โจนส์ แลงฯ ระบุตลาดสำนักงานนอกเมืองกระเตื้อง เจ้าขอกิจการแห่เช่า ชี้ราคาถูกกว่า CBD 30-40% พร้อมวิกฤตซัพไพรม์ฉุดมูลค่าสำนักงานเมืองใหญ่วูบ
นางสาวแคโรไลน์ เมอร์ฟีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการธุรกิจอาคารสำนักงาน บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อาคารสำนักงานในทำเลรอบนอกศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ของกรุงเทพฯ เริ่มได้รับความสนใจจากผู้เช่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะทำเลที่เข้าถึงได้สะดวกด้วยระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟใต้ดิน โดยผู้เช่าอาจได้ค่าเช่าที่ถูกลงมากถึง 30-40% เมื่อเทียบกับการเช่าอาคารสำนักงานเกรดเอบวกในเขตศูนย์กลางธุรกิจ ดังนั้น จึงมีหลายๆ บริษัทที่มองเห็นประโยชน์จากการย้ายที่ทำการออกไปในทำเลชั้นรอง โดยเฉพาะสำหรับหน่วยงานฝ่ายสนับสนุน (Back office) ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้สำนักงานเป็นสถานที่พบปะกับลูกค้า
นอกจากนี้ภาวะการว่าจ้างงานสูงและกำลังการใช้จ่ายภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นในเกือบทุกประเทศของภูมิภาค ยังคงช่วยสนับสนุนการตลาดอสังหาฯประเภทศูนย์การค้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับตลาดที่พักอาศัยระดับไฮเอ็นด์ที่มีกิจกรรมการซื้อขายและการเช่าในระดับที่แข็งแกร่ง
อย่างไรก็ตาม มูลค่าการลงทุนซื้อขายโครงการอสังหาฯในเอเชียแปซิฟิคได้ขยับตัวขึ้นสูงสุดในปี 2550 ที่ระดับ 121 ล้านเหรียญดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 27% จากปี 2549 อย่างไรก็ดี ตลาดทุนของภูมิภาคนี้เริ่มเห็นผลกระทบจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม) ในช่วงต้นของปีนี้
ผลกระทบจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม) ที่มีต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ และประมาณการซื้อ-ขาย เห็นได้ชัดในตลาดอสังหาฯ ที่มีพัฒนาการสูงในภูมิภาคนี้ อาทิ ที่โตเกียว สิงคโปร์ ซิดนีย์ และเมลเบิร์น พบว่ามูลค่าของอาคารสำนักงานมีอัตราชะลอตัวลง
“คาดว่าการลงทุนซื้อขายอสังหาฯในเอเชียแปซิฟิคปีนี้จะมีปริมาณลดลงในภาพรวม หลังจากที่พุ่งขึ้นไปสูงสุดในปี 2550 อย่างไรก็ดี ยังคงมีเงินทุนอีกมากที่ต้องการลงทุนในอสังหาฯจากนักลงทุนและคาดว่าปริมาณการลงทุนจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี และที่น่าสนใจ คือนักลงทุนชาวญี่ปุ่นเริ่มกลับมาลงทุนในตลาดต่างประเทศอีกครั้ง โดยเฉพาะตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในจีน อินเดีย และเวียดนาม” ดร. เมอร์เรย์กล่าว
นางสาวแคโรไลน์ เมอร์ฟีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการธุรกิจอาคารสำนักงาน บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อาคารสำนักงานในทำเลรอบนอกศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ของกรุงเทพฯ เริ่มได้รับความสนใจจากผู้เช่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะทำเลที่เข้าถึงได้สะดวกด้วยระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟใต้ดิน โดยผู้เช่าอาจได้ค่าเช่าที่ถูกลงมากถึง 30-40% เมื่อเทียบกับการเช่าอาคารสำนักงานเกรดเอบวกในเขตศูนย์กลางธุรกิจ ดังนั้น จึงมีหลายๆ บริษัทที่มองเห็นประโยชน์จากการย้ายที่ทำการออกไปในทำเลชั้นรอง โดยเฉพาะสำหรับหน่วยงานฝ่ายสนับสนุน (Back office) ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้สำนักงานเป็นสถานที่พบปะกับลูกค้า
นอกจากนี้ภาวะการว่าจ้างงานสูงและกำลังการใช้จ่ายภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นในเกือบทุกประเทศของภูมิภาค ยังคงช่วยสนับสนุนการตลาดอสังหาฯประเภทศูนย์การค้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับตลาดที่พักอาศัยระดับไฮเอ็นด์ที่มีกิจกรรมการซื้อขายและการเช่าในระดับที่แข็งแกร่ง
อย่างไรก็ตาม มูลค่าการลงทุนซื้อขายโครงการอสังหาฯในเอเชียแปซิฟิคได้ขยับตัวขึ้นสูงสุดในปี 2550 ที่ระดับ 121 ล้านเหรียญดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 27% จากปี 2549 อย่างไรก็ดี ตลาดทุนของภูมิภาคนี้เริ่มเห็นผลกระทบจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม) ในช่วงต้นของปีนี้
ผลกระทบจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม) ที่มีต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ และประมาณการซื้อ-ขาย เห็นได้ชัดในตลาดอสังหาฯ ที่มีพัฒนาการสูงในภูมิภาคนี้ อาทิ ที่โตเกียว สิงคโปร์ ซิดนีย์ และเมลเบิร์น พบว่ามูลค่าของอาคารสำนักงานมีอัตราชะลอตัวลง
“คาดว่าการลงทุนซื้อขายอสังหาฯในเอเชียแปซิฟิคปีนี้จะมีปริมาณลดลงในภาพรวม หลังจากที่พุ่งขึ้นไปสูงสุดในปี 2550 อย่างไรก็ดี ยังคงมีเงินทุนอีกมากที่ต้องการลงทุนในอสังหาฯจากนักลงทุนและคาดว่าปริมาณการลงทุนจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี และที่น่าสนใจ คือนักลงทุนชาวญี่ปุ่นเริ่มกลับมาลงทุนในตลาดต่างประเทศอีกครั้ง โดยเฉพาะตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในจีน อินเดีย และเวียดนาม” ดร. เมอร์เรย์กล่าว