เก้าอี้ผู้บริหาร 2 บลจ.ค่ายเล็ก "นครหลวงฯ-แมนูไลฟ์" ว่าง หลัง "อัจฉรา สุทธิศิริกุล" และ "อลัน แคม" ลาออก โดย "อัจฉรา" เผยเป็นความตั้งใจตั้งแต่แรกแล้วที่จะทำงานนี้ประมาณ 5 ปี ระบุตลอดเวลาที่ผ่านมา พิสูจน์ความสำเร็จได้เป็นอย่างดี ทั้งจำนวนเอยูเอ็มและความเชื่อมั่นจากลูกค้า คาดอีก 2 ปีข้างหน้าบลจ.นครหลวงไทยคืนทุนได้ ด้าน "อลัน" พร้อมพนักงานรวม 5 คน แท๊กทีมลาออกจากค่ายแมนูไลฟ์ ส่วนสาเหตุไม่ได้รับการเปิดเผย ส่วนนายกสมาคมฯ เผย กองทุนรวมทั้งปีนี้ โต 5% เหตุแบงก์พาณิชย์ดูดเงิน
นางสาวอัจฉรา สุทธิศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า ตนได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบลจ.นครหลวงไทยแล้ว โดยจะมีผลในวันที่ 15 สิงหาคมนี้ และการลาออกในครั้งนี้ เป็นความตั้งใจตั้งแต่ต้นว่าจะทำงานในธุรกิจจัดการกองทุนนี้ประมาณ 5 ปี เพราะช่วงเวลาดังกล่าวสามารถพิสูจน์การทำงานได้ว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งตั้งแต่เริ่มต้นมาจนถึงวันนี้ ก็พิสูจน์ได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ของสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร กำไรของผู้ถือหุ้น และจุดยืนของบริษัท โดยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา บลจ.นครหลวงไทยก็เป็นที่รู้จักของลูกค้าและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี ไม่ทำเงินใครเสียหาย
ส่วนเป้าหมายหลังจากนี้ ยังไม่ได้วางแผนว่าจะทำอะไรต่อ ส่วนงานในธุรกิจจัดการกองทุนก็ยังบอกไม่ได้ว่าจะกลับเข้ามาทำอีกเหรอไม่ เพราะช่วงเวลาเกือบ 5 ปีที่ผ่านมาก็รู้สึกอิ่มตัวกับงานแล้ว แต่โดยส่วนตัวชอบงานบริการเงินมากกว่า เพราะเงินไม่มีปากมีเสียงเหมือนคน อีกทั้งยังเป็นอาชีพหลักของเราตั้งแต่ต้นก่อนจะเข้ามาทำงานบริหารจัดการกองทุน นอกจากนี้ ยังอยากสอนหนังสือด้วย
"ก่อนเข้ามาก็ตั้งใจไว้แล้วว่า จะอยู่ที่นี้ประมาณ 4-5 ปี ซึ่งช่วงเวลาที่ผ่านมาก็ทำให้บลจ.นครหลวงไทยเป็นที่รู้จักของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ส่วนจะไปทำอะไรต่อนั้น ตอนนี้คงบอกตอนนี้ไม่ได้ว่าจะกลับเข้ามาทำงานด้านธุรกิจจัดการกองทุนอีกหรือไม่ แต่ถ้าจะทำต่อคงอยู่ที่นี้ไม่ลาออกไปไหน อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวแล้วชอบงานบริหารจัดการเงินมากที่สุด เพราะเงินไม่มีปากเสียงเหมือนคน แต่ตอนนี้ยังไม่มีใครมาติดต่อให้ไปทำงานที่ไหน"นางสาวอัจฉรากล่าว
นางสาวอัจฉรากล่าวว่า ตนเข้ามาทำงานในบลจ.นครหลวงไทยตั้งแต่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจจัดการกองทุน (ไลเซนต์) โดยเป็นการเข้ามาสานต่อจากธนาคารนครหลวงไทยที่อยู่ระหว่างขอไลเซนต์ ซึ่งในช่วงนั้น ยังไม่มีทีมงานเลยสักคน โดยตนเองเป็นคนไปปสัมภาษณ์กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพียงคนเดียว เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีบริษัท และยังไม่รู้ว่าจะได้ไลเซนต์หรือไม่และได้ได้ดำเนินงานเมื่อไหร่ แต่หลังจากผ่านการพิจารณาจาก สำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว ทีมงานจึงตามมา โดยในช่วงต้นมีพนักงานประมาณ 10 กว่าคน ก่อนจะเพิ่มเป็น 20 คนในช่วงหลังจากนั้น 2 ปี และเพิ่มเป็นประมาณ 52 คนในปัจจุบัน
ทั้งนี้ ในช่วงเริ่มต้นบลจ.นครหลวงไทยมีเพียงธุรกิจกองทุนรวมเท่านั้น ก่อนจะขยายธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลเข้ามาด้วย ซึ่งเราเองต้องการทำให้แข็งแกร่งไปทีละอย่าง เพราะด้วยจำนวนคนค่อนข้างน้อยทำให้เริ่มต้นหลายอย่างไม่ได้ อีกทั้งจะทำให้คืนทุนช้า (เบรกอีเวนต์) อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าอีก 2 ปีหลังจากนี้ บลจ.นครหลวงไทยน่าจะสามารถคืนทุนได้ เพราะเราเริ่มต้นด้วยการใช้คนไม่เยอะ ทำให้ไม่ต้องแบกต้นทุนสูงมาก
"เราเริ่มต้นประมาณปี 2546 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นจากศูนย์ ตั้งแต่การขอไลเซนต์ การหาทีมงาน การหาออฟฟิต ซึ่งหลังจากนั้น การทำงานของเราก็ค่อยเป็นค่อยไป การจัดการเงินเป็นเรื่องที่ไม่ยากเท่าไหร่ แต่การที่ต้องจัดการคนด้วยถือเป็นเรื่องยากพอสมควร"นางสาวอัจฉรากล่าว
ปัจจุบัน บลจ.นครหลวงไทย มรสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารรวมทั้งสิ้น 44,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นกองทุนรวมประมาณ 41,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นกองทุนส่วนบุคคล โดยแผนงานหลังจากนี้ คาดว่าจะเปิดขายกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เออร์บานา สาธรได้ แต่ยังรอจังหวะให้ตลากหุ้นดูดีกว่านี้ก่อน โดยกองทุนดังกล่าวการันตีผลตอบแทน 3 ปี ในอัตรา 8%, 9% และ 10% ตามลำดับ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นายอลัน แคม ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ลาออกจากบลจ.แมนูไลฟ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากนายอลันแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่การตลาดและพนักงานลาออกรวม 5 คนด้วยกัน ซึ่งจากการสอบถามยังนายอลัน แคม ยอมรับว่าได้ลาออกจริง แต่ไม่ได้บอกว่าเพราะสาเหตุอะไร เพราะตนออกมาแล้ว คงต้องรอให้ทางบลจ.แมนูไลฟ์ออกมาชี้แจงเอง
สำหรับนายอลัน แคม ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกบลจ.แมนูไลฟ์ ในการบุกธุรกิจจัดการกองทุนของกลุ่มแมนูไลฟ์ในประเทศไทย โดยเข้ามาเริ่มต้นงานตั้งแต่บลจ.แมนูไลฟ์ยังไม่เปิดตัวธุรกิจอย่างเป็นทางการ ซึ่งบลจ.แมนูไลฟ์เอง เพิ่งครบรอบการดำเนินงาน 1 ปี ในช่วงเดือนพฤศภาคมที่ผ่านมา โดยในปีแรกนั้นบริษัทสามารถระดมทุนได้เกินเป้าหมาย ด้วยสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการที่เพิ่มขึ้นเป็น 2,522 ล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 1,200 ล้านบาท และล่าสุดเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2,900 ล้านบาทในปัจจุบัน
**กองทุนรวมทั้งปีโต5%**
นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมและประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนรวม สมาคมบริษัทจัดการลงทุน และกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมในปีนี้คาดว่าจะอยู่ในระดับ 5% ซึ่งในตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงปัจจุบันมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 1% เนื่องจากธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งต้องการระดมเงินเพื่อนำมาปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งมีการออกหุ้นกู้ พันธบัตร ออกมามาก จึงเป็นสาเหตุที่มาดูดเงินออกไปจากระบบกองทุนรวม
“เดิมเรามองว่าปีนี้อุตสาหกรรมกองทุนรวมจะโตประมาณ 20-25% แต่ตอนนี้มองว่าโตแค่ 5% ก็เก่งแล้ว เพราะเริ่มมีการแย่งเงินกันมากขึ้น ทั้งเงินฝาก หุ้นกู้ เพื่อมาดูดเงินออกไป ส่วนของ บลจ. เราก็ยังคงโตได้มากกว่า 1% ” นางวรวรรณ กล่าว
ทั้งนี้จากการมีธนาคารพาณิชย์เป็นบริษัทแม่เมื่อมีการระดมทุนในเวลาพร้อมๆ กัน จะเลือกดูว่าถ้าผลิตภัณฑ์ที่ธนาคารนำเสนอออกมามีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เท่ากันก็จะแนะนำให้ลูกค้าไปซื้อสินค้าของธนาคารมากกว่า เพราะการลงทุนในกองทุนจะต้องเสียค่าธรรมเนียม(ค่าฟี) ในการบริหารจัดการเพิ่ม
“ในปีนี้เราคงใช้เครือข่ายบริษัทแม่น้อย แต่เราเน้นร่วมกับสาขามากขึ้น ในการไปออกบูธพร้อมๆ กับสาขา เราจะไม่เน้นการแย่งลูกค้ากับแบงก์ โดยเน้นระบบที่ตอนนี้เราพัฒนาไปทัดเทียบกับคู่แข่งได้แล้ว” นางวรวรรณ กล่าว
ด้านนายฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อยุธยา จำกัด กล่าวว่า มูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการ(AUM) ในช่วงครึ่งปีแรกติดลบอยู่ประมาณไม่ถึง 10% จากปีก่อนที่มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 20% ซึ่งเหตุผลหลักมาจากตราสารหนี้ที่ลดลง นักลงทุนเข้ามาไม่ลงทุนมากนักจึงทำให้เอยูเอ็มปรับตัวลดลง
“เรามองว่าทั้งปีโตได้ในระดับเดิมก็ดีแล้ว ซึ่งมีเม็ดเงินไหลเข้าประมาณ 5 พันล้านบาท แต่ถ้าอยากจะได้มากกว่านั้นเราหวังไว้ที่ 1 หมื่นล้านบาท คงต้องคุยกับแบงค์มากขึ้น การแข่งขันกับแบงค์แม่ของธุรกิจนี้นั้น บางแบงค์ใช้เงินฝากเยอะบางแบงค์ก็ไม่ใช่ ซึ่งแบงค์ของ AYF ใช้เงินเยอะที่จะดึงเงินฝาก” นายฉัตรพี กล่าว
ทั้งนี้ประเมินอัตราการเติบโตในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะมีอัตราการเติบโตที่ดีกว่าครึ่งปีแรก ซึ่งจะมีการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น กองทุนรวมจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งให้กับนักลงทุน หลังจากสถาบันประกันเงินฝากมีผลบังคับใช้
นอกจากนี้ในครึ่งปีหลังยังมีแผนที่จะเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ และกองทุนหุ้นระยะยาว(LTF) ซึ่งจะออกผลิตภัณฑ์เพื่อลงทุนหุ้นในต่างประเทศ อาทิ ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์(คอมมอดิตี้)
นางสาวอัจฉรา สุทธิศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า ตนได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบลจ.นครหลวงไทยแล้ว โดยจะมีผลในวันที่ 15 สิงหาคมนี้ และการลาออกในครั้งนี้ เป็นความตั้งใจตั้งแต่ต้นว่าจะทำงานในธุรกิจจัดการกองทุนนี้ประมาณ 5 ปี เพราะช่วงเวลาดังกล่าวสามารถพิสูจน์การทำงานได้ว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งตั้งแต่เริ่มต้นมาจนถึงวันนี้ ก็พิสูจน์ได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ของสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร กำไรของผู้ถือหุ้น และจุดยืนของบริษัท โดยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา บลจ.นครหลวงไทยก็เป็นที่รู้จักของลูกค้าและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี ไม่ทำเงินใครเสียหาย
ส่วนเป้าหมายหลังจากนี้ ยังไม่ได้วางแผนว่าจะทำอะไรต่อ ส่วนงานในธุรกิจจัดการกองทุนก็ยังบอกไม่ได้ว่าจะกลับเข้ามาทำอีกเหรอไม่ เพราะช่วงเวลาเกือบ 5 ปีที่ผ่านมาก็รู้สึกอิ่มตัวกับงานแล้ว แต่โดยส่วนตัวชอบงานบริการเงินมากกว่า เพราะเงินไม่มีปากมีเสียงเหมือนคน อีกทั้งยังเป็นอาชีพหลักของเราตั้งแต่ต้นก่อนจะเข้ามาทำงานบริหารจัดการกองทุน นอกจากนี้ ยังอยากสอนหนังสือด้วย
"ก่อนเข้ามาก็ตั้งใจไว้แล้วว่า จะอยู่ที่นี้ประมาณ 4-5 ปี ซึ่งช่วงเวลาที่ผ่านมาก็ทำให้บลจ.นครหลวงไทยเป็นที่รู้จักของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ส่วนจะไปทำอะไรต่อนั้น ตอนนี้คงบอกตอนนี้ไม่ได้ว่าจะกลับเข้ามาทำงานด้านธุรกิจจัดการกองทุนอีกหรือไม่ แต่ถ้าจะทำต่อคงอยู่ที่นี้ไม่ลาออกไปไหน อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวแล้วชอบงานบริหารจัดการเงินมากที่สุด เพราะเงินไม่มีปากเสียงเหมือนคน แต่ตอนนี้ยังไม่มีใครมาติดต่อให้ไปทำงานที่ไหน"นางสาวอัจฉรากล่าว
นางสาวอัจฉรากล่าวว่า ตนเข้ามาทำงานในบลจ.นครหลวงไทยตั้งแต่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจจัดการกองทุน (ไลเซนต์) โดยเป็นการเข้ามาสานต่อจากธนาคารนครหลวงไทยที่อยู่ระหว่างขอไลเซนต์ ซึ่งในช่วงนั้น ยังไม่มีทีมงานเลยสักคน โดยตนเองเป็นคนไปปสัมภาษณ์กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพียงคนเดียว เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีบริษัท และยังไม่รู้ว่าจะได้ไลเซนต์หรือไม่และได้ได้ดำเนินงานเมื่อไหร่ แต่หลังจากผ่านการพิจารณาจาก สำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว ทีมงานจึงตามมา โดยในช่วงต้นมีพนักงานประมาณ 10 กว่าคน ก่อนจะเพิ่มเป็น 20 คนในช่วงหลังจากนั้น 2 ปี และเพิ่มเป็นประมาณ 52 คนในปัจจุบัน
ทั้งนี้ ในช่วงเริ่มต้นบลจ.นครหลวงไทยมีเพียงธุรกิจกองทุนรวมเท่านั้น ก่อนจะขยายธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลเข้ามาด้วย ซึ่งเราเองต้องการทำให้แข็งแกร่งไปทีละอย่าง เพราะด้วยจำนวนคนค่อนข้างน้อยทำให้เริ่มต้นหลายอย่างไม่ได้ อีกทั้งจะทำให้คืนทุนช้า (เบรกอีเวนต์) อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าอีก 2 ปีหลังจากนี้ บลจ.นครหลวงไทยน่าจะสามารถคืนทุนได้ เพราะเราเริ่มต้นด้วยการใช้คนไม่เยอะ ทำให้ไม่ต้องแบกต้นทุนสูงมาก
"เราเริ่มต้นประมาณปี 2546 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นจากศูนย์ ตั้งแต่การขอไลเซนต์ การหาทีมงาน การหาออฟฟิต ซึ่งหลังจากนั้น การทำงานของเราก็ค่อยเป็นค่อยไป การจัดการเงินเป็นเรื่องที่ไม่ยากเท่าไหร่ แต่การที่ต้องจัดการคนด้วยถือเป็นเรื่องยากพอสมควร"นางสาวอัจฉรากล่าว
ปัจจุบัน บลจ.นครหลวงไทย มรสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารรวมทั้งสิ้น 44,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นกองทุนรวมประมาณ 41,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นกองทุนส่วนบุคคล โดยแผนงานหลังจากนี้ คาดว่าจะเปิดขายกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เออร์บานา สาธรได้ แต่ยังรอจังหวะให้ตลากหุ้นดูดีกว่านี้ก่อน โดยกองทุนดังกล่าวการันตีผลตอบแทน 3 ปี ในอัตรา 8%, 9% และ 10% ตามลำดับ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นายอลัน แคม ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ลาออกจากบลจ.แมนูไลฟ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากนายอลันแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่การตลาดและพนักงานลาออกรวม 5 คนด้วยกัน ซึ่งจากการสอบถามยังนายอลัน แคม ยอมรับว่าได้ลาออกจริง แต่ไม่ได้บอกว่าเพราะสาเหตุอะไร เพราะตนออกมาแล้ว คงต้องรอให้ทางบลจ.แมนูไลฟ์ออกมาชี้แจงเอง
สำหรับนายอลัน แคม ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกบลจ.แมนูไลฟ์ ในการบุกธุรกิจจัดการกองทุนของกลุ่มแมนูไลฟ์ในประเทศไทย โดยเข้ามาเริ่มต้นงานตั้งแต่บลจ.แมนูไลฟ์ยังไม่เปิดตัวธุรกิจอย่างเป็นทางการ ซึ่งบลจ.แมนูไลฟ์เอง เพิ่งครบรอบการดำเนินงาน 1 ปี ในช่วงเดือนพฤศภาคมที่ผ่านมา โดยในปีแรกนั้นบริษัทสามารถระดมทุนได้เกินเป้าหมาย ด้วยสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการที่เพิ่มขึ้นเป็น 2,522 ล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 1,200 ล้านบาท และล่าสุดเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2,900 ล้านบาทในปัจจุบัน
**กองทุนรวมทั้งปีโต5%**
นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมและประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนรวม สมาคมบริษัทจัดการลงทุน และกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมในปีนี้คาดว่าจะอยู่ในระดับ 5% ซึ่งในตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงปัจจุบันมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 1% เนื่องจากธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งต้องการระดมเงินเพื่อนำมาปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งมีการออกหุ้นกู้ พันธบัตร ออกมามาก จึงเป็นสาเหตุที่มาดูดเงินออกไปจากระบบกองทุนรวม
“เดิมเรามองว่าปีนี้อุตสาหกรรมกองทุนรวมจะโตประมาณ 20-25% แต่ตอนนี้มองว่าโตแค่ 5% ก็เก่งแล้ว เพราะเริ่มมีการแย่งเงินกันมากขึ้น ทั้งเงินฝาก หุ้นกู้ เพื่อมาดูดเงินออกไป ส่วนของ บลจ. เราก็ยังคงโตได้มากกว่า 1% ” นางวรวรรณ กล่าว
ทั้งนี้จากการมีธนาคารพาณิชย์เป็นบริษัทแม่เมื่อมีการระดมทุนในเวลาพร้อมๆ กัน จะเลือกดูว่าถ้าผลิตภัณฑ์ที่ธนาคารนำเสนอออกมามีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เท่ากันก็จะแนะนำให้ลูกค้าไปซื้อสินค้าของธนาคารมากกว่า เพราะการลงทุนในกองทุนจะต้องเสียค่าธรรมเนียม(ค่าฟี) ในการบริหารจัดการเพิ่ม
“ในปีนี้เราคงใช้เครือข่ายบริษัทแม่น้อย แต่เราเน้นร่วมกับสาขามากขึ้น ในการไปออกบูธพร้อมๆ กับสาขา เราจะไม่เน้นการแย่งลูกค้ากับแบงก์ โดยเน้นระบบที่ตอนนี้เราพัฒนาไปทัดเทียบกับคู่แข่งได้แล้ว” นางวรวรรณ กล่าว
ด้านนายฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อยุธยา จำกัด กล่าวว่า มูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการ(AUM) ในช่วงครึ่งปีแรกติดลบอยู่ประมาณไม่ถึง 10% จากปีก่อนที่มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 20% ซึ่งเหตุผลหลักมาจากตราสารหนี้ที่ลดลง นักลงทุนเข้ามาไม่ลงทุนมากนักจึงทำให้เอยูเอ็มปรับตัวลดลง
“เรามองว่าทั้งปีโตได้ในระดับเดิมก็ดีแล้ว ซึ่งมีเม็ดเงินไหลเข้าประมาณ 5 พันล้านบาท แต่ถ้าอยากจะได้มากกว่านั้นเราหวังไว้ที่ 1 หมื่นล้านบาท คงต้องคุยกับแบงค์มากขึ้น การแข่งขันกับแบงค์แม่ของธุรกิจนี้นั้น บางแบงค์ใช้เงินฝากเยอะบางแบงค์ก็ไม่ใช่ ซึ่งแบงค์ของ AYF ใช้เงินเยอะที่จะดึงเงินฝาก” นายฉัตรพี กล่าว
ทั้งนี้ประเมินอัตราการเติบโตในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะมีอัตราการเติบโตที่ดีกว่าครึ่งปีแรก ซึ่งจะมีการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น กองทุนรวมจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งให้กับนักลงทุน หลังจากสถาบันประกันเงินฝากมีผลบังคับใช้
นอกจากนี้ในครึ่งปีหลังยังมีแผนที่จะเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ และกองทุนหุ้นระยะยาว(LTF) ซึ่งจะออกผลิตภัณฑ์เพื่อลงทุนหุ้นในต่างประเทศ อาทิ ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์(คอมมอดิตี้)