ภาคธุรกิจเอกชนฟังไว้ รัฐบาลจะยังไม่ประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หมอเลี้ยบบอกรอให้ความรุนแรงลดลงก่อน ยอมให้จีดีพีปีนี้ไม่ถึงเป้าหมาย 6% ไม่รู้ว่าเป็นตัวปัญหา อ้างการเมืองกระทบจนควบคุมไม่ได้ เพ้อทำประชามติให้รากหญ้ามีส่วนร่วมแก้ปัญหา
นพ.สุรพงศ์ สืบวงศ์ลี รักษาการ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวถึงการบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่า รัฐบาลยังไม่ประกาศยกเลิกในตอนนี้ การยกเลิกต้องขึ้นกับสถานการณ์ หากความกังวลเรื่องความเผชิญหน้าและการใช้ความรุนแรงลดลงก็จะมีการพิจารณาในเรื่องนี้
"ยังไม่ใช่ 1-2 วันนี้ หรือเร็วๆ นี้ การจะยกเลิกขึ้นกับ (รักษาการ) รองนายกฯ สมชาย (วงศ์สวัสดิ์)" นพ.สุรพงษ์กล่าว
เมื่อวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา ผลการประชุมของสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เรียกร้องให้ภาครัฐยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด หากปัญหายังยืดเยื้ออยู่ถึงสิ้นปีนี้จะมีผลกระทบต่อภาคส่งออกไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท (ไม่รวมกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว)
การพูดคุยในที่ประชุมฯ ยังเห็นว่า หากสภาเลือกนายสมัคร สุนทรเวช กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี จะไม่สามารถยุติปัญหาได้
นพ.สุรพงษ์ยังกล่าวถึงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยปีนี้ ว่า อาจเติบโตไม่ถึง 6% ตามเป้าหมาย เนื่องจากปัญหาทางการเมืองในขณะนี้มีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ไม่สามารถคลี่คลายลงได้ในช่วงเวลาสั้นๆ รัฐบาลไม่สามาถรถแก้ปัญหาได้เพียงฝ่ายเดียว ขอเรียกร้องให้คนไทยทุกคนที่ต้องการเห็นบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ มีกฎกติกาให้เป็นที่ยอมรับ ทั้งประชาชน และต่างชาติ มีความมั่นใจและกลับมายอมรับในสังคมไทย
"ต้องการให้ประชาชนและสังคมมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในการแสดงความคิดเห็น ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นหากยังยืดเยื้อต่อไปย่อมกระทบต่อการลงทุนอย่างแน่นอน ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลต้องการให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังขยายตัวได้จากความเชื่อมั่นและการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวขึ้นตามการลงทุนของภาครัฐในโครงการเมกะโปรเจกต์"
นพ.สุรพงษ์อ้างด้วยว่า ความเห็นทางการเมืองขณะนี้อยู่กับกลุ่มผู้มีโอกาสพูดกับสื่อเท่านั้น แต่คนไทยส่วนใหญ่มีโอกาสน้อยที่จะพูด ซึ่งการลงประชามติเป็นทางออกทางหนึ่ง ที่จะให้ประชาชนออกมาแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ และเป็นการแสดงออกให้เกิดพลัง
อย่างไรก็ตาม การลงประชามติและการยุบสภายังไม่ใช่ทางออก หากยังมีการชุมนุมและมีกลุ่มผู้ไม่ยอมรับ เพราะเห็นได้ว่าแกนนำผู้ชุมนุมยังออกมาแสดงความคิดเห็นไม่สนับสนุนทั้งการยุบสภาหรือการลงประชามติ ซึ่งขณะนี้ผู้ชุมนุมไม่มีเป้าหมายในการชุมนุม
นพ.สุรพงศ์ สืบวงศ์ลี รักษาการ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวถึงการบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่า รัฐบาลยังไม่ประกาศยกเลิกในตอนนี้ การยกเลิกต้องขึ้นกับสถานการณ์ หากความกังวลเรื่องความเผชิญหน้าและการใช้ความรุนแรงลดลงก็จะมีการพิจารณาในเรื่องนี้
"ยังไม่ใช่ 1-2 วันนี้ หรือเร็วๆ นี้ การจะยกเลิกขึ้นกับ (รักษาการ) รองนายกฯ สมชาย (วงศ์สวัสดิ์)" นพ.สุรพงษ์กล่าว
เมื่อวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา ผลการประชุมของสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เรียกร้องให้ภาครัฐยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด หากปัญหายังยืดเยื้ออยู่ถึงสิ้นปีนี้จะมีผลกระทบต่อภาคส่งออกไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท (ไม่รวมกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว)
การพูดคุยในที่ประชุมฯ ยังเห็นว่า หากสภาเลือกนายสมัคร สุนทรเวช กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี จะไม่สามารถยุติปัญหาได้
นพ.สุรพงษ์ยังกล่าวถึงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยปีนี้ ว่า อาจเติบโตไม่ถึง 6% ตามเป้าหมาย เนื่องจากปัญหาทางการเมืองในขณะนี้มีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ไม่สามารถคลี่คลายลงได้ในช่วงเวลาสั้นๆ รัฐบาลไม่สามาถรถแก้ปัญหาได้เพียงฝ่ายเดียว ขอเรียกร้องให้คนไทยทุกคนที่ต้องการเห็นบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ มีกฎกติกาให้เป็นที่ยอมรับ ทั้งประชาชน และต่างชาติ มีความมั่นใจและกลับมายอมรับในสังคมไทย
"ต้องการให้ประชาชนและสังคมมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในการแสดงความคิดเห็น ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นหากยังยืดเยื้อต่อไปย่อมกระทบต่อการลงทุนอย่างแน่นอน ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลต้องการให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังขยายตัวได้จากความเชื่อมั่นและการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวขึ้นตามการลงทุนของภาครัฐในโครงการเมกะโปรเจกต์"
นพ.สุรพงษ์อ้างด้วยว่า ความเห็นทางการเมืองขณะนี้อยู่กับกลุ่มผู้มีโอกาสพูดกับสื่อเท่านั้น แต่คนไทยส่วนใหญ่มีโอกาสน้อยที่จะพูด ซึ่งการลงประชามติเป็นทางออกทางหนึ่ง ที่จะให้ประชาชนออกมาแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ และเป็นการแสดงออกให้เกิดพลัง
อย่างไรก็ตาม การลงประชามติและการยุบสภายังไม่ใช่ทางออก หากยังมีการชุมนุมและมีกลุ่มผู้ไม่ยอมรับ เพราะเห็นได้ว่าแกนนำผู้ชุมนุมยังออกมาแสดงความคิดเห็นไม่สนับสนุนทั้งการยุบสภาหรือการลงประชามติ ซึ่งขณะนี้ผู้ชุมนุมไม่มีเป้าหมายในการชุมนุม