PICNI แจงการใช้ราคาพาร์ ฟ้องคดีเพื่อขอคืนหุ้น WGT เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท อ้าง ณ วันที่ฟ้องคดีราคาหุ้น WGT อยู่ที่ 92.30 บาท พาร์ละ 100 บาทต่อ 1 หุ้น ถือเป็นราคาที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชี ยันการฟ้องร้องผ่านมติบอร์ด ขณะที่ความสมเหตุสมผลฝ่ายจัดการและกฎหมายพิจารณาเห็นชอบ
นายสุเทพ อัคควุฒิไกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (PICNI ) ชี้แจงเรื่องการฟ้องร้องคดีการขอคืนหุ้นบริษัท เวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด (WGT ) บริษัทชี้แจง ดังนี้
1. ให้บริษัทระบุปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่าของหุ้นเวิลด์แก๊สที่เปลี่ยนแปลงไปจากวันที่บริษัทเข้าซื้อราคา 1,011 ล้านบาท เมื่อบริษัทถูกบังคับโอนหุ้น และต่อมาบริษัทได้ฟ้องร้องขอคืนหุ้นเวิลด์แก๊สโดยให้ AMC ชำระเป็นเงิน 774,999,400 บาท หาก บริษัท แอ๊สเซ็ท มิลเลี่ยน จำกัด (AMC) ไม่สามารถคืนหุ้นเวิลด์แก๊สแก่บริษัทได้ ซึ่งมีมูลค่าหุ้นต่ำกว่าราคาที่บริษัทซื้อประมาณ 236 ล้านบาท
บริษัทแจงว่า ณ วันฟ้องคดี บริษัทมิได้ประเมินผลกระทบต่อมูลค่าของหุ้นเวิลด์แก๊สที่เปลี่ยนแปลงไปจากวันที่บริษัทเข้าซื้อ เนื่องจาก ณ วันฟ้องคดีดังกล่าว เวิลด์แก๊ส ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท ซึ่งบริษัทไม่อาจได้รับความร่วมมือจาก AMC ในการประเมินมูลค่ากิจการ ประกอบกับตามกฎหมายภาระการพิสูจน์จะตกแก่บริษัท ซึ่งโจทก์ฟ้องคดีที่จะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นถึงความเสียหายที่บริษัทได้รับ โดยอาศัยพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักและเชื่อถือได้ เพราะงบดุลที่เวิลด์แก๊สยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าตามบัญชีของเวิลด์แก๊ส ณ วันที่บริษัทฟ้องคดี ปรากฎตามงบดุลของเวิลด์แก๊ส สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ที่แสดงไว้คือ 738,354,886 บาท (หรือ 92.3 บาทต่อหุ้น) และมูลค่าหุ้นของเวิลด์แก๊สที่ตราไว้ (ราคาพาร์) มีราคา 100 บาทต่อ 1 หุ้น และเป็นราคาที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชี ดังนั้น เพื่อประโยชน์สูงสุดที่บริษัทพึงได้รับ จึงใช้ราคาพาร์ของหุ้นเวิลด์แก๊สในการฟ้องคดี จึงเป็นที่มาของการที่บริษัท ขอให้ AMC ชำระเป็นเงิน 774,999,400 บาท หากไม่สามารถคืนหุ้นเวิลด์แก๊สแก่บริษัทได้
2. บริษัทมีวิธีในการประเมินมูลค่าหุ้นของเวิลด์แก๊สอย่างไร จึงได้กำหนดให้ AMC ชำระเป็นเงิน 774,999,400 บาท หาก AMC ไม่สามารถคืนหุ้นเวิลด์แก๊สแก่บริษัทได้ หากบริษัทไม่ได้ประเมินมูลค่ากิจการโดยวิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสด ให้อธิบายว่าเหตุใดจึงไม่ใช้วิธีดังกล่าว ในขณะที่การเข้าซื้อหุ้นของเวิลด์แก๊สบริษัทเลือกใช้วิธีนี้ในการประเมินมูลค่ากิจการ บริษัทแจงว่า ด้วยเหตุผลเดียวกันกับที่บริษัทได้เรียนอธิบายให้ทราบตามข้อ 1.
3. สรุปฐานะการเงินและผลการดำเนินการของเวิลด์แก๊สตั้งแต่ปี 2547-2550 ซึ่งงบล่าสุดปี 50 ตรวจสอบพบว่ารายการขายมี 6,531,126,545 บ าท ต้นทุนขายติดลบ 6,101,599,288 บาท ค่าใช้จ่ายขายและบริหารติดลบ 571,925,197 บาท ดอกเบี้ยจ่ายติดลบ 29,760,341 บาท กำไรสุทธิ 101,998,629 มีสินทรัพย์รวม 2,132,626,81 บาท หนี้สินรวม 1,394,271,932 บาท และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 800 ล้านบาท หุ้นสามัญ 8 ล้านหุ้น พาร์ 100 บาท โดยมีกำไรสะสมติดลบ 61,645,114 บาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 738,354,886 บาท ขณะที่มี มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น 92.3 บาท
4. รายการดังกล่าวผ่านมติคณะกรรมการบริษัทหรือไม่ บริษัทแจ้งว่า รายการดังกล่าวเป็นไปตามมติบอร์ด ครั้งที่ 11/2551 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 และ ครั้งที่ 13/2551 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม2551 ซึ่งบอร์ดได้มีมติให้ฟ้องคดี ส่วนความเหมาะสมของมูลค่าหุ้นเวิลด์แก๊สและความสมเหตุสมผลของรายการ บอร์ดมิได้พิจารณา จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายจัดการในการที่จะประสานงานกับฝ่ายกฎหมายเพื่อพิจารณาดำเนินการ
นายสุเทพ อัคควุฒิไกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (PICNI ) ชี้แจงเรื่องการฟ้องร้องคดีการขอคืนหุ้นบริษัท เวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด (WGT ) บริษัทชี้แจง ดังนี้
1. ให้บริษัทระบุปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่าของหุ้นเวิลด์แก๊สที่เปลี่ยนแปลงไปจากวันที่บริษัทเข้าซื้อราคา 1,011 ล้านบาท เมื่อบริษัทถูกบังคับโอนหุ้น และต่อมาบริษัทได้ฟ้องร้องขอคืนหุ้นเวิลด์แก๊สโดยให้ AMC ชำระเป็นเงิน 774,999,400 บาท หาก บริษัท แอ๊สเซ็ท มิลเลี่ยน จำกัด (AMC) ไม่สามารถคืนหุ้นเวิลด์แก๊สแก่บริษัทได้ ซึ่งมีมูลค่าหุ้นต่ำกว่าราคาที่บริษัทซื้อประมาณ 236 ล้านบาท
บริษัทแจงว่า ณ วันฟ้องคดี บริษัทมิได้ประเมินผลกระทบต่อมูลค่าของหุ้นเวิลด์แก๊สที่เปลี่ยนแปลงไปจากวันที่บริษัทเข้าซื้อ เนื่องจาก ณ วันฟ้องคดีดังกล่าว เวิลด์แก๊ส ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท ซึ่งบริษัทไม่อาจได้รับความร่วมมือจาก AMC ในการประเมินมูลค่ากิจการ ประกอบกับตามกฎหมายภาระการพิสูจน์จะตกแก่บริษัท ซึ่งโจทก์ฟ้องคดีที่จะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นถึงความเสียหายที่บริษัทได้รับ โดยอาศัยพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักและเชื่อถือได้ เพราะงบดุลที่เวิลด์แก๊สยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าตามบัญชีของเวิลด์แก๊ส ณ วันที่บริษัทฟ้องคดี ปรากฎตามงบดุลของเวิลด์แก๊ส สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ที่แสดงไว้คือ 738,354,886 บาท (หรือ 92.3 บาทต่อหุ้น) และมูลค่าหุ้นของเวิลด์แก๊สที่ตราไว้ (ราคาพาร์) มีราคา 100 บาทต่อ 1 หุ้น และเป็นราคาที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชี ดังนั้น เพื่อประโยชน์สูงสุดที่บริษัทพึงได้รับ จึงใช้ราคาพาร์ของหุ้นเวิลด์แก๊สในการฟ้องคดี จึงเป็นที่มาของการที่บริษัท ขอให้ AMC ชำระเป็นเงิน 774,999,400 บาท หากไม่สามารถคืนหุ้นเวิลด์แก๊สแก่บริษัทได้
2. บริษัทมีวิธีในการประเมินมูลค่าหุ้นของเวิลด์แก๊สอย่างไร จึงได้กำหนดให้ AMC ชำระเป็นเงิน 774,999,400 บาท หาก AMC ไม่สามารถคืนหุ้นเวิลด์แก๊สแก่บริษัทได้ หากบริษัทไม่ได้ประเมินมูลค่ากิจการโดยวิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสด ให้อธิบายว่าเหตุใดจึงไม่ใช้วิธีดังกล่าว ในขณะที่การเข้าซื้อหุ้นของเวิลด์แก๊สบริษัทเลือกใช้วิธีนี้ในการประเมินมูลค่ากิจการ บริษัทแจงว่า ด้วยเหตุผลเดียวกันกับที่บริษัทได้เรียนอธิบายให้ทราบตามข้อ 1.
3. สรุปฐานะการเงินและผลการดำเนินการของเวิลด์แก๊สตั้งแต่ปี 2547-2550 ซึ่งงบล่าสุดปี 50 ตรวจสอบพบว่ารายการขายมี 6,531,126,545 บ าท ต้นทุนขายติดลบ 6,101,599,288 บาท ค่าใช้จ่ายขายและบริหารติดลบ 571,925,197 บาท ดอกเบี้ยจ่ายติดลบ 29,760,341 บาท กำไรสุทธิ 101,998,629 มีสินทรัพย์รวม 2,132,626,81 บาท หนี้สินรวม 1,394,271,932 บาท และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 800 ล้านบาท หุ้นสามัญ 8 ล้านหุ้น พาร์ 100 บาท โดยมีกำไรสะสมติดลบ 61,645,114 บาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 738,354,886 บาท ขณะที่มี มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น 92.3 บาท
4. รายการดังกล่าวผ่านมติคณะกรรมการบริษัทหรือไม่ บริษัทแจ้งว่า รายการดังกล่าวเป็นไปตามมติบอร์ด ครั้งที่ 11/2551 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 และ ครั้งที่ 13/2551 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม2551 ซึ่งบอร์ดได้มีมติให้ฟ้องคดี ส่วนความเหมาะสมของมูลค่าหุ้นเวิลด์แก๊สและความสมเหตุสมผลของรายการ บอร์ดมิได้พิจารณา จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายจัดการในการที่จะประสานงานกับฝ่ายกฎหมายเพื่อพิจารณาดำเนินการ