ธปท.มั่นใจปีแรกประกาศใช้พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากจะไม่มีการโยกเงิน เพราะยังคุ้มครองเต็มจำนวน แต่สั่งกำชับแบงก์ติดตามพฤติกรรมของผู้ฝากเงินอย่างใกล้ชิดพร้อมทั้งสั่งทำแผนฉุกเฉินหากเกิดการเคลื่อนย้ายเงินฝากผิดปกติ จับตากรณีปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอย่างผิดปกติเพื่อเร่งระดมเงินฝากมาพยุงฐานะ
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากพ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากที่จะประกาศใช้ในวันที่ 11 ส.ค.นี้คาดว่าในปีแรกจะไม่มีปัญหาการเคลื่อนย้ายเงิน เพราะวงเงินเงินยังได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวน แต่หลังจากนั้นได้สั่งให้ธนาคารพาณิชย์ติดตามพฤติกรรมของผู้ฝากเงินอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งทำแผนฉุกเฉินหากเกิดการเคลื่อนย้ายเงินฝากผิดปกติ และไม่ห่วงว่าจะมีการโยกเงินฝากไปสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งได้รับการคุ้มครองจากภาครัฐ เพราะโดยทั่วไปหากสถาบันการเงินของรัฐมีเงินฝากมากกว่าการปล่อยสินเชื่อจะสร้างต้นทุนและได้รับผลตอบแทนน้อย จึงเชื่อว่าต่อไปสถาบันการเงินในระบบจะปรับตัวได้เองตามกลไกตลาด
ขณะเดียวกันในกฎหมายคุ้มครองเงินฝากฉบับนี้ได้กำหนดให้คณะกรรมการควบคุมกิจการสามารถปรับลดปริมาณเงินฝากและดอกเบี้ยจ่ายได้ในกรณีที่สถาบันการเงินในระบบที่ส่อเค้าถูกปิดกิจการแล้วมีการระดมเงินฝากมาพยุงฐานะผ่านการให้ดอกเบี้ยจ่ายสูงเกินตลาด เพื่อจูงใจผู้ฝากเงิน ถือไม่เป็นธรรมกับสถาบันการเงินรายอื่นในระบบได้ อีกทั้งต่อไปรัฐบาลสามารถเพิ่มวงเงินคุ้มครองก็ได้หรือเพิ่มการคุ้มครองผู้ฝากเงินประเภทอื่นเพิ่มเติมจากปัจจุบันก็ได้
“ธปท.จะไม่ให้ความช่วยเหลือเป็นรายสถาบันการเงิน แต่เมื่อใดหากสถาบันการเงินรายนั้นส่งผลให้ระบบเกิดปัญหาเราจะนำเงินไปช่วยไม่ให้สภาพคล่องในระบบเกิดปัญหาตามไปด้วย”
นายสรสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนเรื่องที่ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐเลื่อนใช้มาตรการทางการบัญชีระหว่างประเทศ(ไอเอเอส39)ไม่มีกำหนดนั้นเป็นมองว่าสถาบันการเงินดังกล่าวมีกฎหมายเฉพาะที่คลังกำกับดูแลอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของสถาบันการเงินนั้นๆ และธุรกิจที่แตกต่างกัน จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่ต้องดูแล ขณะที่ธปท.มีหน้าที่เฉพาะเข้าไปตรวจสอบเท่านั้น ฉะนั้น แม้ธนาคารเฉพาะกิจจะมีหลักเกณฑ์ 2 มาตรฐานจากส่วนที่ธปท.ใช้ดูแลธนาคารพาณิชย์และในส่วนของกระทรวงการคลังก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกิดปัญหาจริงเชื่อว่าทางการจะเข้าไปดูแล ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่รัฐจะไม่ให้สถาบันการเงินของรัฐล้ม เพราะสูญเสียเงินภาษีของประชาชน
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากพ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากที่จะประกาศใช้ในวันที่ 11 ส.ค.นี้คาดว่าในปีแรกจะไม่มีปัญหาการเคลื่อนย้ายเงิน เพราะวงเงินเงินยังได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวน แต่หลังจากนั้นได้สั่งให้ธนาคารพาณิชย์ติดตามพฤติกรรมของผู้ฝากเงินอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งทำแผนฉุกเฉินหากเกิดการเคลื่อนย้ายเงินฝากผิดปกติ และไม่ห่วงว่าจะมีการโยกเงินฝากไปสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งได้รับการคุ้มครองจากภาครัฐ เพราะโดยทั่วไปหากสถาบันการเงินของรัฐมีเงินฝากมากกว่าการปล่อยสินเชื่อจะสร้างต้นทุนและได้รับผลตอบแทนน้อย จึงเชื่อว่าต่อไปสถาบันการเงินในระบบจะปรับตัวได้เองตามกลไกตลาด
ขณะเดียวกันในกฎหมายคุ้มครองเงินฝากฉบับนี้ได้กำหนดให้คณะกรรมการควบคุมกิจการสามารถปรับลดปริมาณเงินฝากและดอกเบี้ยจ่ายได้ในกรณีที่สถาบันการเงินในระบบที่ส่อเค้าถูกปิดกิจการแล้วมีการระดมเงินฝากมาพยุงฐานะผ่านการให้ดอกเบี้ยจ่ายสูงเกินตลาด เพื่อจูงใจผู้ฝากเงิน ถือไม่เป็นธรรมกับสถาบันการเงินรายอื่นในระบบได้ อีกทั้งต่อไปรัฐบาลสามารถเพิ่มวงเงินคุ้มครองก็ได้หรือเพิ่มการคุ้มครองผู้ฝากเงินประเภทอื่นเพิ่มเติมจากปัจจุบันก็ได้
“ธปท.จะไม่ให้ความช่วยเหลือเป็นรายสถาบันการเงิน แต่เมื่อใดหากสถาบันการเงินรายนั้นส่งผลให้ระบบเกิดปัญหาเราจะนำเงินไปช่วยไม่ให้สภาพคล่องในระบบเกิดปัญหาตามไปด้วย”
นายสรสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนเรื่องที่ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐเลื่อนใช้มาตรการทางการบัญชีระหว่างประเทศ(ไอเอเอส39)ไม่มีกำหนดนั้นเป็นมองว่าสถาบันการเงินดังกล่าวมีกฎหมายเฉพาะที่คลังกำกับดูแลอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของสถาบันการเงินนั้นๆ และธุรกิจที่แตกต่างกัน จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่ต้องดูแล ขณะที่ธปท.มีหน้าที่เฉพาะเข้าไปตรวจสอบเท่านั้น ฉะนั้น แม้ธนาคารเฉพาะกิจจะมีหลักเกณฑ์ 2 มาตรฐานจากส่วนที่ธปท.ใช้ดูแลธนาคารพาณิชย์และในส่วนของกระทรวงการคลังก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกิดปัญหาจริงเชื่อว่าทางการจะเข้าไปดูแล ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่รัฐจะไม่ให้สถาบันการเงินของรัฐล้ม เพราะสูญเสียเงินภาษีของประชาชน