู้ในระยะยาวได้ ดังนั้น ธปท.ได้ขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์มีการดูแลเรื่องระบบบริหารความเสี่ยงให้สอดรับกับพฤติกรรมของเงินในช่องทางต่างๆ
ทั้งนี้ ไตรมาส 2 ของปีนี้เงินรับฝากมีการหดตัวที่ 0.3% เทียบกับไตรมาสก่อนที่ 2.8% เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินด้วยการออกตั๋วบี/อีมากขึ้น เพราะมองว่าให้ผลตอบแทนสูงกว่าและสามารถรอบรับความต้องการของนักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ได้ เช่น กองทุนรวม ทำให้ยังมีความต้องการในตลาด นอกเหนือจากลดปัญหาการนำส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินแล้ว ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินมียอดคงค้างตั๋วบี/อีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1.68 แสนล้านบาท แต่หากรวมเงินฝากและตั๋วบี/อีแล้วมีการขยายตัว 3.6% ชะลอตัวลงบ้างจาก 5.7%ในไตรมาส 1
สำหรับสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในระบบมีอัตราการขยายตัวที่ 11% จากระยะเดียวกันของปีก่อน เทียบกับไตรมาสก่อนที่ 7.3% ซึ่งเป็นการเร่งตัวขึ้น 3 ไตรมาสต่อเนื่อง โดยสินเชื่อภาคธุรกิจที่มีสัดส่วนถึง 76.1%ของสินเชื่อรวมมีอัตราขยายตัว 9.5% เทียบกับไตรมาสก่อน 5.5% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความต้องการเงินทุนหมุนเวียนตามต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่สูงขึ้นมากกว่าการขยายการลงทุน ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัว 16% เทียบกับไตรมาสก่อน 13.5% จากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและการเช่าซื้อรถยนต์เป็นหลัก
“ปัจจัยท้าทายในการดำเนินธุรกิจของแบงก์ในช่วงไตรมาสนี้ ได้แก่ ปัญหาการเงินระดับโลกราคาน้ำมันแพง ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ แต่แบงก์ก็ให้ความสำคัญในการดูแลด้าน Credit Risk ต่างๆ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ”
ขณะที่ยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ทั้งสิ้น 4.48 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 6.4% ลดลงจากไตรมาสก่อน 1.77 หมื่นล้านบาท ขณะที่หนี้เอ็นพีแอลที่มีการกันสำรองแล้ว(เอ็นพีแอลสุทธิ)ขยายตัว 3.4% ซึ่งสัดส่วนของหนี้เอ็นพีแอลทั้ง 2 ตัวมีการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยสินเชื่อภาคธุรกิจมีหนี้เอ็นพีแอลลดลงจาก 7.6% เหลือ 7.2% ในไตรมาสนี้ โดยเป็นการลดลงเกือบทุกภาคธุรกิจ ในขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคโดยรวมมีหนี้เอ็นพีแอลลดลงเล็กน้อยจาก 4% เหลือ 3.8% ซึ่งเป็นผลจากที่ระบบธนาคารพาณิชย์มีความระมัดระวังคุณภาพสินเชื่อและลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์มีการรับชำระหนี้และขายหนี้มากขึ้นด้วย
ทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 2.7 หมื่นล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้และลดลงจากไตรมาสก่อน 3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากกำไรการลงทุนลดลงและมีการกันสำรองเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันกำไรสุทธิในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ที่ 5.7 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน 6.1 พันล้านบาท เนื่องจากมีการกันสำรองตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีสากล(IAS39) 900 ล้านบาท ถือว่าธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองครบแล้วตามเกณฑ์ดังกล่าว
น.ส.นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้สภาพคล่องโดยรวมของธนาคารพาณิชย์ไทยเริ่มตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีการเร่งปล่อยสินเชื่อกันมากขึ้น ขณะเดียวกันการระดมทุนผ่านเงินฝากและตั๋วแลกเงิน(บี/อี)ชะลอตัวลงส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับกลยุทธ์การตลาดออกเงินฝากและบี/อีอายุสั้นๆ มาสนองความต้องการลูกค้า และมีการการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิ.ย.-ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อมาแข่งขันด้านตราสารประเภทอื่นออกมามากขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจกองทุนรวม ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกการลงทุนอื่นๆ ได้มากขึ้น
“แม้แบงก์จะมีการระดมฝากและออกตั๋วบี/อีในช่วงอายุสั้นๆ แต่ก็มีการต่ออายุสัญญาไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสภาพคล่องส่วนเกินยังมีอยู่ แม้สภาพคล่องไม่ได้ผ่อนคลายเหมือนในไตรมาส 1 เห็นได้จากเครื่องชี้สัดส่วนเงินฝากและบี/อีต่อสินเชื่อรวมยังคงเพิ่มขึ้นจาก 84.9% ในไตรมาสก่อนมาเป็น 89.8% ในไตรมาส 2 ถือว่ายังเป็นบวกอยู่”
อย่างไรก็ตามปัญหาการระดมเงินฝากในช่วงสั้นๆ อาจไม่สอดคล้องกับกับการปล่อยกู้ในระยะยาวได้ ดังนั้น ธปท.ได้ขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์มีการดูแลเรื่องระบบบริหารความเสี่ยงให้สอดรับกับพฤติกรรมของเงินในช่องทางต่างๆ
ทั้งนี้ ไตรมาส 2 ของปีนี้เงินรับฝากมีการหดตัวที่ 0.3% เทียบกับไตรมาสก่อนที่ 2.8% เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินด้วยการออกตั๋วบี/อีมากขึ้น เพราะมองว่าให้ผลตอบแทนสูงกว่าและสามารถรอบรับความต้องการของนักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ได้ เช่น กองทุนรวม ทำให้ยังมีความต้องการในตลาด นอกเหนือจากลดปัญหาการนำส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินแล้ว ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินมียอดคงค้างตั๋วบี/อีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1.68 แสนล้านบาท แต่หากรวมเงินฝากและตั๋วบี/อีแล้วมีการขยายตัว 3.6% ชะลอตัวลงบ้างจาก 5.7%ในไตรมาส 1
สำหรับสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในระบบมีอัตราการขยายตัวที่ 11% จากระยะเดียวกันของปีก่อน เทียบกับไตรมาสก่อนที่ 7.3% ซึ่งเป็นการเร่งตัวขึ้น 3 ไตรมาสต่อเนื่อง โดยสินเชื่อภาคธุรกิจที่มีสัดส่วนถึง 76.1%ของสินเชื่อรวมมีอัตราขยายตัว 9.5% เทียบกับไตรมาสก่อน 5.5% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความต้องการเงินทุนหมุนเวียนตามต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่สูงขึ้นมากกว่าการขยายการลงทุน ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัว 16% เทียบกับไตรมาสก่อน 13.5% จากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและการเช่าซื้อรถยนต์เป็นหลัก
“ปัจจัยท้าทายในการดำเนินธุรกิจของแบงก์ในช่วงไตรมาสนี้ ได้แก่ ปัญหาการเงินระดับโลกราคาน้ำมันแพง ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ แต่แบงก์ก็ให้ความสำคัญในการดูแลด้าน Credit Risk ต่างๆ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ”
ขณะที่ยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ทั้งสิ้น 4.48 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 6.4% ลดลงจากไตรมาสก่อน 1.77 หมื่นล้านบาท ขณะที่หนี้เอ็นพีแอลที่มีการกันสำรองแล้ว(เอ็นพีแอลสุทธิ)ขยายตัว 3.4% ซึ่งสัดส่วนของหนี้เอ็นพีแอลทั้ง 2 ตัวมีการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยสินเชื่อภาคธุรกิจมีหนี้เอ็นพีแอลลดลงจาก 7.6% เหลือ 7.2% ในไตรมาสนี้ โดยเป็นการลดลงเกือบทุกภาคธุรกิจ ในขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคโดยรวมมีหนี้เอ็นพีแอลลดลงเล็กน้อยจาก 4% เหลือ 3.8% ซึ่งเป็นผลจากที่ระบบธนาคารพาณิชย์มีความระมัดระวังคุณภาพสินเชื่อและลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์มีการรับชำระหนี้และขายหนี้มากขึ้นด้วย
ทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 2.7 หมื่นล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้และลดลงจากไตรมาสก่อน 3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากกำไรการลงทุนลดลงและมีการกันสำรองเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันกำไรสุทธิในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ที่ 5.7 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน 6.1 พันล้านบาท เนื่องจากมีการกันสำรองตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีสากล(IAS39) 900 ล้านบาท ถือว่าธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองครบแล้วตามเกณฑ์ดังกล่าว