แบงก์กรุงไทยยืนเป้าหมายสินเชื่อที่อยู่อาศัย 20,000 ล้าน พร้อมปรับเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อใหม่ คุมเข้มตามความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น สั่งสาขาติดตามตัวเลขเอ็นพีแอลใกล้ชิด พร้อมเตรียมมาตรการรองรับภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ขณะที่แบงก์กรุงเทพยันการปรับขึ้นของดอกเบี้ยที่ผ่านมายังไม่กระทบลูกค้า และยังไม่พบสัญญาณการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล
นายธีรินทร์ เต่าทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย ฝ่ายผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เปิดเผยว่า ตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ธนาคารจะทำการปรับกลยุทธ์ในการคัดเลือกลูกค้าที่เข้ามาขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ เช่น จากเดิมที่ลูกค้าที่มีสกอริ่งที่ 70-75% ขึ้นไปทางธนาคารจึงจะอนุมัติสินเชื่อ เปลี่ยนเป็นจะต้องมีลูกค้ามีสกอริ่ง 80% ขึ้นไปจึงจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อ เป็นต้น
ทั้งนี้ ธนาคารมองว่าการทำธุรกิจให้ได้ตามเป้าหมายจะต้องมีความรอบคอบมากขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้นและเงินเฟ้อมีการปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งค่าเงินบาทน่าจะมีการอ่อนค่า ส่วนปัจจัยเรื่องของราคาน้ำมันซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้านั้นก็ได้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยมาตั้งแต่ช่วงปีที่ผ่านมา และเชื่อว่าในครึ่งปีหลังของปีนี้ผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวจะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
"เชื่อว่าในครึ่งปีหลังของปีนี้ผลกระทบจากเรื่องราคาน้ำมันและอื่นๆจะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุผลที่ธนาคารไม่รุกในการเพิ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากนักและได้เพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อใหม่ ส่วนการแข่งขันด้านราคาและบริการของธนาคารนั้นยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของไทยนั้นทางฝ่ายการเงินของธนาคารได้ประเมินว่าน่าจะขึ้นได้อีก 0.50%แต่ในส่วนของฝ่ายสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้วางกลยุทธ์รองรับการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.75-1% โดยวางกลยุทธ์ไว้ว่าหากมีการขึ้นดอกเบี้ยที่เกินกว่า 0.50% จะต้องมีโปรแกรมไปดูแลลูกค้าอย่างไรบ้าง และมีการติดตามดูแลหนี้ให้มากขึ้น"
นายธีรินทร์ กล่าวว่า สำหรับเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งปีนั้น ได้มีการทบทวนกันแล้วว่าจะยังคงยืนเป้าหมายเดิมที่จะปล่อยสินเชื่อใหม่สุทธิอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าน่าจะทำได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อสุทธิ 6 เดือน สามารถทำได้แล้วประมาณ 12,000 ล้านบาท โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายนสามารถปล่อยสินเชื่อได้สูงกว่าเป้าหมายต่อเดือนที่ตั้งไว้ว่าจะได้ประมาณเดือนละ 4,000 ล้านบาท โดยทำได้ถึง 4,600 ล้านบาท โดยปัจจุบันธนาคารมียอดสินเชื่อคงค้างของสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 145,000 ล้านบาท
"เท่าที่ทราบเป้าหมายสินเชื่อโดยรวมของแบงก์น่าจะยังคงเป้าหมายไว้ที่เดิม เนื่องจากจะมีการปรับเพิ่มลดเป้าหมายของสินเชื่อบางส่วน ซึ่งในส่วนของสินเชื่อบ้านนั้นยังคงเป้าหมายเดิม ส่วนของสินเชื่อคอร์ปเปอร์เรทก็ยังคงไว้เท่าเดิมเหมือนกัน ส่วนเอสเอ็มอีก็ยังบุกต่อ ส่วนสินเชื่อบุคคลนั้นได้มีการเพิ่มเป้าหมาย เนื่องจากครึ่งปีแรกยอดสินเชื่อโตค่อนข้างมากและเป็นส่วนที่แบงก์กำลังบุกตลาดอยู่"
ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)ของสินเชื่อที่อยู่อาศัย ขณะนี้ได้มีการกำชับไปที่สาขาของธนาคารทุกแห่งให้มีการดูถึงสัญญาณของเอ็นพีแอลอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมเอ็นพีแอลปีนี้ให้อยู่ที่ไม่เกิน 2% จากปัจจุบันอยู่ที่ 2%
**BBLระบุยังไม่พบสัญญาณหนี้เน่าพุ่ง**
นางรัชนี นพเมือง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการลูกค้าบุคคลนครหลวง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า จากที่ธนาคารได้ทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไปนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อลูกค้าแต่อย่างใด โดยปัจจุบันปัจจุบันลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารยังไม่มีสัญญาณอะไรที่บ่งบอกถึงการชำระหนี้ที่ล่าช้าผิดปกติ โดยเอ็นพีแอลของสินเชื่อที่อยู่อาศัยปัจจุบันอยู่ที่ 2% ไม่ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด และภายในสิ้นปีนี้ธนาคารจะพยายามลดเอ็นพีแอลดังกล่าวลง
ทั้งนี้ มองว่าอัตราดอกเบี้ยคงจะมีการปรับตัวขึ้นตามแนวโน้มของตลาด แต่จะเป็นช่วงเวลาใดไม่สามารถตอบได้ แต่ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยคงที่ของสินเชื่อบ้าน 1-3 ปีนั้นยังไม่มีการปรับขึ้นแต่อย่างใด
นายธีรินทร์ เต่าทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย ฝ่ายผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เปิดเผยว่า ตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ธนาคารจะทำการปรับกลยุทธ์ในการคัดเลือกลูกค้าที่เข้ามาขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ เช่น จากเดิมที่ลูกค้าที่มีสกอริ่งที่ 70-75% ขึ้นไปทางธนาคารจึงจะอนุมัติสินเชื่อ เปลี่ยนเป็นจะต้องมีลูกค้ามีสกอริ่ง 80% ขึ้นไปจึงจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อ เป็นต้น
ทั้งนี้ ธนาคารมองว่าการทำธุรกิจให้ได้ตามเป้าหมายจะต้องมีความรอบคอบมากขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้นและเงินเฟ้อมีการปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งค่าเงินบาทน่าจะมีการอ่อนค่า ส่วนปัจจัยเรื่องของราคาน้ำมันซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้านั้นก็ได้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยมาตั้งแต่ช่วงปีที่ผ่านมา และเชื่อว่าในครึ่งปีหลังของปีนี้ผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวจะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
"เชื่อว่าในครึ่งปีหลังของปีนี้ผลกระทบจากเรื่องราคาน้ำมันและอื่นๆจะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุผลที่ธนาคารไม่รุกในการเพิ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากนักและได้เพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อใหม่ ส่วนการแข่งขันด้านราคาและบริการของธนาคารนั้นยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของไทยนั้นทางฝ่ายการเงินของธนาคารได้ประเมินว่าน่าจะขึ้นได้อีก 0.50%แต่ในส่วนของฝ่ายสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้วางกลยุทธ์รองรับการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.75-1% โดยวางกลยุทธ์ไว้ว่าหากมีการขึ้นดอกเบี้ยที่เกินกว่า 0.50% จะต้องมีโปรแกรมไปดูแลลูกค้าอย่างไรบ้าง และมีการติดตามดูแลหนี้ให้มากขึ้น"
นายธีรินทร์ กล่าวว่า สำหรับเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งปีนั้น ได้มีการทบทวนกันแล้วว่าจะยังคงยืนเป้าหมายเดิมที่จะปล่อยสินเชื่อใหม่สุทธิอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าน่าจะทำได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อสุทธิ 6 เดือน สามารถทำได้แล้วประมาณ 12,000 ล้านบาท โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายนสามารถปล่อยสินเชื่อได้สูงกว่าเป้าหมายต่อเดือนที่ตั้งไว้ว่าจะได้ประมาณเดือนละ 4,000 ล้านบาท โดยทำได้ถึง 4,600 ล้านบาท โดยปัจจุบันธนาคารมียอดสินเชื่อคงค้างของสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 145,000 ล้านบาท
"เท่าที่ทราบเป้าหมายสินเชื่อโดยรวมของแบงก์น่าจะยังคงเป้าหมายไว้ที่เดิม เนื่องจากจะมีการปรับเพิ่มลดเป้าหมายของสินเชื่อบางส่วน ซึ่งในส่วนของสินเชื่อบ้านนั้นยังคงเป้าหมายเดิม ส่วนของสินเชื่อคอร์ปเปอร์เรทก็ยังคงไว้เท่าเดิมเหมือนกัน ส่วนเอสเอ็มอีก็ยังบุกต่อ ส่วนสินเชื่อบุคคลนั้นได้มีการเพิ่มเป้าหมาย เนื่องจากครึ่งปีแรกยอดสินเชื่อโตค่อนข้างมากและเป็นส่วนที่แบงก์กำลังบุกตลาดอยู่"
ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)ของสินเชื่อที่อยู่อาศัย ขณะนี้ได้มีการกำชับไปที่สาขาของธนาคารทุกแห่งให้มีการดูถึงสัญญาณของเอ็นพีแอลอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมเอ็นพีแอลปีนี้ให้อยู่ที่ไม่เกิน 2% จากปัจจุบันอยู่ที่ 2%
**BBLระบุยังไม่พบสัญญาณหนี้เน่าพุ่ง**
นางรัชนี นพเมือง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการลูกค้าบุคคลนครหลวง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า จากที่ธนาคารได้ทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไปนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อลูกค้าแต่อย่างใด โดยปัจจุบันปัจจุบันลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารยังไม่มีสัญญาณอะไรที่บ่งบอกถึงการชำระหนี้ที่ล่าช้าผิดปกติ โดยเอ็นพีแอลของสินเชื่อที่อยู่อาศัยปัจจุบันอยู่ที่ 2% ไม่ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด และภายในสิ้นปีนี้ธนาคารจะพยายามลดเอ็นพีแอลดังกล่าวลง
ทั้งนี้ มองว่าอัตราดอกเบี้ยคงจะมีการปรับตัวขึ้นตามแนวโน้มของตลาด แต่จะเป็นช่วงเวลาใดไม่สามารถตอบได้ แต่ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยคงที่ของสินเชื่อบ้าน 1-3 ปีนั้นยังไม่มีการปรับขึ้นแต่อย่างใด