ธปท.ปรับกลยุทธ์ออกบอนด์ใหม่ภายใต้ตลาดการเงินโลกที่ผันผวน ระบุเน้นออกถี่ แต่มูลค่าของขนาดลดลง แต่ยังคงดูแลไม่ให้ออกมาเยอะจนบิดเบือนตลาด ย้ำหากในอนาคตตลาดการเงินตึงตัวจริงด้วยเหตุภาคธุรกิจหันมากู้แบงก์ในประเทศมากขึ้น หลังจากต้นทุนกู้เงินต่างชาติสูง
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากปัญหาการเงินของสหรัฐเกิดวิกฤตขึ้น ธปท.ได้มีการปรับกลยุทธ์ในการออกพันธบัตรใหม่ โดยจะเน้นออกให้ถี่ขึ้น และจะลดขนาดหรือมูลค่าลงในแต่ละครั้งตามทิศทางที่เปลี่ยนไป จากปัจจุบันอายุพันธบัตรธปท.ส่วนใหญ่อยู่ที่ 14 วัน ถึง 3 ปี อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่จำเป็นที่ต้องออกพันธบัตรมามาก เพื่อดูดซับสภาพคล่อง แต่จะดูความเหมาะสมและทิศทางของภาวะตลาดเป็นสำคัญ
"แบงก์ชาติไม่ได้ออกพันธบัตรมาเยอะ จนบิดเบือนตลาด อย่างไรก็ตามหากในอนาคตตลาดการเงินมีความตึงตัวมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ต้นทุนการระดมทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจหันมาขอกู้ผ่านแบงก์พาณิชย์ในประเทศมากขึ้น หรือสุดท้ายแล้วความต้องการซื้อพันธบัตรในอนาคตลดลง แต่เราจะออกให้เหมาะสมกับภาวะตลาด จึงมองว่าสภาพคล่องเงินบาทในระบบขณะนี้ยังไม่มีปัญหาอะไร และยังเพียงพออยู่ ซึ่งเราเองก็มีการติดตามอยู่ทุกวัน โดยหากช่วงใดสภาพคล่องเงินบาทลดลงธปท.ก็พร้อมจะอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ"
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปัจจุบันกฎหมายฉบับใหม่ระบุให้ธปท.ไม่ต้องขออนุมัติวงเงินออกพันธบัตรในแต่ละปีจากกระทรวงการคลัง แต่การออกพันธบัตรของธปท.แต่ละครั้งจะต้องมีการหารือไปยังสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เพื่อไม่ให้พันธบัตรออกสู่ระบบมีมากจนเกินไปและไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ด้วย ถือเป็นระเบียบทั่วไปในการออกตราสารหนี้ของภาครัฐที่ต้องประสานกัน
สำหรับยอดคงค้างตราสารหนี้ในระบบล่าสุดในสิ้นเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 3.98 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นพันธบัตรธปท. 1.49 ล้านล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลจำนวน 1.83 ล้านล้านบาท พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 3.73 แสนล้านบาท พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.67 แสนล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 1.2 แสนล้านบาท และหุ้นกู้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอีก 650 ล้านบาท
นอกจากนี้ ธปท.ยังมีการเปิดประมูลพันธบัตรธปท.อีกจำนวน 8.6 หมื่นล้านบาท สำหรับเดือนกันยายน ซึ่งอายุพันธบัตรมีทั้ง 63 วัน 329 วัน 1 ปี 2 ปี 2.87 ปี 2.79 ปี ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วส่วนใหญ่จะออกพันธบัตรอายุประมาณ 14 วัน
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากปัญหาการเงินของสหรัฐเกิดวิกฤตขึ้น ธปท.ได้มีการปรับกลยุทธ์ในการออกพันธบัตรใหม่ โดยจะเน้นออกให้ถี่ขึ้น และจะลดขนาดหรือมูลค่าลงในแต่ละครั้งตามทิศทางที่เปลี่ยนไป จากปัจจุบันอายุพันธบัตรธปท.ส่วนใหญ่อยู่ที่ 14 วัน ถึง 3 ปี อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่จำเป็นที่ต้องออกพันธบัตรมามาก เพื่อดูดซับสภาพคล่อง แต่จะดูความเหมาะสมและทิศทางของภาวะตลาดเป็นสำคัญ
"แบงก์ชาติไม่ได้ออกพันธบัตรมาเยอะ จนบิดเบือนตลาด อย่างไรก็ตามหากในอนาคตตลาดการเงินมีความตึงตัวมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ต้นทุนการระดมทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจหันมาขอกู้ผ่านแบงก์พาณิชย์ในประเทศมากขึ้น หรือสุดท้ายแล้วความต้องการซื้อพันธบัตรในอนาคตลดลง แต่เราจะออกให้เหมาะสมกับภาวะตลาด จึงมองว่าสภาพคล่องเงินบาทในระบบขณะนี้ยังไม่มีปัญหาอะไร และยังเพียงพออยู่ ซึ่งเราเองก็มีการติดตามอยู่ทุกวัน โดยหากช่วงใดสภาพคล่องเงินบาทลดลงธปท.ก็พร้อมจะอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ"
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปัจจุบันกฎหมายฉบับใหม่ระบุให้ธปท.ไม่ต้องขออนุมัติวงเงินออกพันธบัตรในแต่ละปีจากกระทรวงการคลัง แต่การออกพันธบัตรของธปท.แต่ละครั้งจะต้องมีการหารือไปยังสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เพื่อไม่ให้พันธบัตรออกสู่ระบบมีมากจนเกินไปและไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ด้วย ถือเป็นระเบียบทั่วไปในการออกตราสารหนี้ของภาครัฐที่ต้องประสานกัน
สำหรับยอดคงค้างตราสารหนี้ในระบบล่าสุดในสิ้นเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 3.98 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นพันธบัตรธปท. 1.49 ล้านล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลจำนวน 1.83 ล้านล้านบาท พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 3.73 แสนล้านบาท พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.67 แสนล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 1.2 แสนล้านบาท และหุ้นกู้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอีก 650 ล้านบาท
นอกจากนี้ ธปท.ยังมีการเปิดประมูลพันธบัตรธปท.อีกจำนวน 8.6 หมื่นล้านบาท สำหรับเดือนกันยายน ซึ่งอายุพันธบัตรมีทั้ง 63 วัน 329 วัน 1 ปี 2 ปี 2.87 ปี 2.79 ปี ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วส่วนใหญ่จะออกพันธบัตรอายุประมาณ 14 วัน