"ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์" โว 7 เดือนแรกสรรพากรเก็บรายได้เกินเป้า 1.73 หมื่นล้านบาท คาดสิ้นปีงบประมาณเก็บได้เกินกว่าประมาณการกว่า 2 หมื่นล้านบาท อธิบดีสรรพากรระบุกลุ่มพลังงานและแบงก์พาณิชย์นำส่งรายได้นิติบุคคลกระฉูดหลังราคาน้ำมั่นเกือบ 40 บาทต่อลิตรและแบงก์ตั้งสำรองครบ คาดพ.ค.เดือนเดียวภาษีนิติบุคคลจัดเก็บได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังจากตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการทำงานแก่กรมสรรพากรครั้งที่ 2 ว่า ในรอบ 7 เดือนของปีงบประมาณ 2551 (ต.ค. 50 – เม.ย. 51) กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการทั้งสิ้น 1.73 หมื่นล้านบาทซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจมา โดยการจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่างบประมาณดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าสภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพและเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ แม้ว่ากระทรวงการคลังจะประมาศมาตรการลดหย่อนภาษีกระตุ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาซึ่งจะทำให้กรมสรรพากรเสียรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะไป แต่กรมสรรพากรก็สามารหารายได้เพิ่มเติมจากภาษีในส่วนอื่นเพื่อทดแทนรายได้ที่ขาดหายไปได้ โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม
“อีก 5 เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณที่เหลือทางกรมได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีเงินภาษีที่กรมสามารถจัดเก็บได้เกินกว่าประมาณการที่วางไว้ถึง 9 พันล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ปีงบประมาณ 51 กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้รวมแล้วสูงกว่าประมาณการณ์ถึง 2 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งถือว่าสวนทางกับนโยบายที่ออกไปที่ได้คาดการณ์ว่าจะจัดเก็บได้น้อยกว่าประมาณการเนื่องจากมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว” รมช.คลังกล่าว
*** แบงก์-พลังงานดันภาษีกระฉูด
นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า สำหรับการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรใน 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ เมื่อแยกตามประเภทมีดังนี้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 4.4 พันล้านบาท ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 1.4 หมื่นล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 9.8 พันล้านบาท และภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 4.8 พันล้านบาท
โดยในส่วนของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึง 1.4 หมื่นล้านบาทนั้น เนื่องจากราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศพุ่งสูงมากอย่างต่อเนื่องจนราคาใกล้แตะที่ระดับ 40 บาทต่อลิตรส่งผลให้การจัดเก็บภาษีจากธุรกิจพลังงานปรับเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้กลุ่มธนาคารพาณิชย์ยังได้ตั้งสำรองตามเกณฑ์มาตรฐานทางบัญชีฉบับที่ 39 (IAS39) ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ทำให้รายได้ในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นและเสียภาษีได้มากขึ้น
“กลุ่มพลังงานและกลุ่มแบงก์นับเป็นนิติบุคคลที่ทำให้กรมสรรพากรสามารจัดเก็บรายได้เกินกว่าประมาณการ เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ธรกิจค้าน้ำมันและโรงกลั่นมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็ฯกอบเป็นกำ และกลุ่มแบงก์ที่หมดปัญหาในการตั้งสำรองตามเกณฑ์แบงก์ชาติจึงเสียภาษีได้มากตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้คาดว่าจะมีการจัดเก็บภาษีเงินได้จากนิติบุคคลเพียงเดือนเดียวได้สูงกว่า 1 หมื่นล้านบาท” นายศานิตกล่าว
***ยังไม่อนุมัติเพิ่มกำลัง 2 พันตำแหน่ง
นายประดิษฐ์กล่าวว่า สำหรับการเพิ่มบุคลากรอีก 2,000 ตำแหน่งตามที่กรมสรรพากรได้เสนอมานั้น กระทรวงการคลังได้นำเข้าหารือในที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือนกระทรวงการคลัง (อ.พ.ก.คลัง) นั้นจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์การเพิ่มคนอย่างละเอียดรอบคอบอีกครั้ง เนื่องจากจำนวนบุคคลากรที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถทำผลงานได้เกินกว่าประมาณการที่วางไว้อยู่แล้ว
“การเพิ่มคนต้องพิจารณาให้รอบคอบ เนื่องจากในปัจจุบันรัฐบาลก็มีภาระในเรื่องของงบประมาณรายจ่ายประจำมากพอสมควร ต้องดูว่าที่กรมสรรพากรเสนอขอมานั้นมีความจำเป็นเร่งด่วนมาน้อยเพียงใด เนื่องจากเท่าที่พิจารณาในเบื้องต้นบุคลากรของกรมสรรพากรก็มีประสิทธิภาพดีอยู่แล้วแต่หากมีความจำเป็นจริงๆ ก็จะมีการพิจารณาทบทวนให้” นายประดิษฐ์กล่าว
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังจากตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการทำงานแก่กรมสรรพากรครั้งที่ 2 ว่า ในรอบ 7 เดือนของปีงบประมาณ 2551 (ต.ค. 50 – เม.ย. 51) กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการทั้งสิ้น 1.73 หมื่นล้านบาทซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจมา โดยการจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่างบประมาณดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าสภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพและเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ แม้ว่ากระทรวงการคลังจะประมาศมาตรการลดหย่อนภาษีกระตุ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาซึ่งจะทำให้กรมสรรพากรเสียรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะไป แต่กรมสรรพากรก็สามารหารายได้เพิ่มเติมจากภาษีในส่วนอื่นเพื่อทดแทนรายได้ที่ขาดหายไปได้ โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม
“อีก 5 เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณที่เหลือทางกรมได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีเงินภาษีที่กรมสามารถจัดเก็บได้เกินกว่าประมาณการที่วางไว้ถึง 9 พันล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ปีงบประมาณ 51 กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้รวมแล้วสูงกว่าประมาณการณ์ถึง 2 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งถือว่าสวนทางกับนโยบายที่ออกไปที่ได้คาดการณ์ว่าจะจัดเก็บได้น้อยกว่าประมาณการเนื่องจากมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว” รมช.คลังกล่าว
*** แบงก์-พลังงานดันภาษีกระฉูด
นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า สำหรับการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรใน 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ เมื่อแยกตามประเภทมีดังนี้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 4.4 พันล้านบาท ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 1.4 หมื่นล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 9.8 พันล้านบาท และภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 4.8 พันล้านบาท
โดยในส่วนของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึง 1.4 หมื่นล้านบาทนั้น เนื่องจากราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศพุ่งสูงมากอย่างต่อเนื่องจนราคาใกล้แตะที่ระดับ 40 บาทต่อลิตรส่งผลให้การจัดเก็บภาษีจากธุรกิจพลังงานปรับเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้กลุ่มธนาคารพาณิชย์ยังได้ตั้งสำรองตามเกณฑ์มาตรฐานทางบัญชีฉบับที่ 39 (IAS39) ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ทำให้รายได้ในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นและเสียภาษีได้มากขึ้น
“กลุ่มพลังงานและกลุ่มแบงก์นับเป็นนิติบุคคลที่ทำให้กรมสรรพากรสามารจัดเก็บรายได้เกินกว่าประมาณการ เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ธรกิจค้าน้ำมันและโรงกลั่นมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็ฯกอบเป็นกำ และกลุ่มแบงก์ที่หมดปัญหาในการตั้งสำรองตามเกณฑ์แบงก์ชาติจึงเสียภาษีได้มากตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้คาดว่าจะมีการจัดเก็บภาษีเงินได้จากนิติบุคคลเพียงเดือนเดียวได้สูงกว่า 1 หมื่นล้านบาท” นายศานิตกล่าว
***ยังไม่อนุมัติเพิ่มกำลัง 2 พันตำแหน่ง
นายประดิษฐ์กล่าวว่า สำหรับการเพิ่มบุคลากรอีก 2,000 ตำแหน่งตามที่กรมสรรพากรได้เสนอมานั้น กระทรวงการคลังได้นำเข้าหารือในที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือนกระทรวงการคลัง (อ.พ.ก.คลัง) นั้นจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์การเพิ่มคนอย่างละเอียดรอบคอบอีกครั้ง เนื่องจากจำนวนบุคคลากรที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถทำผลงานได้เกินกว่าประมาณการที่วางไว้อยู่แล้ว
“การเพิ่มคนต้องพิจารณาให้รอบคอบ เนื่องจากในปัจจุบันรัฐบาลก็มีภาระในเรื่องของงบประมาณรายจ่ายประจำมากพอสมควร ต้องดูว่าที่กรมสรรพากรเสนอขอมานั้นมีความจำเป็นเร่งด่วนมาน้อยเพียงใด เนื่องจากเท่าที่พิจารณาในเบื้องต้นบุคลากรของกรมสรรพากรก็มีประสิทธิภาพดีอยู่แล้วแต่หากมีความจำเป็นจริงๆ ก็จะมีการพิจารณาทบทวนให้” นายประดิษฐ์กล่าว