AYS ปรับลดน้ำหนักลงทุนหุ้นกลุ่มแบงก์เป็น Neutral จาก Overweight แม้รายงานสินเชื่อเดือน พ.ค. จะเพิ่มขึ้น 1.5% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ปัจจัยเสี่ยงเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ความขัดแย้งการเมืองยังน่าเป็นห่วง และอาจกดดันการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนชะลอตัวในช่วง Q2/51 ขณะที่ภาระค่าใช้จ่าย ต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้นกดดันความสามารถในการชำระหนี้ลูกค้าลดลง หนุนหนี้เสียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้แบงก์ต้องตั้งสำหนี้เพิ่ม แต่ยังแนะทยอยซื้อลงทุน BBL-KBANK
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก บล. กรุงศรีอยุธยาAYS เปิดเผยว่า กลุ่มธนาคารรายงานสินเชื่อเติบโต 1.5% MoM BBL สินเชื่อขยายตัวสูงสุด MoM สินเชื่อเดือน พ.ค. ของธนาคาร 9 แห่ง (BBL KBANK KTB SCB SCIB TMB BT KK TISCO) เพิ่มขึ้น 67 พันล้านบาท (+1.5% MoM) สูงกว่าในเดือน เม.ย. ที่ขยายตัว 42 พันล้านบาท (+1%MoM) ธนาคาร 6 แห่งมีการเพิ่มขึ้นของสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง นำโดย BBL KTB KBANK SCB KK และ TISCO (เรียงตามสินเชื่อที่ขยายตัวมากสุด) สินเชื่อของ BBL ขยายตัวสูงสุด (+32.8 พันล้านบาท) ตามด้วย KTB (+14.2 พันล้านบาท) ในขณะที่ TMB SCIB และ BT สินเชื่อหดตัว MoM ใน 5M51 สินเชื่อของกลุ่มขยายตัว 5.1% YTD จากสิ้นปี 50
BBL โดดเด่นที่สุดในกลุ่มสินเชื่อใน 5M51 ของกลุ่มธนาคารขยายตัว 218 พันล้านบาท จากสิ้นปี 50 (+5.1% YTD) ธนาคาร 6 แห่งสินเชื่อเพิ่มขึ้น นำโดย BBL KTB KBANK SCB KK และ TISCO โดยสินเชื่อของ BBL เพิ่มขึ้น สูงสุดที่ 93 พันล้านบาท (+9.7% YTD) ตามด้วย KTB (+63 พันล้านบาท) แต่ TMB SCIB และ BT มี ฐานสินเชื่อหดลง YTD โดย TMB สินเชื่อลดลงมากที่สุดราว 23 พันล้านบาท (-5.6% YTD) เงินฝากของกลุ่ม
ในเดือน พ.ค. ลดลง 0.6% MoM แต่ยังเพิ่มขึ้น 5.6% YTD เงินฝากเดือน พ.ค. ของกลุ่มธนาคารลดลง 32.5 พันล้านบาท (-0.6% MoM) เทียบกับที่ขยายตัว 28 พันล้านบาท (+0.5% MoM)
ในเดือน เม.ย. ธนาคาร 3 แห่งมีเงินฝากไหลเข้า นำโดย BBL SCB และ KBANK ขณะที่ธนาคารอีก 6 แห่ง เงินฝากลดลง โดย KTB เงินฝากไหลออกมากที่สุดราว 18 พันล้าน บาท แต่ในรอบ 5M51 กลุ่มธนาคารมีเงินฝากไหลเข้ารวม 278 พันล้านบาท (+5.6% YTD) จากสิ้นปี 50 ธนาคารส่วนใหญ่ฐานเงินฝากเพิ่มขึ้น นำโดย KTB ที่มีเงินฝากไหลเข้าสูงสุดราว 110 พันล้านบาท แต่ TMB (-23 พันล้านบาท) และ BT (-1.4 พันล้านบาท) เงินฝากไหลออกจากเทียบกับฐานเงินฝาก ณ สิ้นปี 50
ปรับลดน้ำหนักการลงทุนเป็น Neutral จากเดิม Overweight แม้ว่าการปรับลงของราคาหุ้นธนาคารจะทำให้ความเสี่ยงขาลง (Downside risk) ในการลงทุนลดลงขณะที่ P/BV เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารปรับลดลงที่ 1.2 เท่า แต่ปัจจัยเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและความขัดแย้งทางการเมืองยังน่าเป็นห่วง เพราะอาจจะกดดันต่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนชะลอตัวในช่วง 2H51 ขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนการเงินที่เพิ่มขึ้นอาจกดดันความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าลดลง ปัญหาหนี้เสียอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งธนาคารมีความเสี่ยงที่อาจต้องตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นใน 2H51
นอกจากนี้ แม้ว่ารัฐบาลจะเดินหน้าลงทุนในโครงการMega project แต่กว่าจะมีการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรมคงจะเริ่มเห็นในปีหน้า ทำให้ประโยชน์ที่ธนาคารจะได้รับจากการปล่อยสินเชื่อโครงการขนาดใหญ่น่าจะเป็นในปีหน้ามากกว่าที่จะเห็นในปีนี้ จากปัจจัยเสี่ยงที่สูงขึ้น AYS ปรับลดน้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคารเป็นเท่ากับตลาด (Neutral) จากเดิมที่ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด (Overweight)
AYS แนะนำทยอยซื้อลงทุนกลุ่มธนาคาร เลือก BBL (Fair price 160 บาท) และ KBANK (Fair price 102 บาท) เป็น Top Pick ในกลุ่ม
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก บล. กรุงศรีอยุธยาAYS เปิดเผยว่า กลุ่มธนาคารรายงานสินเชื่อเติบโต 1.5% MoM BBL สินเชื่อขยายตัวสูงสุด MoM สินเชื่อเดือน พ.ค. ของธนาคาร 9 แห่ง (BBL KBANK KTB SCB SCIB TMB BT KK TISCO) เพิ่มขึ้น 67 พันล้านบาท (+1.5% MoM) สูงกว่าในเดือน เม.ย. ที่ขยายตัว 42 พันล้านบาท (+1%MoM) ธนาคาร 6 แห่งมีการเพิ่มขึ้นของสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง นำโดย BBL KTB KBANK SCB KK และ TISCO (เรียงตามสินเชื่อที่ขยายตัวมากสุด) สินเชื่อของ BBL ขยายตัวสูงสุด (+32.8 พันล้านบาท) ตามด้วย KTB (+14.2 พันล้านบาท) ในขณะที่ TMB SCIB และ BT สินเชื่อหดตัว MoM ใน 5M51 สินเชื่อของกลุ่มขยายตัว 5.1% YTD จากสิ้นปี 50
BBL โดดเด่นที่สุดในกลุ่มสินเชื่อใน 5M51 ของกลุ่มธนาคารขยายตัว 218 พันล้านบาท จากสิ้นปี 50 (+5.1% YTD) ธนาคาร 6 แห่งสินเชื่อเพิ่มขึ้น นำโดย BBL KTB KBANK SCB KK และ TISCO โดยสินเชื่อของ BBL เพิ่มขึ้น สูงสุดที่ 93 พันล้านบาท (+9.7% YTD) ตามด้วย KTB (+63 พันล้านบาท) แต่ TMB SCIB และ BT มี ฐานสินเชื่อหดลง YTD โดย TMB สินเชื่อลดลงมากที่สุดราว 23 พันล้านบาท (-5.6% YTD) เงินฝากของกลุ่ม
ในเดือน พ.ค. ลดลง 0.6% MoM แต่ยังเพิ่มขึ้น 5.6% YTD เงินฝากเดือน พ.ค. ของกลุ่มธนาคารลดลง 32.5 พันล้านบาท (-0.6% MoM) เทียบกับที่ขยายตัว 28 พันล้านบาท (+0.5% MoM)
ในเดือน เม.ย. ธนาคาร 3 แห่งมีเงินฝากไหลเข้า นำโดย BBL SCB และ KBANK ขณะที่ธนาคารอีก 6 แห่ง เงินฝากลดลง โดย KTB เงินฝากไหลออกมากที่สุดราว 18 พันล้าน บาท แต่ในรอบ 5M51 กลุ่มธนาคารมีเงินฝากไหลเข้ารวม 278 พันล้านบาท (+5.6% YTD) จากสิ้นปี 50 ธนาคารส่วนใหญ่ฐานเงินฝากเพิ่มขึ้น นำโดย KTB ที่มีเงินฝากไหลเข้าสูงสุดราว 110 พันล้านบาท แต่ TMB (-23 พันล้านบาท) และ BT (-1.4 พันล้านบาท) เงินฝากไหลออกจากเทียบกับฐานเงินฝาก ณ สิ้นปี 50
ปรับลดน้ำหนักการลงทุนเป็น Neutral จากเดิม Overweight แม้ว่าการปรับลงของราคาหุ้นธนาคารจะทำให้ความเสี่ยงขาลง (Downside risk) ในการลงทุนลดลงขณะที่ P/BV เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารปรับลดลงที่ 1.2 เท่า แต่ปัจจัยเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและความขัดแย้งทางการเมืองยังน่าเป็นห่วง เพราะอาจจะกดดันต่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนชะลอตัวในช่วง 2H51 ขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนการเงินที่เพิ่มขึ้นอาจกดดันความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าลดลง ปัญหาหนี้เสียอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งธนาคารมีความเสี่ยงที่อาจต้องตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นใน 2H51
นอกจากนี้ แม้ว่ารัฐบาลจะเดินหน้าลงทุนในโครงการMega project แต่กว่าจะมีการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรมคงจะเริ่มเห็นในปีหน้า ทำให้ประโยชน์ที่ธนาคารจะได้รับจากการปล่อยสินเชื่อโครงการขนาดใหญ่น่าจะเป็นในปีหน้ามากกว่าที่จะเห็นในปีนี้ จากปัจจัยเสี่ยงที่สูงขึ้น AYS ปรับลดน้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคารเป็นเท่ากับตลาด (Neutral) จากเดิมที่ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด (Overweight)
AYS แนะนำทยอยซื้อลงทุนกลุ่มธนาคาร เลือก BBL (Fair price 160 บาท) และ KBANK (Fair price 102 บาท) เป็น Top Pick ในกลุ่ม