ลูกค้าเงินฝากแบงก์แตกตื่นลมปาก "หมัก" หลังปากดีผ่านรายการ "ถามจริงตอบตรง" บอกแบงก์มีปัญหาถูกเร่ขาย 2 แห่ง แบงก์ชาติเผยประชาชนกระหน่ำโทรศัพท์ถามข้อมูลทั้งๆ ที่เป็นแผนเพิ่มทุนก่อนขายให้ต่างชาติตามนโยบายลดการถือหุ้นของกองทุนฟื้นฟูทั้งไทยธนาคารและนครหลวงไทย ขอร้องประชาชนอย่าถอนเงินเหตุรัฐบาลยังคุ้มครอง 100%
จากกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พูดในรายการ “ถามจริง ตอบตรง” ที่ออกอากาศที่สถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที เมื่อคืนวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมาว่าช่วงแรกของการทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี ตนต้องเดินทางไปแนะนำตัวกับประเทศเพื่อนบ้าน บางเรื่องที่ตนไม่รู้ก็ได้มีการสอบถามจนทำให้ทราบว่ารัฐบาลที่แล้วทำอะไรไว้บ้าง เช่น บางประเทศถามว่าจะมีการซื้อขายแบงก์โดยที่ตนไม่ทราบมาก่อน พอกลับมาตรวจสอบถึงทราบว่ากองทุนฟื้นฟูฯ (กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน) ทำอะไร มีการเอาเงินไปใส่แบงก์ 8 พันล้านบาท แล้วเตรียมเอาไปขาย ซึ่งทำกันไว้แล้ว 2 แบงก์ ต้องพูดตรงนี้ เพราะเดี๋ยวพอขายแล้วจะมาโทษตน นั้น นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวว่า ในขณะนี้ยังไม่ทราบว่านายกรัฐมนตรีระบุถึงธนาคารใด เพราะไม่ได้ติดตามรายการดังกล่าว แต่ในวันรุ่งขึ้น (7 พ.ค.) ปรากฏว่าได้มีคนเข้ามาสอบถามเรื่องนี้จำนวนมาก แต่หากถามถึงธนาคารพาณิชย์ที่กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่ คือ ธนาคารไทยธนาคารในสัดส่วน 42.13% หลังจากที่กองทุนฟื้นฟูฯ เพิ่มทุนครั้งล่าสุดเมื่อช่วงต้นปี จำนวน 2,841.7 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารนครหลวงไทย 48% และกรุงไทย 57%
โดยไทยธนาคารเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกที่กองทุนฟื้นฟูฯ กำลังอยู่ระหว่างจ้างปรึกษาทางการเงินบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ศึกษาความเป็นไปได้ที่จะขายหุ้นอยู่ เพราะต้องการลดสัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ลงและให้พันธมิตรรายใหม่เข้ามาถือหุ้นแทน
ส่วนมีความจำเป็นที่ไทยธนาคารจำเป็นต้องเข้าไปเพิ่มทุนอีกครั้งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับที่ปรึกษาทางการเงินที่กำลังอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ อยู่ เพื่อนำมาวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินธุรกิจของไทยธนาคารก็เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องประเมินตัวเองด้วย โดยหากจะมีการขยายสินเชื่อหรือสร้างรายได้กำไรให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นก็จำเป็นต้องคำนึงถึงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส เรโช) ที่สามารถรองรับในการดำเนินธุรกิจด้วย เช่นเดียวกับธนาคารนครหลวงไทยและกรุงไทยที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นอยู่
“จะต้องเพิ่มทุนใหม่หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของไทยธนาคารเอง แต่ฐานะล่าสุดของไทยธนาคาร ที่ออกมาไตรมาสแรกปีนี้ขาดทุนประมาณ 1,777 ล้านบาทจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์ทางการเงินหนุนหลัง (ซีดีโอ) แต่การเพิ่มทุนครั้งใหม่นี้ จะเป็นเงินจำนวนเท่าไร ขึ้นกับว่าเป้าหมายการดำเนินการในอนาคตของไทยธนาคารจะเป็นอย่างไร และต้องการปล่อยสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้นมากหรือน้อยเพียงใด เพราะจะต้องมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเพียงพอในการขยายสินเชื่อ”
ตั้งแต่ปี 2550 และต้นปี 2551 ไทยธนาคารได้มีการเพิ่มทุนไปแล้วประมาณ 2 ครั้ง โดยเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 16,686.75 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเงินของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่เข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุน เพื่อรักษาสัดส่วนการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ประมาณ 8,000 ล้านบาท
ด้าน นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยช่วงบ่ายวานนี้ว่า ตลอดวัน ธปท.เช็ครายละเอียดที่นายกรัฐมนตรี พูดในรายการฯ เพื่อติดตามและชี้แจงเรื่องดังกล่าว ส่วนประเด็นที่ประชาชนหรือผู้ฝากเงินตื่นตระหนกกับคำพูดนายกรัฐมนตรีจนแห่ไปถอนเงินออกจากธนาคารพาณิชย์นั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ได้ยินมาเหมือนกันแต่ก็อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูล อย่างไรก็ตามขอให้ผู้ฝากเงินสบายใจได้ว่ารัฐบาลยังคงคุ้มครองเงินฝากทั้ง 100% อยู่ แม้จะกระทบกับสิ่งที่นายกรัฐมนตรีระบุก็ตาม
วันเดียวกันช่วงเย็น นายสรสิทธิ์กล่าวว่า "ผู้ว่าฯ ธปท. (นางธาริษา วัฒนเกส) เป็นห่วงเรื่องดังกล่าว เพราะคนระดับนายกฯ พูดถือว่ามีผลกระทบมาก จึงสั่งให้ตรวจสอบการถอนเงินในธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง เบื้องต้นไม่พบความผิดปกติใดๆ"
จากกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พูดในรายการ “ถามจริง ตอบตรง” ที่ออกอากาศที่สถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที เมื่อคืนวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมาว่าช่วงแรกของการทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี ตนต้องเดินทางไปแนะนำตัวกับประเทศเพื่อนบ้าน บางเรื่องที่ตนไม่รู้ก็ได้มีการสอบถามจนทำให้ทราบว่ารัฐบาลที่แล้วทำอะไรไว้บ้าง เช่น บางประเทศถามว่าจะมีการซื้อขายแบงก์โดยที่ตนไม่ทราบมาก่อน พอกลับมาตรวจสอบถึงทราบว่ากองทุนฟื้นฟูฯ (กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน) ทำอะไร มีการเอาเงินไปใส่แบงก์ 8 พันล้านบาท แล้วเตรียมเอาไปขาย ซึ่งทำกันไว้แล้ว 2 แบงก์ ต้องพูดตรงนี้ เพราะเดี๋ยวพอขายแล้วจะมาโทษตน นั้น นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวว่า ในขณะนี้ยังไม่ทราบว่านายกรัฐมนตรีระบุถึงธนาคารใด เพราะไม่ได้ติดตามรายการดังกล่าว แต่ในวันรุ่งขึ้น (7 พ.ค.) ปรากฏว่าได้มีคนเข้ามาสอบถามเรื่องนี้จำนวนมาก แต่หากถามถึงธนาคารพาณิชย์ที่กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่ คือ ธนาคารไทยธนาคารในสัดส่วน 42.13% หลังจากที่กองทุนฟื้นฟูฯ เพิ่มทุนครั้งล่าสุดเมื่อช่วงต้นปี จำนวน 2,841.7 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารนครหลวงไทย 48% และกรุงไทย 57%
โดยไทยธนาคารเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกที่กองทุนฟื้นฟูฯ กำลังอยู่ระหว่างจ้างปรึกษาทางการเงินบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ศึกษาความเป็นไปได้ที่จะขายหุ้นอยู่ เพราะต้องการลดสัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ลงและให้พันธมิตรรายใหม่เข้ามาถือหุ้นแทน
ส่วนมีความจำเป็นที่ไทยธนาคารจำเป็นต้องเข้าไปเพิ่มทุนอีกครั้งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับที่ปรึกษาทางการเงินที่กำลังอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ อยู่ เพื่อนำมาวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินธุรกิจของไทยธนาคารก็เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องประเมินตัวเองด้วย โดยหากจะมีการขยายสินเชื่อหรือสร้างรายได้กำไรให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นก็จำเป็นต้องคำนึงถึงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส เรโช) ที่สามารถรองรับในการดำเนินธุรกิจด้วย เช่นเดียวกับธนาคารนครหลวงไทยและกรุงไทยที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นอยู่
“จะต้องเพิ่มทุนใหม่หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของไทยธนาคารเอง แต่ฐานะล่าสุดของไทยธนาคาร ที่ออกมาไตรมาสแรกปีนี้ขาดทุนประมาณ 1,777 ล้านบาทจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์ทางการเงินหนุนหลัง (ซีดีโอ) แต่การเพิ่มทุนครั้งใหม่นี้ จะเป็นเงินจำนวนเท่าไร ขึ้นกับว่าเป้าหมายการดำเนินการในอนาคตของไทยธนาคารจะเป็นอย่างไร และต้องการปล่อยสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้นมากหรือน้อยเพียงใด เพราะจะต้องมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเพียงพอในการขยายสินเชื่อ”
ตั้งแต่ปี 2550 และต้นปี 2551 ไทยธนาคารได้มีการเพิ่มทุนไปแล้วประมาณ 2 ครั้ง โดยเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 16,686.75 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเงินของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่เข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุน เพื่อรักษาสัดส่วนการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ประมาณ 8,000 ล้านบาท
ด้าน นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยช่วงบ่ายวานนี้ว่า ตลอดวัน ธปท.เช็ครายละเอียดที่นายกรัฐมนตรี พูดในรายการฯ เพื่อติดตามและชี้แจงเรื่องดังกล่าว ส่วนประเด็นที่ประชาชนหรือผู้ฝากเงินตื่นตระหนกกับคำพูดนายกรัฐมนตรีจนแห่ไปถอนเงินออกจากธนาคารพาณิชย์นั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ได้ยินมาเหมือนกันแต่ก็อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูล อย่างไรก็ตามขอให้ผู้ฝากเงินสบายใจได้ว่ารัฐบาลยังคงคุ้มครองเงินฝากทั้ง 100% อยู่ แม้จะกระทบกับสิ่งที่นายกรัฐมนตรีระบุก็ตาม
วันเดียวกันช่วงเย็น นายสรสิทธิ์กล่าวว่า "ผู้ว่าฯ ธปท. (นางธาริษา วัฒนเกส) เป็นห่วงเรื่องดังกล่าว เพราะคนระดับนายกฯ พูดถือว่ามีผลกระทบมาก จึงสั่งให้ตรวจสอบการถอนเงินในธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง เบื้องต้นไม่พบความผิดปกติใดๆ"