“ฟิทช์”ประกาศคงอันดับเครดิต “เอเชียพลัส - กิมเอ็ง – ฟินันซ่า”สะท้อนความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ฐานะเงินทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่ รวมถึงแผนธุรกิจที่กระจายความเสี่ยงรองรับการเปิดเสรีที่ดี แม้ภาพรวมตลาดหุ้นยังผันผวน
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘A-(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตระยะสั้นภายในประเทศที่ ‘F2(tha)’ ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP
โดยอันดับเครดิตของ ASP สะท้อนถึงเครือข่ายธุรกิจนายหน้าหลักทรัพย์ต่อนักลงทุนรายย่อยที่กว้างขวาง ความแข็งแกร่งของธุรกิจวาณิชธนกิจ และความแข็งแกร่งของเงินกองทุนและสภาพคล่องที่มาจากธุรกิจใหม่ เช่น ที่ปรึกษาการลงทุน เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดกับธุรกิจหลักจากการเปิดเสรีค่านายหน้าธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้ในปี 2553
สำหรับผลประกอบการในช่วงครึ่งแรกปี 2551 ASP มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 230 ล้านบาท จาก 202 ล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกปี 2550 โดยมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการซื้อขายในตลาด ขณะที่การดำเนินธุรกิจของบริษัทยังคงอาศัยเงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นหลัก แต่ความเสี่ยงอาจมีมากขึ้นจากสภาวะการลงทุนในตลาดทุนที่อ่อนแอ หรือจากการที่บริษัทขยายกิจการไปในธุรกิจที่มีความเสี่ยงมากขึ้น
ขณะเดียวกัน บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘A(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตระยะสั้นภายในประเทศที่ ‘F1(tha)’ ของบล. กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST ซึ่งสะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางด้านเครือข่ายนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดนักลงทุนรายย่อยในประเทศ ที่ได้รับการสนับสนุนของบริษัทแม่ (บริษัทกิมเอ็ง โฮลดิ้งส์ จำกัด แห่งสิงคโปร์) รวมถึงความแข็งแกร่งในส่วนของเงินกองทุนและสภาพคล่องของบริษัท
ล่าสุด บริษัทมีแผนที่จะเพิ่มรายได้จากการให้บริการทางด้านวาณิชธนกิจ การบริหารกองทุนส่วนบุคคล โดยการให้กู้ยืมเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ และบริการด้านธุรกิจอนุพันธ์ เพื่อลดความกดดันต่อความสามารถในการทำกำไรหลังเปิดเสรีค่านายนายหน้าธุรกิจ ซึ่งกำไรสุทธิของ KESTในครึ่งแรกปี 2551 เพิ่มขึ้นเป็น 341 ล้านบาท จาก 167 ล้านบาทจากช่วงครึ่งแรกปี 2550 ที่มาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์และส่วนแบ่งการตลาดที่ดีขึ้น แต่ความเสี่ยงของธุรกิจยังเป็นเช่นเดียวกับบล.เอเชียพลัส
นอกจากนี้ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศปรับแนวโน้มเครดิตของบริษัทฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) หรือ FNS เป็นมีเสถียรภาพจากแนวโน้มเครดิตเป็นลบ และคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว ที่ระดับ BBB(tha) และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F3(tha)’เนื่องมาจากผลการดำเนินงานในครึ่งแรกปี 2551 และการขายเงินลงทุนในตราสารหนี้ประเภท Collateralized Debt Obligations หรือ CDOs ของบริษัทย่อย 880 ล้านบาท ที่ FNS ได้ลงบันทึกขาดทุนจากการขายเงินลงทุนดังกล่าว 70.7ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 8% ของต้นทุน ซึ่งใกล้เคียงกับขาดทุนจากการปรับมูลค่าเงินลงทุน (Mark-to-Market Value) ที่ได้รายงานไว้ ณ สิ้นปี 2550
ส่วนอันดับเครดิตของ FNS สะท้อนถึงโครงสร้างของบริษัทประเภทโฮลดิ้งที่การกระจายความเสี่ยงของรายได้ และระดับเงินกองทุนรวมถึงสภาพคล่องเพียงพอของบริษัท ที่ผ่านมา FNS ได้รายงานผลขาดทุนสุทธิที่ระดับ 149.3 ล้านบาทในครึ่งแรกปี 2551 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการขาดทุนจากการขายเงินลงทุนในตราสารหนี้ประเภท CDOs และผลดำเนินงานที่ลดลงของธุรกิจวาณิชธนกิจ ถึงแม้ว่ารายได้จากธุรกิจค้าหลักทรัพย์จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
โดย FNS กำลังอยู่ในช่วงปรับแผนธุรกิจในส่วนของบริษัทเงินทุนฟินันซ่า จำกัดซึ่งมีสินทรัพย์ประมาณ 1.0 พันล้านบาท เพื่อให้สอดรับกับสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยโดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2551 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน อัตราส่วนของผู้ถือหุ้นต่อสินทรัพย์ของ FNS อยู่ที่ 30.7% ซึ่งน่าจะช่วยให้บริษัทสามารถรองรับกับความผันผวนของธุรกิจได้
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘A-(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตระยะสั้นภายในประเทศที่ ‘F2(tha)’ ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP
โดยอันดับเครดิตของ ASP สะท้อนถึงเครือข่ายธุรกิจนายหน้าหลักทรัพย์ต่อนักลงทุนรายย่อยที่กว้างขวาง ความแข็งแกร่งของธุรกิจวาณิชธนกิจ และความแข็งแกร่งของเงินกองทุนและสภาพคล่องที่มาจากธุรกิจใหม่ เช่น ที่ปรึกษาการลงทุน เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดกับธุรกิจหลักจากการเปิดเสรีค่านายหน้าธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้ในปี 2553
สำหรับผลประกอบการในช่วงครึ่งแรกปี 2551 ASP มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 230 ล้านบาท จาก 202 ล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกปี 2550 โดยมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการซื้อขายในตลาด ขณะที่การดำเนินธุรกิจของบริษัทยังคงอาศัยเงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นหลัก แต่ความเสี่ยงอาจมีมากขึ้นจากสภาวะการลงทุนในตลาดทุนที่อ่อนแอ หรือจากการที่บริษัทขยายกิจการไปในธุรกิจที่มีความเสี่ยงมากขึ้น
ขณะเดียวกัน บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘A(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตระยะสั้นภายในประเทศที่ ‘F1(tha)’ ของบล. กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST ซึ่งสะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางด้านเครือข่ายนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดนักลงทุนรายย่อยในประเทศ ที่ได้รับการสนับสนุนของบริษัทแม่ (บริษัทกิมเอ็ง โฮลดิ้งส์ จำกัด แห่งสิงคโปร์) รวมถึงความแข็งแกร่งในส่วนของเงินกองทุนและสภาพคล่องของบริษัท
ล่าสุด บริษัทมีแผนที่จะเพิ่มรายได้จากการให้บริการทางด้านวาณิชธนกิจ การบริหารกองทุนส่วนบุคคล โดยการให้กู้ยืมเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ และบริการด้านธุรกิจอนุพันธ์ เพื่อลดความกดดันต่อความสามารถในการทำกำไรหลังเปิดเสรีค่านายนายหน้าธุรกิจ ซึ่งกำไรสุทธิของ KESTในครึ่งแรกปี 2551 เพิ่มขึ้นเป็น 341 ล้านบาท จาก 167 ล้านบาทจากช่วงครึ่งแรกปี 2550 ที่มาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์และส่วนแบ่งการตลาดที่ดีขึ้น แต่ความเสี่ยงของธุรกิจยังเป็นเช่นเดียวกับบล.เอเชียพลัส
นอกจากนี้ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศปรับแนวโน้มเครดิตของบริษัทฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) หรือ FNS เป็นมีเสถียรภาพจากแนวโน้มเครดิตเป็นลบ และคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว ที่ระดับ BBB(tha) และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F3(tha)’เนื่องมาจากผลการดำเนินงานในครึ่งแรกปี 2551 และการขายเงินลงทุนในตราสารหนี้ประเภท Collateralized Debt Obligations หรือ CDOs ของบริษัทย่อย 880 ล้านบาท ที่ FNS ได้ลงบันทึกขาดทุนจากการขายเงินลงทุนดังกล่าว 70.7ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 8% ของต้นทุน ซึ่งใกล้เคียงกับขาดทุนจากการปรับมูลค่าเงินลงทุน (Mark-to-Market Value) ที่ได้รายงานไว้ ณ สิ้นปี 2550
ส่วนอันดับเครดิตของ FNS สะท้อนถึงโครงสร้างของบริษัทประเภทโฮลดิ้งที่การกระจายความเสี่ยงของรายได้ และระดับเงินกองทุนรวมถึงสภาพคล่องเพียงพอของบริษัท ที่ผ่านมา FNS ได้รายงานผลขาดทุนสุทธิที่ระดับ 149.3 ล้านบาทในครึ่งแรกปี 2551 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการขาดทุนจากการขายเงินลงทุนในตราสารหนี้ประเภท CDOs และผลดำเนินงานที่ลดลงของธุรกิจวาณิชธนกิจ ถึงแม้ว่ารายได้จากธุรกิจค้าหลักทรัพย์จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
โดย FNS กำลังอยู่ในช่วงปรับแผนธุรกิจในส่วนของบริษัทเงินทุนฟินันซ่า จำกัดซึ่งมีสินทรัพย์ประมาณ 1.0 พันล้านบาท เพื่อให้สอดรับกับสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยโดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2551 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน อัตราส่วนของผู้ถือหุ้นต่อสินทรัพย์ของ FNS อยู่ที่ 30.7% ซึ่งน่าจะช่วยให้บริษัทสามารถรองรับกับความผันผวนของธุรกิจได้