ผู้จัดการกองทุน ระบุ แรงกดดันจากปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ไม่ฉุดดัชนีหุ้นไทยหลุด 600 จุด ชี้กระทบจิตวิทยาระยะสั้นเท่านั้น ลุ้นความชัดเจนทางการเมือง หนุนดัชนีรีบาวนด์ ระบุเป็นจังหวะที่ลงทุนได้ แต่ต้องจับจังหวะให้ดี ล่าสุด ลูกค้าเริ่มทยอยลงทุนเพิ่ม มองเป็นโอกาสดีในการเก็บของถูกทั้งในไทยและภูมิภาคเอเชีย เพื่อรับผลตอบแทนที่สูง
นายฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล นักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด หรือ เอวายเอฟ กล่าวว่า สิ่งที่เกิดกับตลาดหุ้นไทยในวันนี้ เป็นผลกระทบจากจิตวิทยาจากปัญหาการล้มละลายของ เลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งหากพิจารณาดูแล้ว ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงมามากแล้วจากปัญหาการเมืองในประเทศ
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า แรงกดดันจากความกังวลที่ว่าจะมีสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาอีกหลายแห่งประสบกับปัญหาสภาพคล่องตามมาอีกนั้น จะไม่ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยลงไปต่ำกว่า 600 จุด และเชื่อว่า ยังเป็นโอกาสที่ดีสำหรับตลาดหุ้นไทย ซึ่งหลังจากนี้ ดัชนีน่าจะรีบาวนด์กลับขึ้นมาได้ และหากบวกกับปัจจัยทางการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น ก็จะเป็นปัจจัยสนับสนุนอีกทาง
“ผลกระทบกับตลาดหุ้นไทย เป็นแค่ช่วงสั้นๆ เท่านั้น ซึ่งในช่วงนี้ จะยังเห็นการเทขายของนักลงทุนต่างชาติ เพื่อนำไปชดเชยผลกระทบเช่นเดียวกับประเทศอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าตลาดปรับลงไปมาก ก็จะส่งผลต่อแวลูเอชั่นของตลาด ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นจังหวะที่น่าลงทุน แต่ต้องจับจังหวะให้ดี เพราะเซนติเมนต์ของตลาดในตอนนี้ยังไม่ดี” นายฐนิตพงศ์ กล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนกองทุนที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศของเอวายเอฟ ไม่มีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ เลห์แมน บราเธอร์ส แต่อย่างใด ซึ่งปัจจัยลบต่างๆ ที่ส่งผลต่อตลาดหุ้นในช่วงนี้ ในส่วนของนักลงทุนเองมีการใส่เงินลงทุนเข้ามาเรื่อยๆ เพราะนักลงทุนเข้าใจว่า การที่ตลาดปรับลดลงนั้น มาจากสาเหตุอะไร ซึ่งในช่วงที่ตลาดแกว่งตัวเช่นนี้ นักลงทุนเองก็ต้องการหามืออาชีพเข้ามาช่วย
นายฐนิตพงศ์ วิเคราะห์ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับ เลห์แมน บราเธอร์ส ไม่ใช่สิ่งที่เหนือความคาดหมาย เพราะตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เราเองรวมถึงนักวิเคราะห์ต่างก็คาดการณ์กันแล้วว่า สถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาจะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ โดยเฉพาะสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่ออกมาโวยวายถึงผลกระทบของปัญหาดังกล่าว ซึ่งสถาบันการเงินเหล่านั้น ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาซับไพรม์จะยังไม่จบที่ เลห์แมน บราเธอร์ส เท่านั้น แต่จะมีออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่องในเร็วๆ นี้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นปัญหาของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ทั้งนั้น เพราะปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบในวงกว้าง
ทั้งนี้ การที่ตลาดเครดิตค่อนข้างขาดสภาพคล่องในปัจจุบัน เชื่อว่า จะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อัดสภาพคล่องเข้ามาในระบบอย่างรุนแรงอีกครั้ง เช่น การปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ขณะเดียวกัน เชื่อว่า เฟดเองจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ถึงแม้จะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาโดยตรง แต่ก็เป็นการลดความรู้สึกของนักลงทุนต่อปัญหาดังกล่าว
ส่วนปัญหาสภาพคล่อง แน่นอนว่า คงลดลงทั่วโลก เพราะในหลายตลาดพอมีปัญหาเครดิตขึ้นมา ก็ทำให้การระดมทุนลำบอกขึ้น เพราะเงินออกมาในตลาดน้อย ซึ่งเรื่องนี้ ต้องอาศัยธนาคารกลางของแต่ละประเทศในการอัดฉีดเงินเข้ามาในระบบ
นายฐนิตพงศ์ กล่าวต่อถึงแนวโน้มราคาน้ำมัน ว่า เร็วๆ นี้ น่าจะเห็นราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล หลังจากที่ผ่านมา ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อนหน้านี้ เราเคยคาดการณ์ไว้แล้วว่าราคาน้ำมันจะต้องปรับตัวลดลงตั้งแต่ปรับขึ้นไปที่ 130 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เพราะถูกกำหนดโดยดีมานด์และซัปพลาย ซึ่งเรามองว่าระดับราคาที่ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลนั้น น่าจะเป็นระดับราคาที่เหมาะสม
ทั้งนี้ จากการรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ธนาคารพาณิชย์ในประเทศมีการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึง CDO (Collateralised Debt Obligation) คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1.02 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเพียง 1.3% ของเงินฝากทั้งระบบที่ 8 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วนการลงทุนใน CDO ที่เกี่ยวข้องกับกับ เลห์แมน บราเธอร์ส นั้น มีมูลค่ารวมประมาณ 4,300 ล้านบาท และการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ประมาณ 5,300 ล้านบาท
สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีการลงทุนใน CDO เช่น ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งคิดเป็นวงเงินประมาณ 3,500 ล้านบาท แต่ธนาคารกรุงเทพ มีการกันเงินสำรองไว้แล้วเต็ม 100% ส่วนธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีเงินลงทุนใน CDO ประมาณ 2,800 ล้านบาท ซึ่งมีการกันสำรองไว้เพียง 51% เท่านั้น
ในขณะที่ ธนาคารกรุงไทย ออกมาเปิดเผยว่า มีสัดส่วนการลงทุนใน CDO ที่เกี่ยวข้องกับเลห์แมน บราเธอร์ส เพียง 1% ของ CDO ที่ถืออยู่ทั้งหมด
นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ยูโอบี (ไทย) เปิดเผยว่า ปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งในกรณีของ เลห์แมน บราเธอร์ส และยังมีสถาบันการเงินแห่งอื่นที่ยังทำท่าว่าจะมีปัญหาตามมาอีกนั้นไม่ได้ทำให้นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ไถ่ถอนหน่วยลงทุนแต่ประการใด อย่างไรก็ตามผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกให้ปรับตัวลดลงมาซึ่งกองทุน FIF ของบริษัทเองก็ปรับตัวลงมาตามภาวะตลาดเช่นเดียวกัน และในช่วงนี้กลับมีลูกค้าเข้ามาลงทุนในกองทุนหุ้นมากขึ้น เพราะมองว่าเป็นจังหวะที่ดีในการลงทุนหลังจากที่ตลาดหุ้นไทยและในภูมิภาคปรับตัวลงมามาก ซึ่งการปรับตัวลงของตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งไทยเป็นผลกระทบทางอ้อมที่เกิดขึ้นในช่วงสั้นมากกว่า โดยเฉพาะในเอเชียและไทยน่าจะมีผลกระทบในวงจำกัด เพราะมีสถาบันการเงินที่ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับเลย์แมน บราเธอส์ค่อนข้างน้อย ในส่วนของกองทุน FIF ของบริษัทก็ไม่มีการลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับ เลห์แมน บราเธอร์ส เลย
“แต่กรณีของ เลห์แมน บราเธอรืส ตลาดค่อนข้างประหลาดใจที่รัฐบาลปล่อยให้ล้ม โดยไม่เข้ามาอุ้มเหมือนสถาบันการเงินที่มีปัญหาก่อนหน้านี้ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเลห์แมน บราเธอร์ส เป็นบริษัทวาณิชธนกิจไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งอาจจะมองว่ามีผลกระทบในวงกว้างน้อย อีกทั้งใกล้การเลือกตั้งของสหรัฐฯการจะนำเงินภาษีมาอุ้มสถาบันการเงินลักษณะนี้อาจจะดูไม่เหมาะนัก”
นายฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล นักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด หรือ เอวายเอฟ กล่าวว่า สิ่งที่เกิดกับตลาดหุ้นไทยในวันนี้ เป็นผลกระทบจากจิตวิทยาจากปัญหาการล้มละลายของ เลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งหากพิจารณาดูแล้ว ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงมามากแล้วจากปัญหาการเมืองในประเทศ
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า แรงกดดันจากความกังวลที่ว่าจะมีสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาอีกหลายแห่งประสบกับปัญหาสภาพคล่องตามมาอีกนั้น จะไม่ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยลงไปต่ำกว่า 600 จุด และเชื่อว่า ยังเป็นโอกาสที่ดีสำหรับตลาดหุ้นไทย ซึ่งหลังจากนี้ ดัชนีน่าจะรีบาวนด์กลับขึ้นมาได้ และหากบวกกับปัจจัยทางการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น ก็จะเป็นปัจจัยสนับสนุนอีกทาง
“ผลกระทบกับตลาดหุ้นไทย เป็นแค่ช่วงสั้นๆ เท่านั้น ซึ่งในช่วงนี้ จะยังเห็นการเทขายของนักลงทุนต่างชาติ เพื่อนำไปชดเชยผลกระทบเช่นเดียวกับประเทศอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าตลาดปรับลงไปมาก ก็จะส่งผลต่อแวลูเอชั่นของตลาด ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นจังหวะที่น่าลงทุน แต่ต้องจับจังหวะให้ดี เพราะเซนติเมนต์ของตลาดในตอนนี้ยังไม่ดี” นายฐนิตพงศ์ กล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนกองทุนที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศของเอวายเอฟ ไม่มีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ เลห์แมน บราเธอร์ส แต่อย่างใด ซึ่งปัจจัยลบต่างๆ ที่ส่งผลต่อตลาดหุ้นในช่วงนี้ ในส่วนของนักลงทุนเองมีการใส่เงินลงทุนเข้ามาเรื่อยๆ เพราะนักลงทุนเข้าใจว่า การที่ตลาดปรับลดลงนั้น มาจากสาเหตุอะไร ซึ่งในช่วงที่ตลาดแกว่งตัวเช่นนี้ นักลงทุนเองก็ต้องการหามืออาชีพเข้ามาช่วย
นายฐนิตพงศ์ วิเคราะห์ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับ เลห์แมน บราเธอร์ส ไม่ใช่สิ่งที่เหนือความคาดหมาย เพราะตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เราเองรวมถึงนักวิเคราะห์ต่างก็คาดการณ์กันแล้วว่า สถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาจะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ โดยเฉพาะสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่ออกมาโวยวายถึงผลกระทบของปัญหาดังกล่าว ซึ่งสถาบันการเงินเหล่านั้น ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาซับไพรม์จะยังไม่จบที่ เลห์แมน บราเธอร์ส เท่านั้น แต่จะมีออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่องในเร็วๆ นี้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นปัญหาของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ทั้งนั้น เพราะปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบในวงกว้าง
ทั้งนี้ การที่ตลาดเครดิตค่อนข้างขาดสภาพคล่องในปัจจุบัน เชื่อว่า จะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อัดสภาพคล่องเข้ามาในระบบอย่างรุนแรงอีกครั้ง เช่น การปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ขณะเดียวกัน เชื่อว่า เฟดเองจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ถึงแม้จะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาโดยตรง แต่ก็เป็นการลดความรู้สึกของนักลงทุนต่อปัญหาดังกล่าว
ส่วนปัญหาสภาพคล่อง แน่นอนว่า คงลดลงทั่วโลก เพราะในหลายตลาดพอมีปัญหาเครดิตขึ้นมา ก็ทำให้การระดมทุนลำบอกขึ้น เพราะเงินออกมาในตลาดน้อย ซึ่งเรื่องนี้ ต้องอาศัยธนาคารกลางของแต่ละประเทศในการอัดฉีดเงินเข้ามาในระบบ
นายฐนิตพงศ์ กล่าวต่อถึงแนวโน้มราคาน้ำมัน ว่า เร็วๆ นี้ น่าจะเห็นราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล หลังจากที่ผ่านมา ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อนหน้านี้ เราเคยคาดการณ์ไว้แล้วว่าราคาน้ำมันจะต้องปรับตัวลดลงตั้งแต่ปรับขึ้นไปที่ 130 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เพราะถูกกำหนดโดยดีมานด์และซัปพลาย ซึ่งเรามองว่าระดับราคาที่ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลนั้น น่าจะเป็นระดับราคาที่เหมาะสม
ทั้งนี้ จากการรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ธนาคารพาณิชย์ในประเทศมีการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึง CDO (Collateralised Debt Obligation) คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1.02 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเพียง 1.3% ของเงินฝากทั้งระบบที่ 8 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วนการลงทุนใน CDO ที่เกี่ยวข้องกับกับ เลห์แมน บราเธอร์ส นั้น มีมูลค่ารวมประมาณ 4,300 ล้านบาท และการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ประมาณ 5,300 ล้านบาท
สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีการลงทุนใน CDO เช่น ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งคิดเป็นวงเงินประมาณ 3,500 ล้านบาท แต่ธนาคารกรุงเทพ มีการกันเงินสำรองไว้แล้วเต็ม 100% ส่วนธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีเงินลงทุนใน CDO ประมาณ 2,800 ล้านบาท ซึ่งมีการกันสำรองไว้เพียง 51% เท่านั้น
ในขณะที่ ธนาคารกรุงไทย ออกมาเปิดเผยว่า มีสัดส่วนการลงทุนใน CDO ที่เกี่ยวข้องกับเลห์แมน บราเธอร์ส เพียง 1% ของ CDO ที่ถืออยู่ทั้งหมด
นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ยูโอบี (ไทย) เปิดเผยว่า ปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งในกรณีของ เลห์แมน บราเธอร์ส และยังมีสถาบันการเงินแห่งอื่นที่ยังทำท่าว่าจะมีปัญหาตามมาอีกนั้นไม่ได้ทำให้นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ไถ่ถอนหน่วยลงทุนแต่ประการใด อย่างไรก็ตามผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกให้ปรับตัวลดลงมาซึ่งกองทุน FIF ของบริษัทเองก็ปรับตัวลงมาตามภาวะตลาดเช่นเดียวกัน และในช่วงนี้กลับมีลูกค้าเข้ามาลงทุนในกองทุนหุ้นมากขึ้น เพราะมองว่าเป็นจังหวะที่ดีในการลงทุนหลังจากที่ตลาดหุ้นไทยและในภูมิภาคปรับตัวลงมามาก ซึ่งการปรับตัวลงของตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งไทยเป็นผลกระทบทางอ้อมที่เกิดขึ้นในช่วงสั้นมากกว่า โดยเฉพาะในเอเชียและไทยน่าจะมีผลกระทบในวงจำกัด เพราะมีสถาบันการเงินที่ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับเลย์แมน บราเธอส์ค่อนข้างน้อย ในส่วนของกองทุน FIF ของบริษัทก็ไม่มีการลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับ เลห์แมน บราเธอร์ส เลย
“แต่กรณีของ เลห์แมน บราเธอรืส ตลาดค่อนข้างประหลาดใจที่รัฐบาลปล่อยให้ล้ม โดยไม่เข้ามาอุ้มเหมือนสถาบันการเงินที่มีปัญหาก่อนหน้านี้ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเลห์แมน บราเธอร์ส เป็นบริษัทวาณิชธนกิจไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งอาจจะมองว่ามีผลกระทบในวงกว้างน้อย อีกทั้งใกล้การเลือกตั้งของสหรัฐฯการจะนำเงินภาษีมาอุ้มสถาบันการเงินลักษณะนี้อาจจะดูไม่เหมาะนัก”