ในช่วงสัปดาห์ที่แล้วดูเหมือนคำพูดของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม หลังจากที่ให้สัมภาษณ์ในรายการ “ถามจริง ตอบตรง” ที่ออกอากาศสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที โดยระบุว่ามีธนาคารพาณิชย์จำนวน 2 แห่งที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นอยู่กำลังจะเจ๊ง จึงมีความพยายามที่จะใส่เงินเพิ่มทุนเข้าไปถึง 8 พันล้านบาท ก่อนที่จะนำไปประกาศขายให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ประเด็นนี้สร้างความฮือฮาไปทั่ววงการแบงก์ได้ไม่น้อย
ทำให้เกิดข่าวลือต่อมาว่ามีผู้ฝากเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ตกเป็นข่าวมีการแห่ถอนเงินออกไป ส่งผลให้ผู้บริหารระดับสูงของธปท.ในฐานะผู้กำกับดูแลระบบการเงินและสถาบันการเงินจำเป็นต้องออกมาชี้แจงกันจ้าละหวั่น รวมทั้งรมว.คลังด้วย จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่หลายฝ่ายเริ่มให้ความสนใจถึงการเตรียมความพร้อมและห่วงว่าสถานการณ์ในขณะนี้มีความเหมาะสมกับการนำพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากมาใช้อีก 3 เดือนข้างหน้าหรือไม่
สำหรับพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากเริ่มจากแนวคิดที่ว่า รัฐต้องการเข้าไปดูแลผู้ฝากเงินรายย่อยมากขึ้นขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์เอกชนก็ควรระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจของตัวเองให้ดีและมีความรับผิดชอบกับลูกค้ามากขึ้น จากก่อนหน้านี้ที่สถาบันการเงินมีการนำส่งเงินฝากเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ เฉลี่ย 2 หมื่นล้านบาทในแต่ละปี เพื่อเป็นหลักประกันคืนเงินฝากให้แก่ผู้ฝากเงิน เมื่อสถาบันการเงินมีปัญหา แต่ปัญหาเหล่านี้ลดลงมากแล้ว นับตั้งแต่ปี 40 ทำให้มีจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายการเงินให้เหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน จึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากที่มีลักษณะเป็นนิติบุคคลขึ้นมาใหม่
โดยหลักของกฎหมายฉบับนี้จะมีการทยอยปรับลดวงเงินคุ้มครองจากรัฐบาลลง โดยในปีแรกยังคงคุ้มครองเงินฝากทั้ง 100% และอีก 4 ปีที่เหลือจะมีการทยอยลดเป็น 100 ล้านบาท 50 ล้านบาท 10 ล้านบาท และ 1 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงินในช่วงปี 55 ตามลำดับ
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากยอดเงินฝากในระบบเศรษฐกิจล่าสุดมีจำนวน 6,828,085 ล้านบาท หรือ 73,301,533 บัญชี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินฝากที่มีอายุเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี โดยหากแบ่งเป็นเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาทมีมูลค่าเงินฝากแค่ 1,876,252 ล้านบาท แต่หากคิดเป็นจำนวนบัญชีมีทั้งสิ้น 72,419,766 บัญชี หรือคิดเป็น 98.80%ของเงินฝากทั้งระบบ ถือว่ากฎหมายฉบับนี้ยังคุ้มครองเงินฝากให้แก่ประชาชนจำนวนมากอยู่ ขณะที่เงินฝากที่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มบุคคลที่มีฐานะดีหรือนักลงทุนมีสัดส่วนแค่ 1.20% หรือจำนวน 881,767 บัญชี แม้ยอดเงินฝากจะสูงถึง 4,951,833 ล้านบาท
**ทำแผนฉุกเฉินรองรับความเสี่ยง**
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาธปท.ได้สั่งให้ธนาคารพาณิชย์จัดทำแผนฉุกเฉินหากเกิดกรณีที่ผู้ฝากเงินมีการถอนเงินออกจากธนาคารมากเกินปกติ เพื่อบริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนธุรกิจประจำทุกปีของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องนำส่งธปท. โดยธปท.จะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบตามปกติ เพื่อให้สถาบันการเงินในระบบดูแลผู้ฝากเงินและสภาพคล่องได้เป็นอย่างดี
“ในปีนี้ยังไม่ห่วงเรื่องกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก แม้จะมีกระแสข่าวประเด็นท่านนายกรัฐมนตรีบ้าง ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ แต่เชื่อว่ากฎหมายนี้จะเดินหน้าต่อไปได้ และเท่าที่ตรวจสอบก็ไม่มีผู้ฝากเงินถอนออกมามากจนสร้างแรงกดดันให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินฝากผิดปกติ จากเดิมที่หลายฝ่ายกังวลมองว่าอาจมีการย้ายฐานเงินฝากของประชาชนทั่วไปจากกฎหมายฉบับนี้แล้ว อีกทั้งเราก็มีการประสานงานกับสถาบันการเงินตลอด ซึ่งเราก็ได้บอกเขาแล้วว่าถ้าเรื่องใดติดอุปสรรคก็สามารถบอกได้ แต่เท่าที่ดูตอนนี้ทุกอย่างก็ดี”
ด้านนายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ช่วงร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยส่วนใหญ่คณะกรรมาธิการก็มาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสถาบันการเงินและผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ จึงเชื่อว่าได้มีการกลั่นกรองอย่างดีจากผู้มีประสบการณ์โดยตรง
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท. กล่าวว่า พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคมที่จะถึงนี้ โดยขณะนี้ทางกระทรวงการคลังได้มีการตั้งคณะทำงานที่มีน.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานเข้ามาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ส่วนธปท.เองก็มีการเตรียมความพร้อมกับสถาบันการเงินและประชาชน โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านสำนักงานภาคต่างๆอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งช่วงต้นเดือนมิ.ย.ที่จะถึงนี้จะเป็นจังหวัดขอนแก่นเป็นสถานที่ต่อไป หลังจากที่ล่าสุดได้ให้ความรู้แก่ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่แล้วและได้ผลตอบรับที่ดีมาก และคาดว่าจะมีการเร่งประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้ประชาชนทั่วประเทศรับทราบ
ทำให้เกิดข่าวลือต่อมาว่ามีผู้ฝากเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ตกเป็นข่าวมีการแห่ถอนเงินออกไป ส่งผลให้ผู้บริหารระดับสูงของธปท.ในฐานะผู้กำกับดูแลระบบการเงินและสถาบันการเงินจำเป็นต้องออกมาชี้แจงกันจ้าละหวั่น รวมทั้งรมว.คลังด้วย จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่หลายฝ่ายเริ่มให้ความสนใจถึงการเตรียมความพร้อมและห่วงว่าสถานการณ์ในขณะนี้มีความเหมาะสมกับการนำพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากมาใช้อีก 3 เดือนข้างหน้าหรือไม่
สำหรับพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากเริ่มจากแนวคิดที่ว่า รัฐต้องการเข้าไปดูแลผู้ฝากเงินรายย่อยมากขึ้นขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์เอกชนก็ควรระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจของตัวเองให้ดีและมีความรับผิดชอบกับลูกค้ามากขึ้น จากก่อนหน้านี้ที่สถาบันการเงินมีการนำส่งเงินฝากเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ เฉลี่ย 2 หมื่นล้านบาทในแต่ละปี เพื่อเป็นหลักประกันคืนเงินฝากให้แก่ผู้ฝากเงิน เมื่อสถาบันการเงินมีปัญหา แต่ปัญหาเหล่านี้ลดลงมากแล้ว นับตั้งแต่ปี 40 ทำให้มีจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายการเงินให้เหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน จึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากที่มีลักษณะเป็นนิติบุคคลขึ้นมาใหม่
โดยหลักของกฎหมายฉบับนี้จะมีการทยอยปรับลดวงเงินคุ้มครองจากรัฐบาลลง โดยในปีแรกยังคงคุ้มครองเงินฝากทั้ง 100% และอีก 4 ปีที่เหลือจะมีการทยอยลดเป็น 100 ล้านบาท 50 ล้านบาท 10 ล้านบาท และ 1 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงินในช่วงปี 55 ตามลำดับ
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากยอดเงินฝากในระบบเศรษฐกิจล่าสุดมีจำนวน 6,828,085 ล้านบาท หรือ 73,301,533 บัญชี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินฝากที่มีอายุเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี โดยหากแบ่งเป็นเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาทมีมูลค่าเงินฝากแค่ 1,876,252 ล้านบาท แต่หากคิดเป็นจำนวนบัญชีมีทั้งสิ้น 72,419,766 บัญชี หรือคิดเป็น 98.80%ของเงินฝากทั้งระบบ ถือว่ากฎหมายฉบับนี้ยังคุ้มครองเงินฝากให้แก่ประชาชนจำนวนมากอยู่ ขณะที่เงินฝากที่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มบุคคลที่มีฐานะดีหรือนักลงทุนมีสัดส่วนแค่ 1.20% หรือจำนวน 881,767 บัญชี แม้ยอดเงินฝากจะสูงถึง 4,951,833 ล้านบาท
**ทำแผนฉุกเฉินรองรับความเสี่ยง**
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาธปท.ได้สั่งให้ธนาคารพาณิชย์จัดทำแผนฉุกเฉินหากเกิดกรณีที่ผู้ฝากเงินมีการถอนเงินออกจากธนาคารมากเกินปกติ เพื่อบริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนธุรกิจประจำทุกปีของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องนำส่งธปท. โดยธปท.จะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบตามปกติ เพื่อให้สถาบันการเงินในระบบดูแลผู้ฝากเงินและสภาพคล่องได้เป็นอย่างดี
“ในปีนี้ยังไม่ห่วงเรื่องกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก แม้จะมีกระแสข่าวประเด็นท่านนายกรัฐมนตรีบ้าง ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ แต่เชื่อว่ากฎหมายนี้จะเดินหน้าต่อไปได้ และเท่าที่ตรวจสอบก็ไม่มีผู้ฝากเงินถอนออกมามากจนสร้างแรงกดดันให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินฝากผิดปกติ จากเดิมที่หลายฝ่ายกังวลมองว่าอาจมีการย้ายฐานเงินฝากของประชาชนทั่วไปจากกฎหมายฉบับนี้แล้ว อีกทั้งเราก็มีการประสานงานกับสถาบันการเงินตลอด ซึ่งเราก็ได้บอกเขาแล้วว่าถ้าเรื่องใดติดอุปสรรคก็สามารถบอกได้ แต่เท่าที่ดูตอนนี้ทุกอย่างก็ดี”
ด้านนายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ช่วงร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยส่วนใหญ่คณะกรรมาธิการก็มาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสถาบันการเงินและผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ จึงเชื่อว่าได้มีการกลั่นกรองอย่างดีจากผู้มีประสบการณ์โดยตรง
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท. กล่าวว่า พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคมที่จะถึงนี้ โดยขณะนี้ทางกระทรวงการคลังได้มีการตั้งคณะทำงานที่มีน.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานเข้ามาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ส่วนธปท.เองก็มีการเตรียมความพร้อมกับสถาบันการเงินและประชาชน โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านสำนักงานภาคต่างๆอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งช่วงต้นเดือนมิ.ย.ที่จะถึงนี้จะเป็นจังหวัดขอนแก่นเป็นสถานที่ต่อไป หลังจากที่ล่าสุดได้ให้ความรู้แก่ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่แล้วและได้ผลตอบรับที่ดีมาก และคาดว่าจะมีการเร่งประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้ประชาชนทั่วประเทศรับทราบ