กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น 3 เดือน กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง "แอสเซท พลัส" เดินเกมส่งกองทุน"แอสเซทพลัสแอ็คทีฟตราสารหนี้ 2" เน้นลงทุนในตราสารหนี้เอกชนในประเทศ ชูผลตอบเเทนสูงถึง 3.65% เปิดไอพีโอพร้อมกัน 2-8 ตุลาคมนี้ ด้าน "ไอเอ็นจี" ส่งกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย เอ็มเอ็ม 28 ร่วมแชร์ตลาด ให้ผลตอบแทน 3.60% ต่อปี
นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด กล่าวถึงสถานการณ์การลงทุนในช่วงนี้ว่า การลงทุนค่อนข้างมีความผันผวนจากปัญหาสถาบันการเงินต่างประเทศ ยังอยู่ในระหว่างรอความชัดเจนของร่างแผนการฟื้นฟูด้านการเงินของรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งในด้านของนักลงทุนโดยส่วนใหญ่ที่มีความกังวลในสถาบันการเงินต่างประเทศเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศแทน ซึ่งผู้ลงทุนค่อนข้างวางใจ และสามารถเข้าถึงข้อมูลการลงทุนได้มากกว่า แม้ว่าผลตอบแทนที่ได้จากตราสารหนี้ภาครัฐต่างประเทศจะอยู่ในระดับสูงกว่าก็ตาม
ทั้งนี้เพื่อรองรับกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าว บริษัทฯ จึงเสนอขายกกองทุนเปิดแอสเซทพลัสแอ็คทีฟตราสารหนี้ 2 (ASP-ACFIXED2) ระหว่างวันที่ 2-8 ตุลาคมนี้ โดยกองทุนจะลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนไทยที่มีความสามารถในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยสูงจากการได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ A- ขึ้นไป โดยมีระยะเวลาลงทุนพียง 3 เดือน และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระดับใกล้เคียงกับการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ
สำหรับกองทุนเปิดแอสเซทพลัสแอ็คทีฟตราสารหนี้ 2 มีมูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท โดยมีรอบระยะเวลาการลงทุนแบบยืดหยุ่นที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของผลตอบแทนตามภาวะตลาดตราสารหนี้ในแต่ละขณะ ทั้งนี้ รอบระยะเวลาการลงทุนแรกของกองทุน จะลงทุนระยะสั้น 3 เดือน เพื่อรอความชัดเจนของตลาดเงินที่จะมีผลต่ออัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้อีกครั้ง
โดยกองทุนดังกล่าวจะเน้นลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพของบริษัทเอกชนไทย เช่น ธนาคารกสิกรไทย บมจ.บัตรเครดิตกรุงไทย ธนาคารสแตนดาร์ดชาเตอร์ด และควอลิตี้ เฮ้าส์ ทั้งนี้ คาดว่าตราสารของพอร์ตการลงทุนดังกล่าวที่ระดับ 3.95% ต่อปี เมื่อหักค่าใช้จ่ายกองทุนประมาณ 0.30% แล้วจะสามารถสร้างโอกาสผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนได้ 3.65% ต่อปี
"เราคาดว่า หลังจากที่สถานการณ์ด้านการเงินในต่างประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ผู้ลงทุนจะเริ่มกลับมามั่นใจในการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศเช่นเดิม ซึ่งในช่วงนี้ตราสารหนี้เอกชนหรือสถาบันการเงินในประเทศที่มีความมั่นคง ก็สามารถให้ผลตอบแทนในระดับจูงใจในช่วงที่ผู้ลงทุนยังมีความกังวลกับตราสารหนี้ต่างประเทศขณะนี้"นางสาวจารุลักษณ์กล่าว
ด้านรายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 6 ตุลาคม 2551 บริษัทจะมีการเปิดจำหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย เอ็มเอ็ม 28 (ING MM28) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ ที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Specific Fund) อายุโครงการ 3 เดือน ขนาดกองทุน 10,000 ล้านบาท
โดยกองทุนดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายทั้งในและต่างประเทศ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจและ/หรือภาคเอกชน โดยอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตราสารหนี้ที่ออก รับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกันการจ่ายเงินโดยสถาบันการเงินรวมทั้ง เงินฝาก โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ขณะที่ตราสารส่วนใหญ่ที่กองทุนลงทุนจะมีอายุคงเหลือประมาณ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงทุน ในกรณีที่กองทุนคาดว่าจะไม่สามารถซื้อตราสารที่มีอายุคงเหลือดังกล่าวได้
ครบตามจำนวนที่ต้องการ กองทุนจะเข้าลงทุนในตราสารที่มีอายุยาวกว่า 3 เดือน โดยจะเข้าทำสัญญาขายตราสารดังกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ลงทุนในตราสารดังกล่าว เพื่อให้อายุของสัญญาสอดคล้องกับวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนซึ่งกำหนดไว้ประมาณ 3 เดือน
สำหรับเงินลงทุนส่วนที่เหลือจะลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ที่ไม่ขัดต่อประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องนอกจากนี้ กองทุนอาจเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (hedging)
และ/หรืออาจเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาของตราสาร
ขณะเดียวกันผู้จัดการกองทุนจะเป็นผู้จัดสัดส่วนการลงทุน และพิจารณาถึงความจำเป็นของการจัดหา และ/หรือเลือกสรรวิธีการป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ของกองทุน โดยจะพิจารณาและกองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) หรือ Credit Linked Note
ทั้งนี้ บริษัทคาดการณ์ผลตอบแทนของกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย เอ็มเอ็ม 28 ไม่น้อยกว่า 3.60% ต่อปี
นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด กล่าวถึงสถานการณ์การลงทุนในช่วงนี้ว่า การลงทุนค่อนข้างมีความผันผวนจากปัญหาสถาบันการเงินต่างประเทศ ยังอยู่ในระหว่างรอความชัดเจนของร่างแผนการฟื้นฟูด้านการเงินของรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งในด้านของนักลงทุนโดยส่วนใหญ่ที่มีความกังวลในสถาบันการเงินต่างประเทศเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศแทน ซึ่งผู้ลงทุนค่อนข้างวางใจ และสามารถเข้าถึงข้อมูลการลงทุนได้มากกว่า แม้ว่าผลตอบแทนที่ได้จากตราสารหนี้ภาครัฐต่างประเทศจะอยู่ในระดับสูงกว่าก็ตาม
ทั้งนี้เพื่อรองรับกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าว บริษัทฯ จึงเสนอขายกกองทุนเปิดแอสเซทพลัสแอ็คทีฟตราสารหนี้ 2 (ASP-ACFIXED2) ระหว่างวันที่ 2-8 ตุลาคมนี้ โดยกองทุนจะลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนไทยที่มีความสามารถในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยสูงจากการได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ A- ขึ้นไป โดยมีระยะเวลาลงทุนพียง 3 เดือน และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระดับใกล้เคียงกับการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ
สำหรับกองทุนเปิดแอสเซทพลัสแอ็คทีฟตราสารหนี้ 2 มีมูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท โดยมีรอบระยะเวลาการลงทุนแบบยืดหยุ่นที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของผลตอบแทนตามภาวะตลาดตราสารหนี้ในแต่ละขณะ ทั้งนี้ รอบระยะเวลาการลงทุนแรกของกองทุน จะลงทุนระยะสั้น 3 เดือน เพื่อรอความชัดเจนของตลาดเงินที่จะมีผลต่ออัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้อีกครั้ง
โดยกองทุนดังกล่าวจะเน้นลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพของบริษัทเอกชนไทย เช่น ธนาคารกสิกรไทย บมจ.บัตรเครดิตกรุงไทย ธนาคารสแตนดาร์ดชาเตอร์ด และควอลิตี้ เฮ้าส์ ทั้งนี้ คาดว่าตราสารของพอร์ตการลงทุนดังกล่าวที่ระดับ 3.95% ต่อปี เมื่อหักค่าใช้จ่ายกองทุนประมาณ 0.30% แล้วจะสามารถสร้างโอกาสผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนได้ 3.65% ต่อปี
"เราคาดว่า หลังจากที่สถานการณ์ด้านการเงินในต่างประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ผู้ลงทุนจะเริ่มกลับมามั่นใจในการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศเช่นเดิม ซึ่งในช่วงนี้ตราสารหนี้เอกชนหรือสถาบันการเงินในประเทศที่มีความมั่นคง ก็สามารถให้ผลตอบแทนในระดับจูงใจในช่วงที่ผู้ลงทุนยังมีความกังวลกับตราสารหนี้ต่างประเทศขณะนี้"นางสาวจารุลักษณ์กล่าว
ด้านรายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 6 ตุลาคม 2551 บริษัทจะมีการเปิดจำหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย เอ็มเอ็ม 28 (ING MM28) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ ที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Specific Fund) อายุโครงการ 3 เดือน ขนาดกองทุน 10,000 ล้านบาท
โดยกองทุนดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายทั้งในและต่างประเทศ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจและ/หรือภาคเอกชน โดยอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตราสารหนี้ที่ออก รับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกันการจ่ายเงินโดยสถาบันการเงินรวมทั้ง เงินฝาก โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ขณะที่ตราสารส่วนใหญ่ที่กองทุนลงทุนจะมีอายุคงเหลือประมาณ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงทุน ในกรณีที่กองทุนคาดว่าจะไม่สามารถซื้อตราสารที่มีอายุคงเหลือดังกล่าวได้
ครบตามจำนวนที่ต้องการ กองทุนจะเข้าลงทุนในตราสารที่มีอายุยาวกว่า 3 เดือน โดยจะเข้าทำสัญญาขายตราสารดังกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ลงทุนในตราสารดังกล่าว เพื่อให้อายุของสัญญาสอดคล้องกับวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนซึ่งกำหนดไว้ประมาณ 3 เดือน
สำหรับเงินลงทุนส่วนที่เหลือจะลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ที่ไม่ขัดต่อประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องนอกจากนี้ กองทุนอาจเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (hedging)
และ/หรืออาจเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาของตราสาร
ขณะเดียวกันผู้จัดการกองทุนจะเป็นผู้จัดสัดส่วนการลงทุน และพิจารณาถึงความจำเป็นของการจัดหา และ/หรือเลือกสรรวิธีการป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ของกองทุน โดยจะพิจารณาและกองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) หรือ Credit Linked Note
ทั้งนี้ บริษัทคาดการณ์ผลตอบแทนของกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย เอ็มเอ็ม 28 ไม่น้อยกว่า 3.60% ต่อปี