บางจากฯควัก 80 ล้านบาทถือหุ้นเหมืองแร่โปแตซอาเซียน 6.56% เผยเป็น 1 ใน3 โครงการต้นน้ำ (UP STEAM) มูลค่ารวมกว่าหมื่นล้านบาท มั่นใจชื่อเสียงบางจากฯผลักดันพัฒนาโครงการนี้ได้หลังเจอปัญหามวลชนและสิ่งแวดล้อมทำโครงการดีเลย์มาร่วม 20ปี
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(BCP) เปิดเผยว่า ธนาคารทหารไทยได้รับข้อเสนอของบางจากฯในการประมูลซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน)จำนวน 765,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 6.56%ของทุนจดทะเบียน คิดเป็นมูลค่า 79,996,050 บาท
สำหรับวัตถุประสงค์ของการตัดสินใจซื้อหุ้นบมจ.เหมืองแร่โปแตซอาเซียนนี้ เพื่อการลงทุน โดยแหล่งเงินทุนมาจากเงินสดจากการดำเนินงาน โดยราคาเสนอซื้อหุ้นนี้กำหนดบนพื้นฐานการคำนวณจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการในกรณีที่สามารถดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ (Discounted Cashflow Method: DCF) ทั้งนี้ ได้คำนึงถึงส่วนลด เนื่องจากความเสี่ยงของโครงการ และสภาพการแข่งขันในการประมูลเสนอราคาซื้อหลักทรัพย์ในครั้งนี้ด้วย
นายปฏิภาณ สุคนธมาน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานด้านบัญชีและการเงิน บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเข้าไปถือหุ้นในโครงการเหมืองแร่โปแตซอาเซียน เนื่องจากบริษัทฯเห็นว่าเป็นโครงการที่มีศักยภาพ แม้ว่าจะมีความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการ เพราะต้องทำความเข้าใจกับมวลชน และ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนารุดหน้ามาก ทำให้เชื่อมั่นว่าการพัฒนาโครงการดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด
" โครงการนี้มีความคิดที่จะนำโปแตซที่มีปริมาณสำรองจำนวนมากในจังหวัดชัยภูมิ มาใช้ให้เกิดประโยชน์เมื่อ 20 ปีที่แล้ว แต่ไม่สามารถพัฒนาโครงการขึ้นได้ เนื่องจากติดปัญหามวลชนที่เกรงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การตัดสินใจเข้ามาถือหุ้นของบางจากฯ ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม และเป็นมิตรกับชุมชน น่าจะช่วยผลักดันให้โครงการนี้พัฒนาได้ เพราะเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีศักยภาพดี และตลาดโปแตซใหญ่สุดอยู่ที่เอเชีย แต่ต้องนำเข้าจากแคนาดา ทั้งๆที่แหล่งสำรองขนาดใหญ่อยู่ที่ไทย หากพัฒนาโครงการได้จะส่งผลดีต่อธุรกิจเกษตรของไทย เนื่องจากโปแตซเป็นวัตถุดิบใช้ทำปุ๋ย"
ทั้งนี้ ราคาโปแตซได้ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1,050 เหรียญสหรัฐ/ตัน สูงขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการส่งเสริมการปลูกพืชพลังงาน หากโครงการดังกล่าวผลิตเชิงพาณิชย์ได้ จะสนองความต้องการใช้ในประเทศ และที่เหลือส่งออก
บริษัท เหมืองแร่โปแตซอาเซียน มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1,165,597,300 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 11,656,973 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 100 บาท โดยโครงสร้างการถือหุ้นบมจ.เหมืองแร่โปรแตซอาเซียน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง 22.08% บริษัท ไอบีซี คอนสตรัคชั่น แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด 16.83% พี ที พีโทรคีเมีย กรีซิค (เพอชีโร) 14.35% มินิสเตอร์ ออฟ ไฟแนนส์ (อินคอร์ปอเรชั่น) 14.35% ธนาคารทหารไทย 10 % บางจากฯ 6.56 %และรายย่อยอื่นๆ 15.82%
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(BCP) เปิดเผยว่า ธนาคารทหารไทยได้รับข้อเสนอของบางจากฯในการประมูลซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน)จำนวน 765,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 6.56%ของทุนจดทะเบียน คิดเป็นมูลค่า 79,996,050 บาท
สำหรับวัตถุประสงค์ของการตัดสินใจซื้อหุ้นบมจ.เหมืองแร่โปแตซอาเซียนนี้ เพื่อการลงทุน โดยแหล่งเงินทุนมาจากเงินสดจากการดำเนินงาน โดยราคาเสนอซื้อหุ้นนี้กำหนดบนพื้นฐานการคำนวณจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการในกรณีที่สามารถดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ (Discounted Cashflow Method: DCF) ทั้งนี้ ได้คำนึงถึงส่วนลด เนื่องจากความเสี่ยงของโครงการ และสภาพการแข่งขันในการประมูลเสนอราคาซื้อหลักทรัพย์ในครั้งนี้ด้วย
นายปฏิภาณ สุคนธมาน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานด้านบัญชีและการเงิน บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเข้าไปถือหุ้นในโครงการเหมืองแร่โปแตซอาเซียน เนื่องจากบริษัทฯเห็นว่าเป็นโครงการที่มีศักยภาพ แม้ว่าจะมีความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการ เพราะต้องทำความเข้าใจกับมวลชน และ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนารุดหน้ามาก ทำให้เชื่อมั่นว่าการพัฒนาโครงการดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด
" โครงการนี้มีความคิดที่จะนำโปแตซที่มีปริมาณสำรองจำนวนมากในจังหวัดชัยภูมิ มาใช้ให้เกิดประโยชน์เมื่อ 20 ปีที่แล้ว แต่ไม่สามารถพัฒนาโครงการขึ้นได้ เนื่องจากติดปัญหามวลชนที่เกรงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การตัดสินใจเข้ามาถือหุ้นของบางจากฯ ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม และเป็นมิตรกับชุมชน น่าจะช่วยผลักดันให้โครงการนี้พัฒนาได้ เพราะเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีศักยภาพดี และตลาดโปแตซใหญ่สุดอยู่ที่เอเชีย แต่ต้องนำเข้าจากแคนาดา ทั้งๆที่แหล่งสำรองขนาดใหญ่อยู่ที่ไทย หากพัฒนาโครงการได้จะส่งผลดีต่อธุรกิจเกษตรของไทย เนื่องจากโปแตซเป็นวัตถุดิบใช้ทำปุ๋ย"
ทั้งนี้ ราคาโปแตซได้ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1,050 เหรียญสหรัฐ/ตัน สูงขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการส่งเสริมการปลูกพืชพลังงาน หากโครงการดังกล่าวผลิตเชิงพาณิชย์ได้ จะสนองความต้องการใช้ในประเทศ และที่เหลือส่งออก
บริษัท เหมืองแร่โปแตซอาเซียน มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1,165,597,300 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 11,656,973 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 100 บาท โดยโครงสร้างการถือหุ้นบมจ.เหมืองแร่โปรแตซอาเซียน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง 22.08% บริษัท ไอบีซี คอนสตรัคชั่น แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด 16.83% พี ที พีโทรคีเมีย กรีซิค (เพอชีโร) 14.35% มินิสเตอร์ ออฟ ไฟแนนส์ (อินคอร์ปอเรชั่น) 14.35% ธนาคารทหารไทย 10 % บางจากฯ 6.56 %และรายย่อยอื่นๆ 15.82%