กบข.ซึมพิษตลาดหุ้นผันผวนทั่วโลก ยอมรับผลการดำเนินงานทั้งปีนี้ อาจไม่ดีเท่าปีที่แล้ว เพราะยังประเมินตลาดอีก 6 เดือนข้างหน้าไม่ออก ระบุเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น กดกัน กบข. ปรับแนวคิดการลงทุนใหม่ หันมาถือเงินสดรอจังหวะหากทุกอย่างเริ่มนิ่ง ทั้งการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ประเมินตลาดหุ้นไทย อาจไม่ใช้เป้าหมายของนักลงทุนต่างชาติตลาดเดียว เหตุจีน-ฮ่องกง ก็ปรับลงเช่นกัน แถมพื้ยฐานเศรษฐกิจ-การเมืองยังดีกว่า
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) เปิดเผยว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนของกบข.ทั้งปีนี้ อาจจะไม่ดีเท่ากับปีที่แล้วที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ประมาณ 9% เนื่องจากความผันผวนอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทยที่ลดลงมากว่า 15-20% แล้ว ขณะเดียวกันภาพการลงทุนในอีก 6 เดือนข้างหน้าก็ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้
ทั้งนี้ จากความผันผวนดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการบริหารเงินของกองทุนทั่วโลกอยู่แล้ว ซึ่งปัจจัยหลักในขณะนี้คือ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ กบข. ต้องปรับแนวคิดการลงทุนใหม่ โดยหันมาถือเงินสดมากขึ้นเพื่อจังหวะการลงทุนในภาวะที่ทุกอย่างกลับมานิ่งมากกว่านี้ นอกจากนั้น ยังต้องตัดสินใจลงทุนอย่างระมัดระวังด้วย
อย่างไรก็ตาม กบข.มองว่าตลอดทั้งปีนี้เงินเฟ้อเฉลี่ยของไทยอาจจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 7-8% หลังจากปรับขึ้นมาถึง 7% กว่าแล้วในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งแนวโนมดังกล่าวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งภูมิภาคไม่ใช่ประเทศไทยประเทศเดียว และแน่นอนว่าหลังจากนี้ จะเริ่มเห็นอัตราดอกเบี้ยในภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้น ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในประเทศเองคงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐว่าจะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัว หากขึ้นดอกเบี้ยสูงอาจจะกระทบ ดังนั้น จึงมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นผลดีในปีหน้ามากกว่า
“ช่วง 15 ปีก่อนประเทศไทยเคยมีเงินเฟ้อสูง อัตราดอกเบี้ยก็สูง การลงทุนของกบข.ในภาวะเช่นนี้จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการลงทุน โดยมีการถือครองเงินสดมากขึ้นเพื่อรอให้ภาวะตลาดนิ่งกว่านี้ก่อนที่จะลงทุน อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วการลงทุนของกบข.ตั้งเป้าที่จะสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าเงินเฟ้อระยะยาว 12 ปี ประมาณ 2.7% แต่ในปีนี้ที่เงินเฟ้อปรับตัวขึ้นมาสูงต้องยอมรับว่าการที่จะสร้างผลตอบแทนให้ชนะเงินเฟ้อเป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่ผลตอบแทนที่กบข.ทำไว้ในอดีตที่สะสมมาในช่วง 10 ปีให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8.24% นั้น น่าจะมาช่วยชดเชยการลงทุนในปีที่ภาวะการลงทุนไม่สู้ดีนักเช่นในปีนี้ได้บ้างพอสมควร"นายวิสิฐกล่าว
นายวิสิฐกล่าวว่า สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยของ กบข. ยังไม่ได้มีการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างมีนัยยะสำคัญหลังดัชนีผันผวนอย่างหนัก โดยยังคงให้น้ำหนักการลงทุนเท่าเดิมประมาณ 10-11% ซึ่งมีบางส่วนบ้างที่ถือเป็นเงินสดเอาไว้ อย่างไรก็ตาม มองว่าตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาคก็ไม่ถือว่าถูก เพราะในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นอื่นก็ปรับตัวลงมามากเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ไทยเองยังมีปัญหาการเมืองในประเทศอยู่ด้วย ดังนั้น ในมุมมองของนักลงทุนต่างประเทศคงจะมองเปรียบเทียบตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นอื่นเช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตาม จากการที่นักลงต่างชาติถอนเงินลงทุนจากตลาดหุ้นในเอเชียรวมถึงไทยออกไป คงยังไม่เห็นการกลับเข้ามาลงทุนในช่วงนี้ เนื่องจากเงินลงทุนที่ออกไปส่วนใหญ่ไปหาผลตอบแทนจากการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) เป็นหลัก
สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ กบข.ได้มีการปรับอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ (Duration) ที่ลงทุนให้สั้นลงเหลือประมาณ 2 ปี เพราะดอกเบี้ยในประเทศมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นได้ ซึ่งอาจจะทำให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวลดลงเมื่อทำการตีมูลค่าตรราสารหนี้ในราคาตลาด (Mark to Market) แต่เมื่อดอกเบี้ยในประเทศปรับตัวขึ้นมาแล้ว การขยับไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางน่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นอาจจะได้รับผลกระทบบ้าง จากดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นในระยะแรกเมื่อคำนวณมูลค่าตราสารหนี้ในราคาตลาด
ส่วนการลงทุนต่างประเทศ นายวิสิฐกล่าวว่า ปัจจุบันกบข.มีแผนที่จะลงทุนในหุ้นต่างประเทศเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว โดยจะเน้นการลงทุนในนิติบุคคลต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศด้วย แต่ในขณะนี้ กบข.ยังไม่รีบร้อนที่จะนำเงินออกไปลงทุน จนกว่าทุกอย่างจะชัดเจน โดยเฉพาะเศรษฐกิจของโลกต้องมีเสถียรภาพเพียงพอ เพราะตราบใดที่ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) สหรัฐยังไม่จบ โอกาสที่ตลาดหุ้นทั่วโลกจะผันผวนก็ยังมีอยู่ เพราะธนาคารกลางสหรัฐเองก็ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพราะกลัวกระทบกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ในขณะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวลงมาแล้ว 15-20% ก็ยังไม่รู้ว่าจะปรับตัวลงไปอีกหรือไม่
ทั้งนี้ เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐยังมีปัญหา ก็จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าตามไปด้วย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้คนโยกเงินออกจากสินทรัพย์ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ไปสู่น้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยการเก็งกำไรด้วย
"เงินที่ไหลออกทั่วเอเชียไม่ได้เข้าไปที่ตลาดหุ้น เพราะตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมาก็ปรับตัวลงประมาณ 15-20% ซึ่งส่งผลให้กองทุนที่ลงทุนในหุ้นทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ถ้าตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงมามากก็เป็นโอกาสที่จะกลับเข้าไปลงทุนเพิ่มได้เช่นกัน รวมถึงหุ้นตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกก็เป็นภูมิภาคที่น่าสนใจ"นายวิสิฐกล่าว
สำหรับกรอบการลงทุนของกบข.ในปัจจุบัน ได้กำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศไว้ที่ 59% ตราสารหนี้ต่างประเทศ 4% ตลาดหุ้นไทย 11.5% ตลาดหุ้นต่างประเทศ 12% อสังหาริมทรัพย์ในประเทศ 4% การลงทุนทางเลือก 4% นิติบุคคลต่างประเทศ 3% และอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ 2.5% โดยเพดานการลงทุนในต่างประเทศอยู่ที่ 25% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนนั้น จะลงทุนจริงอยู่ประมาณ 21.5% เท่านั้น
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) เปิดเผยว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนของกบข.ทั้งปีนี้ อาจจะไม่ดีเท่ากับปีที่แล้วที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ประมาณ 9% เนื่องจากความผันผวนอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทยที่ลดลงมากว่า 15-20% แล้ว ขณะเดียวกันภาพการลงทุนในอีก 6 เดือนข้างหน้าก็ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้
ทั้งนี้ จากความผันผวนดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการบริหารเงินของกองทุนทั่วโลกอยู่แล้ว ซึ่งปัจจัยหลักในขณะนี้คือ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ กบข. ต้องปรับแนวคิดการลงทุนใหม่ โดยหันมาถือเงินสดมากขึ้นเพื่อจังหวะการลงทุนในภาวะที่ทุกอย่างกลับมานิ่งมากกว่านี้ นอกจากนั้น ยังต้องตัดสินใจลงทุนอย่างระมัดระวังด้วย
อย่างไรก็ตาม กบข.มองว่าตลอดทั้งปีนี้เงินเฟ้อเฉลี่ยของไทยอาจจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 7-8% หลังจากปรับขึ้นมาถึง 7% กว่าแล้วในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งแนวโนมดังกล่าวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งภูมิภาคไม่ใช่ประเทศไทยประเทศเดียว และแน่นอนว่าหลังจากนี้ จะเริ่มเห็นอัตราดอกเบี้ยในภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้น ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในประเทศเองคงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐว่าจะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัว หากขึ้นดอกเบี้ยสูงอาจจะกระทบ ดังนั้น จึงมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นผลดีในปีหน้ามากกว่า
“ช่วง 15 ปีก่อนประเทศไทยเคยมีเงินเฟ้อสูง อัตราดอกเบี้ยก็สูง การลงทุนของกบข.ในภาวะเช่นนี้จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการลงทุน โดยมีการถือครองเงินสดมากขึ้นเพื่อรอให้ภาวะตลาดนิ่งกว่านี้ก่อนที่จะลงทุน อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วการลงทุนของกบข.ตั้งเป้าที่จะสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าเงินเฟ้อระยะยาว 12 ปี ประมาณ 2.7% แต่ในปีนี้ที่เงินเฟ้อปรับตัวขึ้นมาสูงต้องยอมรับว่าการที่จะสร้างผลตอบแทนให้ชนะเงินเฟ้อเป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่ผลตอบแทนที่กบข.ทำไว้ในอดีตที่สะสมมาในช่วง 10 ปีให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8.24% นั้น น่าจะมาช่วยชดเชยการลงทุนในปีที่ภาวะการลงทุนไม่สู้ดีนักเช่นในปีนี้ได้บ้างพอสมควร"นายวิสิฐกล่าว
นายวิสิฐกล่าวว่า สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยของ กบข. ยังไม่ได้มีการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างมีนัยยะสำคัญหลังดัชนีผันผวนอย่างหนัก โดยยังคงให้น้ำหนักการลงทุนเท่าเดิมประมาณ 10-11% ซึ่งมีบางส่วนบ้างที่ถือเป็นเงินสดเอาไว้ อย่างไรก็ตาม มองว่าตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาคก็ไม่ถือว่าถูก เพราะในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นอื่นก็ปรับตัวลงมามากเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ไทยเองยังมีปัญหาการเมืองในประเทศอยู่ด้วย ดังนั้น ในมุมมองของนักลงทุนต่างประเทศคงจะมองเปรียบเทียบตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นอื่นเช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตาม จากการที่นักลงต่างชาติถอนเงินลงทุนจากตลาดหุ้นในเอเชียรวมถึงไทยออกไป คงยังไม่เห็นการกลับเข้ามาลงทุนในช่วงนี้ เนื่องจากเงินลงทุนที่ออกไปส่วนใหญ่ไปหาผลตอบแทนจากการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) เป็นหลัก
สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ กบข.ได้มีการปรับอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ (Duration) ที่ลงทุนให้สั้นลงเหลือประมาณ 2 ปี เพราะดอกเบี้ยในประเทศมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นได้ ซึ่งอาจจะทำให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวลดลงเมื่อทำการตีมูลค่าตรราสารหนี้ในราคาตลาด (Mark to Market) แต่เมื่อดอกเบี้ยในประเทศปรับตัวขึ้นมาแล้ว การขยับไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางน่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นอาจจะได้รับผลกระทบบ้าง จากดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นในระยะแรกเมื่อคำนวณมูลค่าตราสารหนี้ในราคาตลาด
ส่วนการลงทุนต่างประเทศ นายวิสิฐกล่าวว่า ปัจจุบันกบข.มีแผนที่จะลงทุนในหุ้นต่างประเทศเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว โดยจะเน้นการลงทุนในนิติบุคคลต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศด้วย แต่ในขณะนี้ กบข.ยังไม่รีบร้อนที่จะนำเงินออกไปลงทุน จนกว่าทุกอย่างจะชัดเจน โดยเฉพาะเศรษฐกิจของโลกต้องมีเสถียรภาพเพียงพอ เพราะตราบใดที่ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) สหรัฐยังไม่จบ โอกาสที่ตลาดหุ้นทั่วโลกจะผันผวนก็ยังมีอยู่ เพราะธนาคารกลางสหรัฐเองก็ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพราะกลัวกระทบกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ในขณะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวลงมาแล้ว 15-20% ก็ยังไม่รู้ว่าจะปรับตัวลงไปอีกหรือไม่
ทั้งนี้ เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐยังมีปัญหา ก็จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าตามไปด้วย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้คนโยกเงินออกจากสินทรัพย์ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ไปสู่น้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยการเก็งกำไรด้วย
"เงินที่ไหลออกทั่วเอเชียไม่ได้เข้าไปที่ตลาดหุ้น เพราะตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมาก็ปรับตัวลงประมาณ 15-20% ซึ่งส่งผลให้กองทุนที่ลงทุนในหุ้นทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ถ้าตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงมามากก็เป็นโอกาสที่จะกลับเข้าไปลงทุนเพิ่มได้เช่นกัน รวมถึงหุ้นตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกก็เป็นภูมิภาคที่น่าสนใจ"นายวิสิฐกล่าว
สำหรับกรอบการลงทุนของกบข.ในปัจจุบัน ได้กำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศไว้ที่ 59% ตราสารหนี้ต่างประเทศ 4% ตลาดหุ้นไทย 11.5% ตลาดหุ้นต่างประเทศ 12% อสังหาริมทรัพย์ในประเทศ 4% การลงทุนทางเลือก 4% นิติบุคคลต่างประเทศ 3% และอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ 2.5% โดยเพดานการลงทุนในต่างประเทศอยู่ที่ 25% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนนั้น จะลงทุนจริงอยู่ประมาณ 21.5% เท่านั้น