ฟิทช์ เก็บข้อมูลประเมินอันดับเครดิตประเทศไทยใหม่ ระบุ การเมืองวุ่นวายอาจส่งผลทางอ้อมต่อเศรษฐกิจและความสามารถในการชำระหนี้ บิ๊ก สบน.ภาวนาการเมืองไม่บานปลาย เรตติ้งจะยังทรงตัว
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การเมืองที่มีความวุ่นวาย และภาวะเศรษฐกิจไทยที่เริ่มมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามากระทบทำให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งด้านความเสี่ยงด้านรายได้จากการท่องเที่ยว รวมถึงการลงทุนที่เริ่มชะลอตัวลง ซึ่งอาจกระทบกับความสามารถในการชำหนี้ในอนาคต ทำให้เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เดินทางมาเก็บข้อมูลที่กระทรวงการคลังแล้วเป็นรายแรก เพื่อทบทวนการจัดอันดับความน่าสนในลงทุนของไทยใหม่จากที่ปัจจุบันอยู่ในระดับคงที่ BBB+ มาตั้งแต่ไทยมีการปฏิวัติ
สำหรับการประเมินอันดับแครดิตใหม่นั้น มองว่า การเมืองเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นที่ไม่ได้มีน้ำหนักมากพอ โดยสถาบันจัดอันดับจะมองที่ความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตของไทยมากกว่า ซึ่งการเมืองอาจมีผลกระทบทางอ้อม เช่น กระทบความเชื่อมั่น ส่งผลต่อการลงทุน การท่องเที่ยว และรายได้ที่เข้าประเทศ แต่ปัจจุบันไทยยังมีความแข็งแกร่งด้านเงินทุนสำรองทางการ และการส่งออกยังขยายตัวดีมีรายได้เข้าประเทศจำนวนมากเงิน
ขณะที่ภาระหนี้ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 37% แม้ปี 2552 จะเพิ่มเป็น 38.5% ก็ยังห่างจากเพดานหนี้ที่กำหนดไว้ 50% ของจีดีพี โดยในอีก 3-4 ปีนี้การก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งลงทุน โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจกต์ไม่ทำให้สัดส่วนหนี้เกิน 40% ต่อจีดีพี จึงเชื่อว่า อันดับความน่าเชื่อถือของไทยไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางลบโดยน่าจะทรงตัวมากกว่า
“ต้นทุนการกู้เงินที่เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ไม่ได้เป็นผลมาจากภาวะการเมืองในปัจจุบัน แต่เป็นผลมาจากปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินและเศรษฐกิจโดยรวม และดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นทำให้ต้นทุนการกู้เงินของทุกประเทศเพิ่มขึ้นไม่เฉพาะไทยประเทศเดียว แต่เราสามารถบริหารต้นทุนโดยการเปลี่ยนไปกู้เงินจากแหล่งอื่นได้แทนการกู้จากตลาดเงินหรือตลาดพันธบัตร เช่น เจบิก หรือองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ที่ยังพร้อมสนับสนุนเงินกู้ให้ไทย” รอง ผอ.สบน.กล่าว
ทั้งนี้ ฟิทช์ ออกมาระบุว่า หากในอนาคตสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย มีความรุนแรงมากขึ้น ก็อาจจะทบทวนปรับอันดับประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งเร็วกว่าปกติที่จะมีการรีวิวในช่วงไตรมาส 1 ปี 2009 โดยมองว่า ปัจจัยลบทางการเมือง โดยเฉพาะหากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างมาก และมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกประเทศมากขึ้น หรืออาจเกิดจากนโยบายทางเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอน โดยฟิทซ์มองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 51 น่าจะขยายตัว 4.6% จากเดิมที่คาดว่าจะโต 5% และคาดว่า ปี 2552 เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวประมาณ 4.8%
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การเมืองที่มีความวุ่นวาย และภาวะเศรษฐกิจไทยที่เริ่มมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามากระทบทำให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งด้านความเสี่ยงด้านรายได้จากการท่องเที่ยว รวมถึงการลงทุนที่เริ่มชะลอตัวลง ซึ่งอาจกระทบกับความสามารถในการชำหนี้ในอนาคต ทำให้เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เดินทางมาเก็บข้อมูลที่กระทรวงการคลังแล้วเป็นรายแรก เพื่อทบทวนการจัดอันดับความน่าสนในลงทุนของไทยใหม่จากที่ปัจจุบันอยู่ในระดับคงที่ BBB+ มาตั้งแต่ไทยมีการปฏิวัติ
สำหรับการประเมินอันดับแครดิตใหม่นั้น มองว่า การเมืองเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นที่ไม่ได้มีน้ำหนักมากพอ โดยสถาบันจัดอันดับจะมองที่ความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตของไทยมากกว่า ซึ่งการเมืองอาจมีผลกระทบทางอ้อม เช่น กระทบความเชื่อมั่น ส่งผลต่อการลงทุน การท่องเที่ยว และรายได้ที่เข้าประเทศ แต่ปัจจุบันไทยยังมีความแข็งแกร่งด้านเงินทุนสำรองทางการ และการส่งออกยังขยายตัวดีมีรายได้เข้าประเทศจำนวนมากเงิน
ขณะที่ภาระหนี้ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 37% แม้ปี 2552 จะเพิ่มเป็น 38.5% ก็ยังห่างจากเพดานหนี้ที่กำหนดไว้ 50% ของจีดีพี โดยในอีก 3-4 ปีนี้การก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งลงทุน โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจกต์ไม่ทำให้สัดส่วนหนี้เกิน 40% ต่อจีดีพี จึงเชื่อว่า อันดับความน่าเชื่อถือของไทยไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางลบโดยน่าจะทรงตัวมากกว่า
“ต้นทุนการกู้เงินที่เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ไม่ได้เป็นผลมาจากภาวะการเมืองในปัจจุบัน แต่เป็นผลมาจากปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินและเศรษฐกิจโดยรวม และดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นทำให้ต้นทุนการกู้เงินของทุกประเทศเพิ่มขึ้นไม่เฉพาะไทยประเทศเดียว แต่เราสามารถบริหารต้นทุนโดยการเปลี่ยนไปกู้เงินจากแหล่งอื่นได้แทนการกู้จากตลาดเงินหรือตลาดพันธบัตร เช่น เจบิก หรือองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ที่ยังพร้อมสนับสนุนเงินกู้ให้ไทย” รอง ผอ.สบน.กล่าว
ทั้งนี้ ฟิทช์ ออกมาระบุว่า หากในอนาคตสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย มีความรุนแรงมากขึ้น ก็อาจจะทบทวนปรับอันดับประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งเร็วกว่าปกติที่จะมีการรีวิวในช่วงไตรมาส 1 ปี 2009 โดยมองว่า ปัจจัยลบทางการเมือง โดยเฉพาะหากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างมาก และมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกประเทศมากขึ้น หรืออาจเกิดจากนโยบายทางเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอน โดยฟิทซ์มองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 51 น่าจะขยายตัว 4.6% จากเดิมที่คาดว่าจะโต 5% และคาดว่า ปี 2552 เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวประมาณ 4.8%