แบงก์ชาติยันฐานะแบงก์พาณิชย์ไทยยังแข็งแกร่ง มีเงินกองทุนอยู่ในระดับที่ดี พร้อมแข่งขันได้แม้เปิดเสรีการเงิน ด้านแบงก์กรุงเทพระบุสิ่งสำคัญของการบริหารต้นทุนคือคุณภาพของสินเชื่อ เนื่องจากจะกระทบต่อค่าใช้จ่ายของแบงก์มากที่สุด
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน Euromoney Conference 2008 "The Thailand Investment Forum: Resilient, Competitive and Resourceful" ในหัวข้อ The Thai Banking Sector ว่า ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ไทยยังมีความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส)อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งและหนุนฐานะของธนาคารได้ โดยตัวเลขเฉลี่ยของทั้งระบบอยู่ที่ 14% อีกทั้งยังมีระบบบัญชีที่ดี และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ประมาณ 6.8% รวมถึงมีการกันสำรองในระดับที่ดี อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) ก็เป็นบวก
ทั้งนี้ ศักยภาพของธนาคารพาณิชย์ในช่วง 4-5 ปีก็จะมีความสามารถในการแข่งขันได้ดี อีกทั้งแต่ละธนาคารต่างสนับสนุนให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการ เพื่อธนาคารสามารถขยายตัวได้ในอนาคต แต่ก็ยังห่วงเรื่องของการลดต้นทุนของธนาคารอยู่บ้าง ส่วนเอ็นพีแอลก็ต้องดูตั้งแต่กระบวนการปล่อยสินเชื่อ กระบวนการบริหารความเสี่ยง และตอนนี้ก็กำลังเตรียมการที่จะเข้ามาตรฐานสากลหรือ บาเซล 2
สำหรับการแข่งขันที่ยังมีศักยภาพอยู่นั้นส่วนหนึ่งมองว่าเป็นผลจากศักยภาพของเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจสำหรับชาวต่างชาติที่อยากจะเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรกับธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ส่วนการเปิดเสรีการเงินในอนาคตก็จะทำให้การแข่งขันมีสูงขึ้น ซึ่งทำให้ธนาคารต้องกมีการพัฒนาตัวเองและผลิตภัณฑ์ ทำให้จะเป็นส่วนช่วยขยายธุรกิจแต่ก็ต้องควบคู่ไปกับการบริหารความเสี่ยง
"ศักยภาพในการเติบโตของแบงก์ทางการก็ให้ความสนใจ ซึ่งการมีกฎระเบียบออกมาก็เพื่อดูแลความเสี่ยงของแบงก์"
ด้านนายสิงห์ ตังทัตสวัสดิ์ กรรมการผู้อำนวยการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า การบริหารต้นทุนมีหลายด้าน ทั้งด้านของพนักงาน การเงิน และสิ่งที่ใช้อำนวยความสะดวก และสิ่งที่สำคัญคือคุณภาพของสินเชื่อที่จะส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของธนาคารมากที่สุด เพราะถ้าได้สินเชื่อคุณภาพไม่ดีก็อาจจะส่งผลให้ธนาคารต้องตั้งสำรองสูง ซึ่งจะกระทบต่อค่าใช้จ่ายของธนาคาร ดังนั้นธนาคารจึงต้องมีการเพิ่มผลผลิตเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดยขณะนี้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ก็อยู่ในระดับที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากทุกธนาคารต่างพยายามที่จะลดต้นทุนในการดำเนินงานลง
นายวินเซนต์ มิลตัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิทช์ เรตติ้งส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะมีการขยายตัวอยู่ที่ 5% โดยการขับเคลื่อนจะมาจากการลงทุนของภาคเอกชนและการบริโภคภายในประเทศ แม้ปัจจัยทางการเมืองจะยังไม่นิ่ง และอาจจะมีการผลต่อการลงทุนบ้าง แต่ในขณะนี้เศรษฐกิจไทยได้เริ่มฟื้นตัวแล้ว ส่วนผลประกอบการของธนาคารต่าง ๆ ในปีนี้ก็น่าจะดีขึ้น โดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ที่มีผลประกอบการที่แข็งแกร่งดี
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน Euromoney Conference 2008 "The Thailand Investment Forum: Resilient, Competitive and Resourceful" ในหัวข้อ The Thai Banking Sector ว่า ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ไทยยังมีความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส)อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งและหนุนฐานะของธนาคารได้ โดยตัวเลขเฉลี่ยของทั้งระบบอยู่ที่ 14% อีกทั้งยังมีระบบบัญชีที่ดี และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ประมาณ 6.8% รวมถึงมีการกันสำรองในระดับที่ดี อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) ก็เป็นบวก
ทั้งนี้ ศักยภาพของธนาคารพาณิชย์ในช่วง 4-5 ปีก็จะมีความสามารถในการแข่งขันได้ดี อีกทั้งแต่ละธนาคารต่างสนับสนุนให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการ เพื่อธนาคารสามารถขยายตัวได้ในอนาคต แต่ก็ยังห่วงเรื่องของการลดต้นทุนของธนาคารอยู่บ้าง ส่วนเอ็นพีแอลก็ต้องดูตั้งแต่กระบวนการปล่อยสินเชื่อ กระบวนการบริหารความเสี่ยง และตอนนี้ก็กำลังเตรียมการที่จะเข้ามาตรฐานสากลหรือ บาเซล 2
สำหรับการแข่งขันที่ยังมีศักยภาพอยู่นั้นส่วนหนึ่งมองว่าเป็นผลจากศักยภาพของเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจสำหรับชาวต่างชาติที่อยากจะเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรกับธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ส่วนการเปิดเสรีการเงินในอนาคตก็จะทำให้การแข่งขันมีสูงขึ้น ซึ่งทำให้ธนาคารต้องกมีการพัฒนาตัวเองและผลิตภัณฑ์ ทำให้จะเป็นส่วนช่วยขยายธุรกิจแต่ก็ต้องควบคู่ไปกับการบริหารความเสี่ยง
"ศักยภาพในการเติบโตของแบงก์ทางการก็ให้ความสนใจ ซึ่งการมีกฎระเบียบออกมาก็เพื่อดูแลความเสี่ยงของแบงก์"
ด้านนายสิงห์ ตังทัตสวัสดิ์ กรรมการผู้อำนวยการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า การบริหารต้นทุนมีหลายด้าน ทั้งด้านของพนักงาน การเงิน และสิ่งที่ใช้อำนวยความสะดวก และสิ่งที่สำคัญคือคุณภาพของสินเชื่อที่จะส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของธนาคารมากที่สุด เพราะถ้าได้สินเชื่อคุณภาพไม่ดีก็อาจจะส่งผลให้ธนาคารต้องตั้งสำรองสูง ซึ่งจะกระทบต่อค่าใช้จ่ายของธนาคาร ดังนั้นธนาคารจึงต้องมีการเพิ่มผลผลิตเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดยขณะนี้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ก็อยู่ในระดับที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากทุกธนาคารต่างพยายามที่จะลดต้นทุนในการดำเนินงานลง
นายวินเซนต์ มิลตัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิทช์ เรตติ้งส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะมีการขยายตัวอยู่ที่ 5% โดยการขับเคลื่อนจะมาจากการลงทุนของภาคเอกชนและการบริโภคภายในประเทศ แม้ปัจจัยทางการเมืองจะยังไม่นิ่ง และอาจจะมีการผลต่อการลงทุนบ้าง แต่ในขณะนี้เศรษฐกิจไทยได้เริ่มฟื้นตัวแล้ว ส่วนผลประกอบการของธนาคารต่าง ๆ ในปีนี้ก็น่าจะดีขึ้น โดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ที่มีผลประกอบการที่แข็งแกร่งดี