ผู้จัดการรายวัน - "บลจ.แอสเซท พลัส"เดินหน้ารับกระแสกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นสุดฮิต ล่าสุดโรลโอเวอร์ "กองทุนเปิดแอสเซทพลัสทรัพย์มั่นคง 3"วันที่ 10 พ.ย.นี้ คาดผลตอบแทน 3.60% เช่นเดียวกับค่ายไทยพาณิชย์ ที่ออกกองบอนด์อย่างต่อเนื่อง รอบใหม่ผุด "กองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรและตราสารหนี้ 9"และ "กองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรรัฐบาล 3M7"ระยะเวลา 3-6 เดือน เริ่มไอพีโอวันนี้
นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยว่า โดยทั่วไปแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลตอบแทนของการลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะคาดการณ์แนวโน้มการปรับตัวของอัตราผลตอบแทนในตลาดและปรับสัดส่วนและอายุของตราสารในพอร์ตลงทุน เพื่อสร้างโอกาสของผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งนี้มองว่าการลงทุน รอบระยะเวลาสั้นๆ น่าจะเหมาะสมกับสภาวะตลาดในช่วงนี้ที่ตลาดตราสารหนี้มีความผันผวนทั้งจากการปรับตัวของอัตราผลตอบแทนและปริมาณตราสารที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการลงทุน
ดังนั้น บริษัทจะทำการเปิดขายกองทุนเปิดแอสเซทพลัสทรัพย์มั่นคง 3 (ASP-SIF3) และจะรับซื้อคืนวันเดียวกันคือ ในวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ โดยจะมีรอบระยะเวลาการลงทุนประมาณ 3 เดือน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่มองหาการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศระยะสั้นๆ
สำหรับพอร์ตการลงทุน ในรอบการลงทุนนี้ กองทุน ASP-SIF3 จะพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้เอกชนไทยในประเทศ ทั้งตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ระยะสั้น และเงินฝากภาคสถาบันการเงิน ที่ผู้ออกตราสารได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ A- ขึ้นไป เช่น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และธนาคารทหารไทย เป็นต้น
โดยผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนปัจจุบันของกองทุน ASP-SIF3อยู่ที่ระดับ 3.80% ต่อปี ซึ่งคาดว่าหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วจะสามารถสร้างโอกาสผลตอบแทนให้กับลูกค้าได้ประมาณ 3.60% ต่อปี
ขณะเดียวกันรายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดเสนอขายกองทุนใหม่จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรและตราสารหนี้ 9 (SCBGCORP9) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน เน้นลงทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย และตราสารหนี้ภาคเอกชน และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรรัฐบาล 3M7 (SCBGB3M7) มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 3 เดือน เน้นลงทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย โดยจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) และครั้งเดียวระหว่างวันที่ 7 – 13 พฤศจิกายน 2551 และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท
สำหรับกองทุน SCBGCORP9 เน้นลงทุนใน ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน หรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลัง เป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย และ/หรือ ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก รวมทั้งพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ของรัฐวิสาหกิจ และ/หรือตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
นอกจากนี้ในกรณีที่กองทุนคาดว่าจะไม่สามารถซื้อตราสารที่มีอายุคงเหลือดังกล่าวได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ กองทุนอาจจะเข้าลงทุนในตราสารที่มีอายุยาวกว่า 6 เดือน โดยจะเข้าทำสัญญาขายตราสารดังกล่าวล่วงหน้า เพื่อให้อายุของสัญญาสอดคล้องกับวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ในวันครบกำหนดอายุโครงการ แต่จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) และจะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ด้านราคาของตราสาร
ส่วนกองทุน SCBGB3M7 จะเน้นลงทุนใน ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน หรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลัง เป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย และ/หรือ เงินฝาก โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
อย่างไรก็ตามในกรณีที่กองทุนคาดว่าจะไม่สามารถซื้อตราสารที่มีอายุคงเหลือดังกล่าวได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ กองทุนอาจจะเข้าลงทุนในตราสารที่มีอายุยาวกว่า 3 เดือน โดยจะเข้าทำสัญญาขายตราสารดังกล่าวล่วงหน้า เพื่อให้อายุของสัญญาสอดคล้องกับวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ซึ่งกำหนดไว้ประมาณ 3 เดือน สำหรับเงินลงทุนส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนด หรือให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ อาจเป็นได้ทั้งตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่สามารถลงทุนได้ จากสถาบันจัดอันดับ และหรือเป็นตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้กับกองทุนรวม แต่จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) และจะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ด้านราคาของตราสาร
นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยว่า โดยทั่วไปแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลตอบแทนของการลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะคาดการณ์แนวโน้มการปรับตัวของอัตราผลตอบแทนในตลาดและปรับสัดส่วนและอายุของตราสารในพอร์ตลงทุน เพื่อสร้างโอกาสของผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งนี้มองว่าการลงทุน รอบระยะเวลาสั้นๆ น่าจะเหมาะสมกับสภาวะตลาดในช่วงนี้ที่ตลาดตราสารหนี้มีความผันผวนทั้งจากการปรับตัวของอัตราผลตอบแทนและปริมาณตราสารที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการลงทุน
ดังนั้น บริษัทจะทำการเปิดขายกองทุนเปิดแอสเซทพลัสทรัพย์มั่นคง 3 (ASP-SIF3) และจะรับซื้อคืนวันเดียวกันคือ ในวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ โดยจะมีรอบระยะเวลาการลงทุนประมาณ 3 เดือน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่มองหาการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศระยะสั้นๆ
สำหรับพอร์ตการลงทุน ในรอบการลงทุนนี้ กองทุน ASP-SIF3 จะพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้เอกชนไทยในประเทศ ทั้งตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ระยะสั้น และเงินฝากภาคสถาบันการเงิน ที่ผู้ออกตราสารได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ A- ขึ้นไป เช่น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และธนาคารทหารไทย เป็นต้น
โดยผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนปัจจุบันของกองทุน ASP-SIF3อยู่ที่ระดับ 3.80% ต่อปี ซึ่งคาดว่าหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วจะสามารถสร้างโอกาสผลตอบแทนให้กับลูกค้าได้ประมาณ 3.60% ต่อปี
ขณะเดียวกันรายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดเสนอขายกองทุนใหม่จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรและตราสารหนี้ 9 (SCBGCORP9) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน เน้นลงทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย และตราสารหนี้ภาคเอกชน และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรรัฐบาล 3M7 (SCBGB3M7) มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 3 เดือน เน้นลงทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย โดยจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) และครั้งเดียวระหว่างวันที่ 7 – 13 พฤศจิกายน 2551 และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท
สำหรับกองทุน SCBGCORP9 เน้นลงทุนใน ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน หรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลัง เป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย และ/หรือ ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก รวมทั้งพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ของรัฐวิสาหกิจ และ/หรือตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
นอกจากนี้ในกรณีที่กองทุนคาดว่าจะไม่สามารถซื้อตราสารที่มีอายุคงเหลือดังกล่าวได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ กองทุนอาจจะเข้าลงทุนในตราสารที่มีอายุยาวกว่า 6 เดือน โดยจะเข้าทำสัญญาขายตราสารดังกล่าวล่วงหน้า เพื่อให้อายุของสัญญาสอดคล้องกับวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ในวันครบกำหนดอายุโครงการ แต่จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) และจะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ด้านราคาของตราสาร
ส่วนกองทุน SCBGB3M7 จะเน้นลงทุนใน ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน หรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลัง เป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย และ/หรือ เงินฝาก โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
อย่างไรก็ตามในกรณีที่กองทุนคาดว่าจะไม่สามารถซื้อตราสารที่มีอายุคงเหลือดังกล่าวได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ กองทุนอาจจะเข้าลงทุนในตราสารที่มีอายุยาวกว่า 3 เดือน โดยจะเข้าทำสัญญาขายตราสารดังกล่าวล่วงหน้า เพื่อให้อายุของสัญญาสอดคล้องกับวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ซึ่งกำหนดไว้ประมาณ 3 เดือน สำหรับเงินลงทุนส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนด หรือให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ อาจเป็นได้ทั้งตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่สามารถลงทุนได้ จากสถาบันจัดอันดับ และหรือเป็นตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้กับกองทุนรวม แต่จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) และจะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ด้านราคาของตราสาร