นายกสมาคมโบรกเกอร์ เผยผลสำรวจบริษัทหลักทรัพย์สนใจทำธุรกรรม “ทีซีอาร์” น้อย ระบุ 3 ปัจจัยหลักทั้งนักลงทุนขนเงินไปลงทุนสะดวกกว่า- ขั้นตอนยุ่งยาก บวกกับตลาดหุ้นทั่วโลกไม่เอื้อ ขณะที่บริษัทสมาชิกขอเวลาศึกษารายละเอียดเพิ่ม คาดได้ข้อสรุปภายในสิ้นเดือนต.ค.นี้ ก่อนจะนำเข้าหารือกับก.ล.ต.-ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป
นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการอำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทรีนีตี้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เปิดเผยถึง ความคืบหน้าการดำเนินการประกอบธุรกรรมซื้อขายใบรับฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เปลี่ยนมือได้ (TRC) ว่า ขณะนี้สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ได้เปิดรับฟังความเห็นจากบริษัทสมาชิกเกี่ยวกับการดำเนินธุรกรรมซื้อขายใบรับฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เปลี่ยนมือได้ (TCR) เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและความต้องการของสมาชิกที่จะเข้าร่วม เพื่อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น
ทั้งนี้ ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่า บริษัทหลักทรัพย์มีความสนใจในการทำธุรกิจซื้อขาย TRC เพราะสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนไทยสามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้โดยตรง ทำให้นักลงทุนสมารถไปลงทุนในหุ้นที่ต้องการได้ บวกกับภาวะตลาดหุ้นทั่วโลกไม่เอื้อต่อการลงทุน จากวิกฤตสถาบันการเงินที่กำลังเกิดขึ้นและขยายวงกว้างอยู่ในปัจจุบันนี้
ขณะเดียวกัน กระบวนการขั้นตอนในการนำหุ้นต่างประเทศมาออกเป็น TCR และนำเข้าจดทะเบียนมีหลายขั้นตอบ และมีความเสี่ยงในการเลือกหุ้นต่างประเทศเมื่อนำมาจดทะเบียนแล้วจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนเข้ามาซื้อขายหรือไม่
“หลังจากสำนักงาน ก.ล.ต. เปิดโอกาสให้นักลงทุนไทยสามารถนำเงินไปลงทุนต่างประเทศได้ ทำให้ความน่าสนใจในการออกTCR น้อยลง และจากภาวะตลาดไม่เอื้อ รวมถึงการออก TCR มีขั้นตอนดำเนินงานเยอะ ว่าใครจะออกเงินก่อนเพื่อนำไปซื้อหุ้นในต่างประเทศก่อน และซื้อหุ้นมาแล้วจะเป็นที่สนใจของนักลงทุนหรือไม่” นายกัมปนาท กล่าว
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล. ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ในฐานะหัวหน้าคณะทำงาน TCR กล่าวว่า จากการประชุมหารือกับบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกในสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทสมาชิกได้ขอเวลาในการศึกษารายละเอียดก่อน เนื่องจากการทำธุรกรรม TCR นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน รวมทั้งภาะวะตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวน ทำให้ต้องมีความระมัดระวังในการดำเนินการดังกล่าว
ทั้งนี้ สมาคมโบรกเกอร์คาดว่าจะสามารถสรุปความคิดเห็นของสมาชิกได้ภายในสิ้นเดือนนี้ ก่อนจะนำข้อสรุปที่ได้ไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ต่อไป
สำหรับผลิตภัณฑ์ TCR ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนของนักลงทุนไทยที่ไม่ต้องรับความเสี่ยงจากค่าเงิน และใช้เงินลงทุนไม่มาก ซึ่งต่างจากนักลงทุนที่ไปลงทุนต่างประเทศโดยตรง นั้นจะเป็นกลุ่มนักลงทุนที่มีความรู้ในการลงทุนต่างประเทศ มีขนาดการลงทุนที่สูง และต้องรับความเสี่ยงจากค่าเงิน
“ฐานนักลงทุนที่ลงทุนใน TCR กับการไปลงทุนต่างประเทศโดยตรงนั้น เป็นคนละกลุ่มจากที่นักลงทุนไปลงทุนต่างประเทศนั้นจะต้องเป็นระดับไฮด์เน็ตเวิร์ค มีขนาดพอร์ตการลงทุนที่สูง ซึ่งต่างกับนักลงทุนที่ลงทุน TCR ที่จะใช้เงินไม่สูง และเทรดเหมือนหุ้น 1 ตัวในกระดาน และไม่มีความเสี่ยงในเรื่องค่าเงินที่ผันผวน”
สำหรับการมีสินค้า TCR นั้นถือว่าเป็นสินค้าที่ดี และเป็นการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าในตลาดหลักทรัพย์ฯเพิ่มมากขึ้น และให้โอกาสนักลงทุนไทยที่มีขนาดการลงทุนที่ไม่สูงมากมีโอกาสที่จะลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้ในตลาดหุ้นไทย และเชื่อว่าทางตลาดหลักทรัพย์ฯจะสนับสนุนเพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าและทางตลาดหลักทรัพย์ฯต้องการให้มีการทำธุรกรรม TCR เกิดขึ้น โดยคาดว่าธุรกรรมดังกล่าวจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯได้ภายในปีหน้า
นอกจากนี้ จากการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมบล.ได้มีการเสนอให้ก.ล.ต.พิจารณาผ่อนผันแนวทางการปฏิบัติงานของบริษัทหลักทรัพย์เกี่ยวกับการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ ดังนี้ คือ กรณีลงทุนสูงสุดเกินกว่า 80% ของเงินที่นำออกไปลงทุน ให้ผ่อนผันไม่ต้องนำเงินส่วนที่เหลือกลับมาภายในเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ จำนวนเงินคงเหลือตอ้งไม่เกิน 500,000 เหรียญสหรัฐฯ และเสนอให้บริษัทหลักทรัพย์ไทย และบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศสามารถนำเงินไปชำระค่าซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าได้ล่วงหน้าโดยไม่ถือเป็นการกู้ยืม หากลูกค้าได้วางเงินสดไว้กับบริษัทหลักทรัพย์ไทยก่อนการซื้อขายแล้ว
นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการอำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทรีนีตี้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เปิดเผยถึง ความคืบหน้าการดำเนินการประกอบธุรกรรมซื้อขายใบรับฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เปลี่ยนมือได้ (TRC) ว่า ขณะนี้สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ได้เปิดรับฟังความเห็นจากบริษัทสมาชิกเกี่ยวกับการดำเนินธุรกรรมซื้อขายใบรับฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เปลี่ยนมือได้ (TCR) เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและความต้องการของสมาชิกที่จะเข้าร่วม เพื่อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น
ทั้งนี้ ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่า บริษัทหลักทรัพย์มีความสนใจในการทำธุรกิจซื้อขาย TRC เพราะสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนไทยสามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้โดยตรง ทำให้นักลงทุนสมารถไปลงทุนในหุ้นที่ต้องการได้ บวกกับภาวะตลาดหุ้นทั่วโลกไม่เอื้อต่อการลงทุน จากวิกฤตสถาบันการเงินที่กำลังเกิดขึ้นและขยายวงกว้างอยู่ในปัจจุบันนี้
ขณะเดียวกัน กระบวนการขั้นตอนในการนำหุ้นต่างประเทศมาออกเป็น TCR และนำเข้าจดทะเบียนมีหลายขั้นตอบ และมีความเสี่ยงในการเลือกหุ้นต่างประเทศเมื่อนำมาจดทะเบียนแล้วจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนเข้ามาซื้อขายหรือไม่
“หลังจากสำนักงาน ก.ล.ต. เปิดโอกาสให้นักลงทุนไทยสามารถนำเงินไปลงทุนต่างประเทศได้ ทำให้ความน่าสนใจในการออกTCR น้อยลง และจากภาวะตลาดไม่เอื้อ รวมถึงการออก TCR มีขั้นตอนดำเนินงานเยอะ ว่าใครจะออกเงินก่อนเพื่อนำไปซื้อหุ้นในต่างประเทศก่อน และซื้อหุ้นมาแล้วจะเป็นที่สนใจของนักลงทุนหรือไม่” นายกัมปนาท กล่าว
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล. ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ในฐานะหัวหน้าคณะทำงาน TCR กล่าวว่า จากการประชุมหารือกับบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกในสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทสมาชิกได้ขอเวลาในการศึกษารายละเอียดก่อน เนื่องจากการทำธุรกรรม TCR นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน รวมทั้งภาะวะตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวน ทำให้ต้องมีความระมัดระวังในการดำเนินการดังกล่าว
ทั้งนี้ สมาคมโบรกเกอร์คาดว่าจะสามารถสรุปความคิดเห็นของสมาชิกได้ภายในสิ้นเดือนนี้ ก่อนจะนำข้อสรุปที่ได้ไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ต่อไป
สำหรับผลิตภัณฑ์ TCR ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนของนักลงทุนไทยที่ไม่ต้องรับความเสี่ยงจากค่าเงิน และใช้เงินลงทุนไม่มาก ซึ่งต่างจากนักลงทุนที่ไปลงทุนต่างประเทศโดยตรง นั้นจะเป็นกลุ่มนักลงทุนที่มีความรู้ในการลงทุนต่างประเทศ มีขนาดการลงทุนที่สูง และต้องรับความเสี่ยงจากค่าเงิน
“ฐานนักลงทุนที่ลงทุนใน TCR กับการไปลงทุนต่างประเทศโดยตรงนั้น เป็นคนละกลุ่มจากที่นักลงทุนไปลงทุนต่างประเทศนั้นจะต้องเป็นระดับไฮด์เน็ตเวิร์ค มีขนาดพอร์ตการลงทุนที่สูง ซึ่งต่างกับนักลงทุนที่ลงทุน TCR ที่จะใช้เงินไม่สูง และเทรดเหมือนหุ้น 1 ตัวในกระดาน และไม่มีความเสี่ยงในเรื่องค่าเงินที่ผันผวน”
สำหรับการมีสินค้า TCR นั้นถือว่าเป็นสินค้าที่ดี และเป็นการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าในตลาดหลักทรัพย์ฯเพิ่มมากขึ้น และให้โอกาสนักลงทุนไทยที่มีขนาดการลงทุนที่ไม่สูงมากมีโอกาสที่จะลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้ในตลาดหุ้นไทย และเชื่อว่าทางตลาดหลักทรัพย์ฯจะสนับสนุนเพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าและทางตลาดหลักทรัพย์ฯต้องการให้มีการทำธุรกรรม TCR เกิดขึ้น โดยคาดว่าธุรกรรมดังกล่าวจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯได้ภายในปีหน้า
นอกจากนี้ จากการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมบล.ได้มีการเสนอให้ก.ล.ต.พิจารณาผ่อนผันแนวทางการปฏิบัติงานของบริษัทหลักทรัพย์เกี่ยวกับการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ ดังนี้ คือ กรณีลงทุนสูงสุดเกินกว่า 80% ของเงินที่นำออกไปลงทุน ให้ผ่อนผันไม่ต้องนำเงินส่วนที่เหลือกลับมาภายในเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ จำนวนเงินคงเหลือตอ้งไม่เกิน 500,000 เหรียญสหรัฐฯ และเสนอให้บริษัทหลักทรัพย์ไทย และบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศสามารถนำเงินไปชำระค่าซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าได้ล่วงหน้าโดยไม่ถือเป็นการกู้ยืม หากลูกค้าได้วางเงินสดไว้กับบริษัทหลักทรัพย์ไทยก่อนการซื้อขายแล้ว