ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งเหว "ดัชนีดาวโจนส์" ดิ่งลงอย่างรุนแรง 778 จุด มูลค่าตลาดหายวับ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ ทำสถิติใหม่ในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ หลังสภาคองเกรส ลงมติคว่ำแผนฟื้นฟูฯ 7 $แสนล. เผยนักลงทุนส่วนใหญ่ตระหนกสุดขีด แทบจะไม่เชื่อสายตาตนเอง เมื่อภาพข่าวทางโทรทัศน์รายงานข่าวการคว่ำแผนฟื้นฟูภาคการเงินในสภาคองเกรส ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาเป็นระลอกว่า สภาคองเกรสและวุฒิสภาสหรัฐจะผ่านแผนฟื้นฟูอย่างแน่นอน หลังจากผู้นำหลายคนในสภาคองเกรสและประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ได้ตกลงเห็นชอบร่วมกันในเบื้องต้นที่จะสนับสนุนแผนฟื้นฟูภาคการเงินฉบับนี้
วันนี้ (30 ก.ย.) สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ทรุดลง 777.68 จุด หรือ 6.98% ปิดที่ 10,365.45 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี ขณะที่ดัชนี S&P 500 ร่วงลง 106.59 จุด หรือ 8.79% ปิดที่ 1,106.39 จุด และดัชนี Nasdaq ดิ่งลง 199.61 จุด หรือ 9.14% ปิดที่ 1,983.73 จุด
ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ราว 2.03 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกราว 30 ต่อ 1 ส่วนปริมาณการซื้อขายในตลาด Nasdaq มีอยู่ราว 2.80 พันล้านหุ้น ซึ่งประเมินว่า การทรุดตัวของดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ครั้งนี้ มากสุดเป็นประวัติการณ์ โดยทำให้มูลค่าตลาดหายไปถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ นับเป็นครั้งแรกที่มูลค่าตลาดหลักล้านล้าน หายไปในวันเดียว
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ก เมื่อคืนนี้ เต็มไปด้วยความตื่นตระหนก หลังจากมีรายงานว่า สภาคองเกรสสหรัฐมีมติไม่รับแผนฟื้นฟูภาคเงิน 7 แสนล้านดอลลาร์ ตามที่รัฐบาลสหรัฐยื่นเสนอก่อนหน้านี้ ภายสมาชิกสภาคองเกรสพิจารณานานหลายชั่วโมง จึงได้ลงมติด้วยคะแนนเสียง 228 ต่อ 205 เสียง ไม่รับรองร่างกฎหมายแผนฟื้นฟูภาคการเงิน โดยเฉพาะสมาชิกสภาคองเกรสพรรครีพับลิกันที่ปฏิเสธไม่เห็นชอบต่อแผนการดังกล่าว
ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงถึง 778 จุด เป็นการร่วงลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และร่วงลงรุนแรงที่สุด เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์ นับตั้งแต่ตลาดหุ้นตกต่ำในปี 1987 ดัชนี S&P 500 ร่วงลงรุนแรงที่สุดในรอบ 21 ปี หลังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ (สภาคองเกรส) ลงมติคว่ำแผนฟื้นฟูภาคการเงินด้วยคะแนนเสียง 228 ต่อ 205 เสียง
ดัชนี Nasdaq ร่วงลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2000 เมื่อยุคฟองสบู่ด้านอินเทอร์เน็ตสิ้นสุดลง ความล้มเหลวของร่างกฏหมายดังกล่าวซึ่งจะอนุญาตให้กระทรวงการคลังซื้อหนี้เสียด้านการจำนองจากธนาคารที่ประสบปัญหาอันเป็นความพยายามที่จะกระตุ้นการปล่อยกู้นั้น ถูกมองว่ามีความสำคัญต่อการปกป้องเศรษฐกิจจากการชะลอตัวรุนแรงขึ้น
ความล้มเหลวดังกล่าว สร้างความวิตกให้กับนักลงทุนที่เห็นวิกฤติสินเชื่อส่งผลกระทบต่อธนาคารรายใหม่ๆ รวมถึง วาโชเวีย คอร์ป และธนาคารในยุโรป
ความวิตกรุนแรงขึ้น ขณะที่นักลงทุนเทขายหุ้นเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยดัชนีความผันผวนของตลาดออปชั่นซึ่งเป็นตัววัดความวิตกของนักลงทุน พุ่งขึ้น 39 %สู่ 48.40 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี และอยู่ที่ 46.72 เมื่อปิดตลาด
นายกอร์ดอน ชาร์ล็อป นักวิเคราะห์จากบริษัท Rosenblatt Securities กล่าวว่า นักลงทุนส่วนใหญ่แทบจะไม่เชื่อสายตาตนเอง เมื่อภาพข่าวทางโทรทัศน์รายงานข่าวการคว่ำแผนฟื้นฟูภาคการเงินในสภาคองเกรส ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาเป็นระลอกๆ ว่า สภาคองเกรสและวุฒิสภาสหรัฐจะผ่านแผนฟื้นฟูอย่างแน่นอน หลังจากผู้นำหลายคนในสภาคองเกรสและประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ได้ตกลงเห็นชอบร่วมกันในเบื้องต้นที่จะสนับสนุนแผนฟื้นฟูภาคการเงินฉบับนี้
"เมื่อผลปรากฏว่าสภาคองเกรสมีมติไม่รับแผนฟื้นฟูฯ นักลงทุนก็กระหน่ำขายหุ้นทันที ซึ่งสร้างความโกลาหลไปทั่วตลาด" ชาร์ล็อปกล่าว
เมื่อวานนี้มีรายงานว่าประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช และผู้นำในสภาคองเกรส ได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับแผนฟื้นฟูภาคการเงินมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์แล้ว โดยคาดว่าสภาคองเกรสจะอนุมัติแผนการดังกล่าวอย่างเป็นทางการในเร็วๆนี้ และจากนั้นจะส่งให้วุฒิสภาลงมติรับรองในวันที่ 1 ต.ค.ที่จะถึงนี้
หากแผนการดังกล่าวผ่านการอนุมัติอย่างเป็นทางการทั้งจากสภาคองเกรสและวุฒิสภา ก็จะเปิดทางให้คณะทำงานของประธานาธิบดีบุชนำเงินงบประมาณมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์ไปใช้ตามแผนฟื้นฟูภาคการเงิน ซึ่งรวมถึงการเข้าซื้อหนี้เสียของสถาบันการเงินที่ประสบวิกฤติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ส่วนที่เหลือจะนำไปซื้อหนี้เสียของธนาคารอื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตลาดเงินขาดสภาพคล่องรุนแรง
การปฏิเสธแผนฟื้นฟูภาคการเงินของสภาคองเกรส ได้สร้างความวิตกให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐกำลังเผชิญวิกฤตสินเชื่อและภาวะผันผวนในตลาดการเงิน โดยล่าสุดมีรายงานว่าธนาคารวาโชเวียได้ถูกบังคับให้ขายสินทรัพย์ส่วนใหญ่ให้กับซิตี้กรุ๊ปตามข้อตกลงที่มีบรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาลสหรัฐเป็นคนกลาง
วันนี้ (30 ก.ย.) สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ทรุดลง 777.68 จุด หรือ 6.98% ปิดที่ 10,365.45 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี ขณะที่ดัชนี S&P 500 ร่วงลง 106.59 จุด หรือ 8.79% ปิดที่ 1,106.39 จุด และดัชนี Nasdaq ดิ่งลง 199.61 จุด หรือ 9.14% ปิดที่ 1,983.73 จุด
ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ราว 2.03 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกราว 30 ต่อ 1 ส่วนปริมาณการซื้อขายในตลาด Nasdaq มีอยู่ราว 2.80 พันล้านหุ้น ซึ่งประเมินว่า การทรุดตัวของดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ครั้งนี้ มากสุดเป็นประวัติการณ์ โดยทำให้มูลค่าตลาดหายไปถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ นับเป็นครั้งแรกที่มูลค่าตลาดหลักล้านล้าน หายไปในวันเดียว
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ก เมื่อคืนนี้ เต็มไปด้วยความตื่นตระหนก หลังจากมีรายงานว่า สภาคองเกรสสหรัฐมีมติไม่รับแผนฟื้นฟูภาคเงิน 7 แสนล้านดอลลาร์ ตามที่รัฐบาลสหรัฐยื่นเสนอก่อนหน้านี้ ภายสมาชิกสภาคองเกรสพิจารณานานหลายชั่วโมง จึงได้ลงมติด้วยคะแนนเสียง 228 ต่อ 205 เสียง ไม่รับรองร่างกฎหมายแผนฟื้นฟูภาคการเงิน โดยเฉพาะสมาชิกสภาคองเกรสพรรครีพับลิกันที่ปฏิเสธไม่เห็นชอบต่อแผนการดังกล่าว
ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงถึง 778 จุด เป็นการร่วงลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และร่วงลงรุนแรงที่สุด เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์ นับตั้งแต่ตลาดหุ้นตกต่ำในปี 1987 ดัชนี S&P 500 ร่วงลงรุนแรงที่สุดในรอบ 21 ปี หลังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ (สภาคองเกรส) ลงมติคว่ำแผนฟื้นฟูภาคการเงินด้วยคะแนนเสียง 228 ต่อ 205 เสียง
ดัชนี Nasdaq ร่วงลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2000 เมื่อยุคฟองสบู่ด้านอินเทอร์เน็ตสิ้นสุดลง ความล้มเหลวของร่างกฏหมายดังกล่าวซึ่งจะอนุญาตให้กระทรวงการคลังซื้อหนี้เสียด้านการจำนองจากธนาคารที่ประสบปัญหาอันเป็นความพยายามที่จะกระตุ้นการปล่อยกู้นั้น ถูกมองว่ามีความสำคัญต่อการปกป้องเศรษฐกิจจากการชะลอตัวรุนแรงขึ้น
ความล้มเหลวดังกล่าว สร้างความวิตกให้กับนักลงทุนที่เห็นวิกฤติสินเชื่อส่งผลกระทบต่อธนาคารรายใหม่ๆ รวมถึง วาโชเวีย คอร์ป และธนาคารในยุโรป
ความวิตกรุนแรงขึ้น ขณะที่นักลงทุนเทขายหุ้นเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยดัชนีความผันผวนของตลาดออปชั่นซึ่งเป็นตัววัดความวิตกของนักลงทุน พุ่งขึ้น 39 %สู่ 48.40 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี และอยู่ที่ 46.72 เมื่อปิดตลาด
นายกอร์ดอน ชาร์ล็อป นักวิเคราะห์จากบริษัท Rosenblatt Securities กล่าวว่า นักลงทุนส่วนใหญ่แทบจะไม่เชื่อสายตาตนเอง เมื่อภาพข่าวทางโทรทัศน์รายงานข่าวการคว่ำแผนฟื้นฟูภาคการเงินในสภาคองเกรส ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาเป็นระลอกๆ ว่า สภาคองเกรสและวุฒิสภาสหรัฐจะผ่านแผนฟื้นฟูอย่างแน่นอน หลังจากผู้นำหลายคนในสภาคองเกรสและประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ได้ตกลงเห็นชอบร่วมกันในเบื้องต้นที่จะสนับสนุนแผนฟื้นฟูภาคการเงินฉบับนี้
"เมื่อผลปรากฏว่าสภาคองเกรสมีมติไม่รับแผนฟื้นฟูฯ นักลงทุนก็กระหน่ำขายหุ้นทันที ซึ่งสร้างความโกลาหลไปทั่วตลาด" ชาร์ล็อปกล่าว
เมื่อวานนี้มีรายงานว่าประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช และผู้นำในสภาคองเกรส ได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับแผนฟื้นฟูภาคการเงินมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์แล้ว โดยคาดว่าสภาคองเกรสจะอนุมัติแผนการดังกล่าวอย่างเป็นทางการในเร็วๆนี้ และจากนั้นจะส่งให้วุฒิสภาลงมติรับรองในวันที่ 1 ต.ค.ที่จะถึงนี้
หากแผนการดังกล่าวผ่านการอนุมัติอย่างเป็นทางการทั้งจากสภาคองเกรสและวุฒิสภา ก็จะเปิดทางให้คณะทำงานของประธานาธิบดีบุชนำเงินงบประมาณมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์ไปใช้ตามแผนฟื้นฟูภาคการเงิน ซึ่งรวมถึงการเข้าซื้อหนี้เสียของสถาบันการเงินที่ประสบวิกฤติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ส่วนที่เหลือจะนำไปซื้อหนี้เสียของธนาคารอื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตลาดเงินขาดสภาพคล่องรุนแรง
การปฏิเสธแผนฟื้นฟูภาคการเงินของสภาคองเกรส ได้สร้างความวิตกให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐกำลังเผชิญวิกฤตสินเชื่อและภาวะผันผวนในตลาดการเงิน โดยล่าสุดมีรายงานว่าธนาคารวาโชเวียได้ถูกบังคับให้ขายสินทรัพย์ส่วนใหญ่ให้กับซิตี้กรุ๊ปตามข้อตกลงที่มีบรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาลสหรัฐเป็นคนกลาง