ASTV ผู้จัดการรายวัน- “ไทยพาณิชย์”สั่งบล.ในเครือตัดขายหุ้น บลจ.เอสซีบี ควอนท์ หมดเกลี้ยง 50 ล้านหุ้น มูลค่า 27 ล้านบาท แจ้งเหตุเพียงต้องการยกเลิกกิจการบริหารจัดการกองทุนส่วนบุคคล แต่ไม่ปรากฏผู้เข้าซื้อหุ้นทั้งหมด
นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ผู้จัดการสายบริหารการลงทุนตราสารทุน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่าขณะนี้บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือSCB (ธนาคารถือหุ้นร้อยละ 99.99 ของจำนวนหุ้นที่ออกทั้งหมด) ได้ทำการขายหุ้นสามัญของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอสซีบี ควอนท์ จำกัด เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา
โดย บล.ไทยพาณิชย์ได้ดำเนินการขายหุ้นสามัญของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอสซีบี ควอนท์ จำกัด จำนวน 4,999,993 หุ้น ในราคา 5.533 บาท/หุ้น รวมมูลค่าที่ขายคือ 27.665 ล้านบาท เพื่อยกเลิกการลงทุนในกิจการดังกล่าว
ปัจจุบันบริษัทจัดการลงทุนแห่งนี้ ได้ดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุน ภายใต้ทุนจดทะเบียน50,000,000.00 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 5,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10.00 บาท ซึ่งเรียกชำระแล้ว จึงทำให้ภายหลังจากการขายหุ้นสามัญบลจ. เอสซีบี ควอนท์ นั้น บล.ไทยพาณิชย์ จำกัด จะไม่คงเหลือการลงทุนในบริษัทดังกล่าวอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม ขนาดของรายการดังกล่าวคิดเป็น0.018% ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของธนาคารฯ ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ และไม่ใช่รายการเกี่ยวโยงกัน นอกจากนี้รายงานดังกล่าวกลับไม่มีรายชื่อผู้ที่เข้ามารับซื้อหุ้นทั้งหมดที่บล.ดำเนินการขาย
อนึ่ง บลจ. เอสซีบี ควอนท์ ดำเนินธุรกิจภายใต้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยบริษัทได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) เพื่อให้บริการด้านการ วางแผน บริหารและจัดการเงินลงทุนของลูกค้าเป็นการเฉพาะบุคคล ให้กับทั้งลูกค้าชาวไทย และชาว ต่างประเทศ และสามารถให้บริการ ทั้งลูกค้า ส่วนบุคคล บริษัท สถาบัน การเงิน รวมถึงกองทุนต่างชาติ
ขณะเดียวกัน บริษัทมีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญทางการเงินและผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์ ทำให้บริษัทมีสินค้าและบริการทางการเงินได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การบริหารเงิน ตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ และการลงทุนในสินทรัพย์อื่น เช่น สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ว่า กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ในบลจ.แห่งนี้ อาจเป็นบรรดาบริษัทหลักทรัพย์รายอื่นๆ เพราะที่ผ่านมาธุรกิจกองทุนรวมส่วนบุคคล และกองทุนรวมทั่วไปมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และมีหลายบริษัทหลักทรัพย์ที่แสดความสนใจจะจัดตั้งบลจ.เพื่อเข้ามาดำเนินธุรกิจดังกล่าว ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ออกมาเช่นนี้
นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ผู้จัดการสายบริหารการลงทุนตราสารทุน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่าขณะนี้บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือSCB (ธนาคารถือหุ้นร้อยละ 99.99 ของจำนวนหุ้นที่ออกทั้งหมด) ได้ทำการขายหุ้นสามัญของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอสซีบี ควอนท์ จำกัด เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา
โดย บล.ไทยพาณิชย์ได้ดำเนินการขายหุ้นสามัญของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอสซีบี ควอนท์ จำกัด จำนวน 4,999,993 หุ้น ในราคา 5.533 บาท/หุ้น รวมมูลค่าที่ขายคือ 27.665 ล้านบาท เพื่อยกเลิกการลงทุนในกิจการดังกล่าว
ปัจจุบันบริษัทจัดการลงทุนแห่งนี้ ได้ดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุน ภายใต้ทุนจดทะเบียน50,000,000.00 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 5,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10.00 บาท ซึ่งเรียกชำระแล้ว จึงทำให้ภายหลังจากการขายหุ้นสามัญบลจ. เอสซีบี ควอนท์ นั้น บล.ไทยพาณิชย์ จำกัด จะไม่คงเหลือการลงทุนในบริษัทดังกล่าวอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม ขนาดของรายการดังกล่าวคิดเป็น0.018% ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของธนาคารฯ ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ และไม่ใช่รายการเกี่ยวโยงกัน นอกจากนี้รายงานดังกล่าวกลับไม่มีรายชื่อผู้ที่เข้ามารับซื้อหุ้นทั้งหมดที่บล.ดำเนินการขาย
อนึ่ง บลจ. เอสซีบี ควอนท์ ดำเนินธุรกิจภายใต้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยบริษัทได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) เพื่อให้บริการด้านการ วางแผน บริหารและจัดการเงินลงทุนของลูกค้าเป็นการเฉพาะบุคคล ให้กับทั้งลูกค้าชาวไทย และชาว ต่างประเทศ และสามารถให้บริการ ทั้งลูกค้า ส่วนบุคคล บริษัท สถาบัน การเงิน รวมถึงกองทุนต่างชาติ
ขณะเดียวกัน บริษัทมีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญทางการเงินและผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์ ทำให้บริษัทมีสินค้าและบริการทางการเงินได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การบริหารเงิน ตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ และการลงทุนในสินทรัพย์อื่น เช่น สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ว่า กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ในบลจ.แห่งนี้ อาจเป็นบรรดาบริษัทหลักทรัพย์รายอื่นๆ เพราะที่ผ่านมาธุรกิจกองทุนรวมส่วนบุคคล และกองทุนรวมทั่วไปมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และมีหลายบริษัทหลักทรัพย์ที่แสดความสนใจจะจัดตั้งบลจ.เพื่อเข้ามาดำเนินธุรกิจดังกล่าว ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ออกมาเช่นนี้