“หมอเลี้ยบ” เรียกร้องทุกฝ่ายร่วมมือแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างมีสติ ยันไม่แทรกแซงการทำงานของแบงก์ชาติ แนะให้ดูการแก้ปัญหาด้านเงินเฟ้อของประเทศอื่นประกอบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือ ด้านแบงก์ชาติระบุยังไม่จำเป็นต้องออกมาตรการดูแลการเคลื่อนไหวของเงินทุนเข้า-ออกเพิ่มเติม และค่าเงินบาทเริ่มนิ่งแล้ว
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า อยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันอย่าให้ปัจจัยการเมืองเข้ามากดดันการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยยอมรับว่าสถานการณ์การเมืองในขณะนี้บั่นทอนความเชื่อมั่นของทุกฝ่าย นอกเหนือไปจากประเด็นทางเศรษฐกิจทั้งเรื่องราคาน้ำมัน และอัตราเงินเฟ้อ
"ครึ่งปีหลังคาดการณ์ได้ยาก เพราะสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงไม่สามารถกำหนดได้ สิ่งที่ทำได้คือทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ" นพ.สุรพงษ์ กล่าวและว่าการดูแลแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อนั้น กระทรวงการคลังไม่ขอก้าวก่ายการทำงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ที่จะตัดสินใจกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสม
ส่วนกรณีที่มีการคาดการณ์กันว่าอาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินเฟ้อนั้น หากพิจารณาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินไทยสูงถึง 4% ขณะที่ของเกาหลีอยู่ที่ 2% เท่านั้น จึงควรจะดูแลให้สถาบันการเงินไทยมีความเข้มแข็ง เพื่อให้เข้ามาช่วยดูแลเศรษฐกิจได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากที่ได้เข้าร่วมประชุมในระดับประเทศทำให้ทราบว่าหลายประเทศกำลังเผชิญปัญหาเงินเฟ้อ และมีวิธีแก้ปัญหาหลากหลาย อย่างกรณีของที่สิงคโปร์ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาดูแลปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งจากข้อมูลหากเงินบาทเปลี่ยนแปลงขึ้นลงทุก 1 บาท/ดอลลาร์ จะมีผลต่อราคาน้ำมันประมาณ 10 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล จึงต้องวิเคราะห์สถานการณ์ของไทยและหาวิธีแก้ปัญหาให้ถูกจุด
"เราต้องวิเคราะห์สถานการณ์ประเทศไทยว่าเหมือนหรือแตกต่างจากประเทศอื่นอย่างไรบ้าง ก็เหมือนกับอาการปวดหัว และเราสงสัยว่าจะเป็นความดันก็ไปกินยาลดความดัน แต่หากการปวดหัวเกิดจากไมเกรนแล้วไปกินยาลดความดันจะยิ่งหนักไปอีก ก็เหมือนกับอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น เหมือนอาการแสดงอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจที่รับผลกระทบจากน้ำมัน เราก็ต้องวิเคราะห์ว่าเราเกิดปัญหาอะไร และเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในภาวะเศรษฐกิจของบ้านเรา จะใช้วิธีการอย่างไร ผู้ทำหน้าที่ด้านการเงินจะต้องคุยกัน ผู้รับผิดชอบด้านการคลังก็ช่วยทำหน้าที่ด้านการคลังให้ดีที่สุด"นพ.สุรพงษ์ กล่าว
**ยันไม่ออกมาตรการสกัดเงินไหลออก**
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้ธปท.ยังไม่มีความจำเป็นต้องออกมาตรการอะไรเพิ่มเติมมาดูแลการเคลื่อนไหวของเงินทุนเคลื่อนย้ายในช่วงที่นักลงทุนต่างชาตินำบาทไปแลกเป็นเงินดอลลาร์กลับออกไปนอกประเทศ เนื่องจากทั้งเงินทุนไหลเข้าออกและค่าเงินบาทยังไม่ได้หวือหวาจนเกินไป และธปท.ยังสามารถทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาทได้ดี โดยขณะนี้ค่าเงินบาทไทยอยู่ระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับประเทศแถบภูมิภาค ซึ่งนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันแข็งค่าประมาณ 1% เทียบกับช่วงก่อนหน้านั้นแข็งค่าถึง 6-7%
สำหรับกรณีที่ช่วงที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติหันมาซื้อพันธบัตรธปท.และรัฐบาลมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน แม้ในช่วงนี้นักลงทุนจะมีการชะลอการซื้อขายในตลาดพันธบัตรบ้าง เพื่อรอดูทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นส่งผลให้อนาคตธปท.มีแผนจะออกพันธบัตรเพิ่มเติมหรือไม่ นางผ่องเพ็ญ กล่าวว่า ขณะนี้ธปท.ยังไม่มีแผนจะออกขายพันธบัตรออมทรัพย์ที่ขายให้แก่ประชาชนทั่วไป เพราะกระทรวงการคลังได้มีการออกพันธบัตรออกมาเยอะแล้ว เพื่อชดเชยงบประมาณที่ขาดดุล ขณะเดียวกันในปัจจุบันธปท.เองก็มีทยอยออกพันธบัตรให้นักลงทุนสถาบันซื้อขายอยู่แล้ว ทำให้ความจำเป็นในการออกพันธบัตรช่วงนี้ยังไม่มีความจำเป็น
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า อยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันอย่าให้ปัจจัยการเมืองเข้ามากดดันการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยยอมรับว่าสถานการณ์การเมืองในขณะนี้บั่นทอนความเชื่อมั่นของทุกฝ่าย นอกเหนือไปจากประเด็นทางเศรษฐกิจทั้งเรื่องราคาน้ำมัน และอัตราเงินเฟ้อ
"ครึ่งปีหลังคาดการณ์ได้ยาก เพราะสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงไม่สามารถกำหนดได้ สิ่งที่ทำได้คือทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ" นพ.สุรพงษ์ กล่าวและว่าการดูแลแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อนั้น กระทรวงการคลังไม่ขอก้าวก่ายการทำงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ที่จะตัดสินใจกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสม
ส่วนกรณีที่มีการคาดการณ์กันว่าอาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินเฟ้อนั้น หากพิจารณาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินไทยสูงถึง 4% ขณะที่ของเกาหลีอยู่ที่ 2% เท่านั้น จึงควรจะดูแลให้สถาบันการเงินไทยมีความเข้มแข็ง เพื่อให้เข้ามาช่วยดูแลเศรษฐกิจได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากที่ได้เข้าร่วมประชุมในระดับประเทศทำให้ทราบว่าหลายประเทศกำลังเผชิญปัญหาเงินเฟ้อ และมีวิธีแก้ปัญหาหลากหลาย อย่างกรณีของที่สิงคโปร์ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาดูแลปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งจากข้อมูลหากเงินบาทเปลี่ยนแปลงขึ้นลงทุก 1 บาท/ดอลลาร์ จะมีผลต่อราคาน้ำมันประมาณ 10 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล จึงต้องวิเคราะห์สถานการณ์ของไทยและหาวิธีแก้ปัญหาให้ถูกจุด
"เราต้องวิเคราะห์สถานการณ์ประเทศไทยว่าเหมือนหรือแตกต่างจากประเทศอื่นอย่างไรบ้าง ก็เหมือนกับอาการปวดหัว และเราสงสัยว่าจะเป็นความดันก็ไปกินยาลดความดัน แต่หากการปวดหัวเกิดจากไมเกรนแล้วไปกินยาลดความดันจะยิ่งหนักไปอีก ก็เหมือนกับอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น เหมือนอาการแสดงอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจที่รับผลกระทบจากน้ำมัน เราก็ต้องวิเคราะห์ว่าเราเกิดปัญหาอะไร และเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในภาวะเศรษฐกิจของบ้านเรา จะใช้วิธีการอย่างไร ผู้ทำหน้าที่ด้านการเงินจะต้องคุยกัน ผู้รับผิดชอบด้านการคลังก็ช่วยทำหน้าที่ด้านการคลังให้ดีที่สุด"นพ.สุรพงษ์ กล่าว
**ยันไม่ออกมาตรการสกัดเงินไหลออก**
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้ธปท.ยังไม่มีความจำเป็นต้องออกมาตรการอะไรเพิ่มเติมมาดูแลการเคลื่อนไหวของเงินทุนเคลื่อนย้ายในช่วงที่นักลงทุนต่างชาตินำบาทไปแลกเป็นเงินดอลลาร์กลับออกไปนอกประเทศ เนื่องจากทั้งเงินทุนไหลเข้าออกและค่าเงินบาทยังไม่ได้หวือหวาจนเกินไป และธปท.ยังสามารถทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาทได้ดี โดยขณะนี้ค่าเงินบาทไทยอยู่ระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับประเทศแถบภูมิภาค ซึ่งนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันแข็งค่าประมาณ 1% เทียบกับช่วงก่อนหน้านั้นแข็งค่าถึง 6-7%
สำหรับกรณีที่ช่วงที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติหันมาซื้อพันธบัตรธปท.และรัฐบาลมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน แม้ในช่วงนี้นักลงทุนจะมีการชะลอการซื้อขายในตลาดพันธบัตรบ้าง เพื่อรอดูทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นส่งผลให้อนาคตธปท.มีแผนจะออกพันธบัตรเพิ่มเติมหรือไม่ นางผ่องเพ็ญ กล่าวว่า ขณะนี้ธปท.ยังไม่มีแผนจะออกขายพันธบัตรออมทรัพย์ที่ขายให้แก่ประชาชนทั่วไป เพราะกระทรวงการคลังได้มีการออกพันธบัตรออกมาเยอะแล้ว เพื่อชดเชยงบประมาณที่ขาดดุล ขณะเดียวกันในปัจจุบันธปท.เองก็มีทยอยออกพันธบัตรให้นักลงทุนสถาบันซื้อขายอยู่แล้ว ทำให้ความจำเป็นในการออกพันธบัตรช่วงนี้ยังไม่มีความจำเป็น