“กองอสังหาฯเอ็มเอฟซี-นิชดาธานี” เปิดรายชื่อ10ผู้ถือหน่วยลงทุนใหญ่ แบงก์ออมสิน กองสำรองชีพ แบงก์กรุงไทย และตลาดหลักทรัพย์ยังอยู่ครบ โบรกฯย้ำนักลงทุนอย่าใส่ใจกับมูลค่าเอ็นเอวีที่ลดลง ชี้เป็นภาวะตลาด เชื่อแค่สถาบันกลับมาซื้อพร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์ฟื้นตัวแน่
นางประไพศรี นันทิยา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC ในฐานะนายทะเบียนหน่วยลงทุนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซี-นิชดาธานี(MNIT) เปิดเผยถึงรายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหญ่10 รายแรก ณ วันปิดสมุดทะเบียนในวันที่ 22 ตุลาคม 2551 ว่า บริษัท นิชดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ยังเป็นผู้ถือครองหน่วยลงทุนใหญ่ที่สุดในกองทุนในสัดส่วน 22.91% หรือ 31,611,800 หน่วย
ขณะที่ ธนาคารออมสิน เป็นอันดับ2. ในสัดส่วน 7.25% หรือ 10,000,000 หน่วย ตามด้วยบริษัท บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด จำนวน 6 ล้านหน่วยลงทุน หรือ 4.35% , นายปรีชา พานิชวงศ์ จำนวน 5.8 ล้านหน่วย หรือ 4.20% และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 3.62% หรือ 5 ล้านหน่วย
สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนอันดับ6. ได้แก่ ดร. ปราณี เผอิญโชค จำนวน 4,888,700 หน่วยคิดเป็น 3.54% ถัดมา บริษัท บ้านนิชดา จำกัด จำนวน 4,001,000 หน่วย คิดเป็น 2.90% ,นางมณฑา พานิชวงศ์ 3,272,000 หน่วย หรือ 2.37%
อันดับ9. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถือครอง 3,002,000 หน่วย หรือ2.18% และอันดับ.10นายกฤษณะ กฤตมโนรถ จำนวน 3ล้านหน่วย หรือ2.17% รวมทั้งสิ้น 76,575,500 หน่วย หรือ 55.49%
ปัจจุบัน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซี-นิชดาธานี ประกาศสินทรัพย์ต่อหน่วยลงทุน ประจำวันที่ 31 ตุลาคม 2551 โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1,520,283,298.89 บาท และคิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วย 11.0165 บาท
ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (KEST) ให้ความเห็นถึงการลงทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ว่า นักลงทุนไม่ควรมีมายาคติกับอัตราส่วนลดจากมูลค่าสินทรัพย์สุทธิจำนวนมากของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในไทยส่วนใหญ่ในขณะนี้ เพราะส่วนลดเหล่านี้มูลค่าตลาดของหน่วยลงทุนที่ปรับตัวลดลงอย่างหนักโดยมีปริมาณซื้อขายค่อนข้างเบาบาง แต่เชื่อว่าปัจจัยหลักที่จะช่วยให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวอีกครั้งคือการกลับมาของนักลงทุนสถาบันในกองทุนประเภทดังกล่าว
“เราแนะนำให้นักลงทุนบุคคลในประเทศระมัดระวังการลงทุนในกองทุนรวมมากกว่า แม้กองทุนรวมอสังหาฯจะมีอัตราเงินปันผลตอบแทนและส่วนลดจากมูลค่าสินทรัพย์สุทธิสูงถึง 19% แต่มีเพียง 3 โครงการเท่านั้นที่มีสภาพคล่องเพียงพอ ได้แก่ TFUND,SPF และ CPNRF”
ก่อนหน้านี้ บลจ.เอ็มเอฟซี ได้จ่ายเงินปันผลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 - 30 กันยายน 2551 ในอัตรา 0.17 บาทต่อหน่วย และได้กำหนดปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อสิทธิในการรับเงินปันผล วันที่ 22 ตุลาคม 2551 โดยจะจ่ายเงินปันผลในวันที่ 14 พฤศจิกายน นี้
โดยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซี-นิชดาธานี มีนโยบายลงทุนในกรรมสิทธิ์ของเซอร์วิส อพาร์ทเมนท์โครงการนิชดาธานี ด้วยการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ อาคาร Lakeshore-North (A2) และอาคาร Lakeshore-West (A3) หลังจากนั้นได้เพิ่มทุนด้วยการลงทุนในโครงการบ้านเดี๋ยว 2 โครงการ คือ โครงการ Sunshine Place และ Raintree จำนวน โครงการละ 20 หลัง ในโครงการนิชดาธานีเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้โครงการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซี-นิชดาธานีมีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยบริษัทจัดการจะพิจารณาจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้จากการลงทุนสุทธิ บวก/หักกำไรหรือขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้น ทั้งสิ้น (แล้วแต่กรณี) ของโครงการในแต่ละงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล และไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิประจำปี หรืออาจพิจารณาจ่ายจากกำไรสะสมนั้น
นางประไพศรี นันทิยา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC ในฐานะนายทะเบียนหน่วยลงทุนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซี-นิชดาธานี(MNIT) เปิดเผยถึงรายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหญ่10 รายแรก ณ วันปิดสมุดทะเบียนในวันที่ 22 ตุลาคม 2551 ว่า บริษัท นิชดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ยังเป็นผู้ถือครองหน่วยลงทุนใหญ่ที่สุดในกองทุนในสัดส่วน 22.91% หรือ 31,611,800 หน่วย
ขณะที่ ธนาคารออมสิน เป็นอันดับ2. ในสัดส่วน 7.25% หรือ 10,000,000 หน่วย ตามด้วยบริษัท บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด จำนวน 6 ล้านหน่วยลงทุน หรือ 4.35% , นายปรีชา พานิชวงศ์ จำนวน 5.8 ล้านหน่วย หรือ 4.20% และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 3.62% หรือ 5 ล้านหน่วย
สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนอันดับ6. ได้แก่ ดร. ปราณี เผอิญโชค จำนวน 4,888,700 หน่วยคิดเป็น 3.54% ถัดมา บริษัท บ้านนิชดา จำกัด จำนวน 4,001,000 หน่วย คิดเป็น 2.90% ,นางมณฑา พานิชวงศ์ 3,272,000 หน่วย หรือ 2.37%
อันดับ9. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถือครอง 3,002,000 หน่วย หรือ2.18% และอันดับ.10นายกฤษณะ กฤตมโนรถ จำนวน 3ล้านหน่วย หรือ2.17% รวมทั้งสิ้น 76,575,500 หน่วย หรือ 55.49%
ปัจจุบัน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซี-นิชดาธานี ประกาศสินทรัพย์ต่อหน่วยลงทุน ประจำวันที่ 31 ตุลาคม 2551 โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1,520,283,298.89 บาท และคิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วย 11.0165 บาท
ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (KEST) ให้ความเห็นถึงการลงทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ว่า นักลงทุนไม่ควรมีมายาคติกับอัตราส่วนลดจากมูลค่าสินทรัพย์สุทธิจำนวนมากของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในไทยส่วนใหญ่ในขณะนี้ เพราะส่วนลดเหล่านี้มูลค่าตลาดของหน่วยลงทุนที่ปรับตัวลดลงอย่างหนักโดยมีปริมาณซื้อขายค่อนข้างเบาบาง แต่เชื่อว่าปัจจัยหลักที่จะช่วยให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวอีกครั้งคือการกลับมาของนักลงทุนสถาบันในกองทุนประเภทดังกล่าว
“เราแนะนำให้นักลงทุนบุคคลในประเทศระมัดระวังการลงทุนในกองทุนรวมมากกว่า แม้กองทุนรวมอสังหาฯจะมีอัตราเงินปันผลตอบแทนและส่วนลดจากมูลค่าสินทรัพย์สุทธิสูงถึง 19% แต่มีเพียง 3 โครงการเท่านั้นที่มีสภาพคล่องเพียงพอ ได้แก่ TFUND,SPF และ CPNRF”
ก่อนหน้านี้ บลจ.เอ็มเอฟซี ได้จ่ายเงินปันผลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 - 30 กันยายน 2551 ในอัตรา 0.17 บาทต่อหน่วย และได้กำหนดปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อสิทธิในการรับเงินปันผล วันที่ 22 ตุลาคม 2551 โดยจะจ่ายเงินปันผลในวันที่ 14 พฤศจิกายน นี้
โดยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซี-นิชดาธานี มีนโยบายลงทุนในกรรมสิทธิ์ของเซอร์วิส อพาร์ทเมนท์โครงการนิชดาธานี ด้วยการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ อาคาร Lakeshore-North (A2) และอาคาร Lakeshore-West (A3) หลังจากนั้นได้เพิ่มทุนด้วยการลงทุนในโครงการบ้านเดี๋ยว 2 โครงการ คือ โครงการ Sunshine Place และ Raintree จำนวน โครงการละ 20 หลัง ในโครงการนิชดาธานีเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้โครงการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซี-นิชดาธานีมีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยบริษัทจัดการจะพิจารณาจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้จากการลงทุนสุทธิ บวก/หักกำไรหรือขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้น ทั้งสิ้น (แล้วแต่กรณี) ของโครงการในแต่ละงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล และไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิประจำปี หรืออาจพิจารณาจ่ายจากกำไรสะสมนั้น