หมอเลี้ยบเตรียมเสนอ ครม.อนุมัติแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายใน 1 เดือน หวังเพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่น เผยสาระสำคัญที่ดินทิ้งว่างเปล่าไม่เกิน 0.5% ใน 3 ปีแรก หากไม่ได้ทำประโยชน์อีก กำหนดให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าในทุกๆ 3 ปี แต่ไม่เกิน 2% ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั่วไปไม่เกิน 0.5% ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยของตนเองไม่เกิน 0.1% ของฐานภาษี และที่ดินประกอบเกษตรกรรมไม่เกิน 0.05%
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมจะเสนอ พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 1 เดือนนับจากนี้ ระหว่างนี้ต้องสื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจก่อน เพื่อให้การจัดเก็บภาษีมีความเป็นธรรม โดยผู้ที่ครอบครองที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และผู้ที่นำไปใช้เชิงพาณิชย์ จะต้องเสียภาษีมากกว่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม และเพื่อการอยู่อาศัย โดยตามกฎหมายจะให้เวลาเตรียมตัวกับทุกฝ่ายอีก 2 ปี ก่อนมีผลบังคับใช้ ที่สำคัญ กรมที่ดินต้องจัดทำแผนที่ดิจิตอลเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนที่ดินทุกแปลงให้ครบถ้วนทั่วประเทศในเวลา 2 ปี เว้นแต่กรณีจำเป็นให้ขยายเวลาออกไปอีก 1 ปี โดยต้องของบประมาณเพื่อดำเนินการ จำนวน 4,500 ล้านบาท
"กฎหมายนี้มีการศึกษากันมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ยังทำไม่สำเร็จ ผมเห็นเรื่องนี้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเห็นว่าเป็นกฎหมายสำคัญ เป็นกฎหมายตามหลักสากล จึงควรผลักดันให้กฎหมายมีผลบังคับใช้" นพ.สุรพงษ์กล่าว
ทั้งนี้ กฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นการยกร่างกฎหมายใหม่ โดยจะมีการยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 พ.ร.บ.กำหนดราคากลางของที่ดินสำหรับการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2529 และ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เพื่อให้ทันสมัยและเป็นการลดภาระงบประมาณในการจัดสรรเงินงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท.หลังจากพบว่า อปท.มีรายได้ลดลงจากการลดค่าธรรมเนียม การโอนและการจดจำนองที่ดิน จากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์
สำหรับอัตราภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั่วไป กำหนดให้เสียภาษีไม่เกินร้อยละ 0.5 ของฐานภาษี ส่วนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยของตนเองโดยไม่ประกอบเชิงพาณิชย์จัดเก็บไม่เกินร้อยละ 0.1 ของฐานภาษี ขณะที่ที่ดินประกอบเกษตรกรรมจัดเก็บไม่เกินร้อยละ 0.05 ของฐานภาษี ส่วนที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดิน ให้เสียภาษีไม่เกิน ร้อยละ 0.5 ใน 3 ปีแรก หากไม่ได้ทำประโยชน์อีก กำหนดให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าในทุกๆ 3 ปี แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของฐานภาษี
ในการกำหนดฐานภาษีนั้นได้กำหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการกำหนดอัตราภาษีที่ดินฯ โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน และมีกรรมการที่มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมธนารักษ์ มหาดไทย เมืองพัทยา กทม. เป็นต้น และยังเห็นชอบให้ อปท.สามารถออกข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อกำหนดอัตราภาษีเพิ่มขึ้นจากอัตราที่คณะกรรมการฯกำหนด แต่ต้องไม่เกินเพดานภาษีที่กำหนดไว้ หากมีเหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
กฎหมายฉบับนี้ ได้ผ่านความเห็นชอบของ ครม. มาตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 41 แต่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง รวมถึงมีข้อสังเกตจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กระทรวงการคลัง นำกลับไปปรับปรุงแก้ไขจนได้ข้อยุติและเตรียมนำเสนอให้ ครม.พิจารณาดังกล่าว
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมจะเสนอ พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 1 เดือนนับจากนี้ ระหว่างนี้ต้องสื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจก่อน เพื่อให้การจัดเก็บภาษีมีความเป็นธรรม โดยผู้ที่ครอบครองที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และผู้ที่นำไปใช้เชิงพาณิชย์ จะต้องเสียภาษีมากกว่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม และเพื่อการอยู่อาศัย โดยตามกฎหมายจะให้เวลาเตรียมตัวกับทุกฝ่ายอีก 2 ปี ก่อนมีผลบังคับใช้ ที่สำคัญ กรมที่ดินต้องจัดทำแผนที่ดิจิตอลเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนที่ดินทุกแปลงให้ครบถ้วนทั่วประเทศในเวลา 2 ปี เว้นแต่กรณีจำเป็นให้ขยายเวลาออกไปอีก 1 ปี โดยต้องของบประมาณเพื่อดำเนินการ จำนวน 4,500 ล้านบาท
"กฎหมายนี้มีการศึกษากันมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ยังทำไม่สำเร็จ ผมเห็นเรื่องนี้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเห็นว่าเป็นกฎหมายสำคัญ เป็นกฎหมายตามหลักสากล จึงควรผลักดันให้กฎหมายมีผลบังคับใช้" นพ.สุรพงษ์กล่าว
ทั้งนี้ กฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นการยกร่างกฎหมายใหม่ โดยจะมีการยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 พ.ร.บ.กำหนดราคากลางของที่ดินสำหรับการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2529 และ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เพื่อให้ทันสมัยและเป็นการลดภาระงบประมาณในการจัดสรรเงินงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท.หลังจากพบว่า อปท.มีรายได้ลดลงจากการลดค่าธรรมเนียม การโอนและการจดจำนองที่ดิน จากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์
สำหรับอัตราภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั่วไป กำหนดให้เสียภาษีไม่เกินร้อยละ 0.5 ของฐานภาษี ส่วนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยของตนเองโดยไม่ประกอบเชิงพาณิชย์จัดเก็บไม่เกินร้อยละ 0.1 ของฐานภาษี ขณะที่ที่ดินประกอบเกษตรกรรมจัดเก็บไม่เกินร้อยละ 0.05 ของฐานภาษี ส่วนที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดิน ให้เสียภาษีไม่เกิน ร้อยละ 0.5 ใน 3 ปีแรก หากไม่ได้ทำประโยชน์อีก กำหนดให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าในทุกๆ 3 ปี แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของฐานภาษี
ในการกำหนดฐานภาษีนั้นได้กำหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการกำหนดอัตราภาษีที่ดินฯ โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน และมีกรรมการที่มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมธนารักษ์ มหาดไทย เมืองพัทยา กทม. เป็นต้น และยังเห็นชอบให้ อปท.สามารถออกข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อกำหนดอัตราภาษีเพิ่มขึ้นจากอัตราที่คณะกรรมการฯกำหนด แต่ต้องไม่เกินเพดานภาษีที่กำหนดไว้ หากมีเหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
กฎหมายฉบับนี้ ได้ผ่านความเห็นชอบของ ครม. มาตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 41 แต่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง รวมถึงมีข้อสังเกตจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กระทรวงการคลัง นำกลับไปปรับปรุงแก้ไขจนได้ข้อยุติและเตรียมนำเสนอให้ ครม.พิจารณาดังกล่าว