แบงก์กรุงไทยชี้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัว 4.5-5.5% ระบุสิ่งที่น่าห่วงที่สุดในปีนี้คืออัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมัน ระบุสิ่งที่ธปท.ทำได้คือตรึงดอกเบี้ยคุมไว้ แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับกนง.ว่าให้น้ำหนักที่ส่วนต่างดอกเบี้ยหรือเงินเฟ้อ ด้านการปล่อยสินเชื่อโครงการรัฐ 2 เดือนแรกปล่อยกู้ไป 3 หมื่นล้าน จากเป้าที่ตั้งไว้ 1 แสนล้าน
นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวบรรยายในงานโครงการสร้างทุนทางปัญญา : KTB Lecture Series หัวข้อ "การบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจการเงินปี 2551" ว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 4.5-5.5% โดยปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจที่ส่งผ่านจากปี 2550 มายังปี 2551 นั้น ได้แก่ การขึ้นเงินเดือนข้าราชการรัฐวิสาหกิจ การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เม็ดเงินจากการเลือกตั้ง งบประมาณปี 2551 ที่มาตรงเวลา และความคืบหน้าของโครงการเมกะโปรเจกส์ เป็นต้น
ส่วนปัจจัยลบที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจ ได้แก่ การเมืองหลังการเลือกตั้ง ความชัดเจนของนโยบายการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกส์ ค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น การชะตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่วนในเรื่องความชัดเจนเกี่ยวกับกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว การค้าปลีก และมาตรการ 30% นั้นได้ลดความเข้มงวดลงแล้ว เห็นได้จากมาตรการ 30% ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้คือ เรื่องของอัตราเงินเฟ้อ ที่ได้ขยับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 5.4% เป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถจะควบคุมได้ ส่วนอัตราดอกเบี้ยซึ่งยังมีความผันผวนนั้น และต้องโยงกับต่างประเทศค่อนข้างมาก ก็ถือเป็นสิ่งที่ต้องติดตาม เนื่องจากการเกิดปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในจำนวนที่มาก ทำให้เกิดช่องว่าระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯค่อนข้างมาก
ดังนั้น การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นั้นคงจะต้องพิจารณาว่าจะเดินนโยบายอัตราดอกเบี้ยแบบไหน ถ้ายังเดินนโยบายอัตราเงินเฟ้อต่ำก็อาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ย แต่หากกังวลเกี่ยวกับเงินทุนไหลเข้าก็คงจะต้องลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นไว้ ซึ่งในที่สุดแล้วต้องรอดูว่า ธปท.จะให้น้ำหนักเรื่องไหน แต่อีกวิธีที่มองว่า ธปท. อาจจะทำคือการตรึงดอกเบี้ยเอาไว้
นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ในภาพรวมธนาคารกรุงไทยได้ปล่อยให้กู้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ 278 แห่ง ซึ่งสหกรณ์ออมทรัพย์ถือว่าเป็นหน่วยงานมีความแข็งแกร่งและมีทุนสูง กำไรสูง แต่สมาชิกรายย่อยแต่ละรายนั้นก็มีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ส่วนการนำเงินไปลงทุน การขยายเงินกู้ของสหกรณ์นั้นจำเป็นจะต้องมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี ส่วนความเสี่ยงด้านปฏิบัติการนั้นไม่มีความเสี่ยงมากนัก หัวใจของการดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์นั้นยังอยู่บริหารการเงินในภาวการณ์ที่ปั่นป่วน ซึ่งมีโอกาสใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดังนั้นต้องรู้เท่าทันกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ด้านนายปรีชา ภูขำ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารมีแผนที่จะเปิดให้บริการเคาน์เตอร์แสนสะดวกที่กองทุนหมู่บ้านและสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยจะให้บริการเกี่ยวกับการรับฝากเงิน กระแสรายวัน/ออมทรัพย์ ไม่เกิน 10,000 บาทต่อบัญชีต่อวัน การฝากเงินเข้าบัญชีบุคคลอื่นทั่วประเทศ การถอนเงินออมทรัพย์ ไม่เกิน 50,000 บาทต่อวัน การรับชำระค่าสาธารณูปโภค ค่าสินค้าและบริการ รวมถึงการเติมเงินโทรศัพท์มือถือ โดยคาดว่าในปีนี้จะสามารถเปิดเคาน์เตอร์แสนสะดวกได้ประมาณกว่า 100 เคาน์เตอร์ จากปัจจุบันมีอยู่ 2 แห่ง ซึ่งขณะนี้ได้ยื่นเรื่องไปที่ ธปท. เพื่อขออนุญาตเปิดเคาน์เตอร์ดังกล่าวแล้วประมาณ 50-60 แห่ง ซึ่งเชื่อว่าจะได้รับการอนุญาตในเร็ว ๆ นี้
"เคาน์เตอร์แสนสะดวกจะเป็นสิ่งที่จะอำนวยความสะดวกให้คนที่อยู่ชานเมืองห่างไกลธนาคาร สามารถ ฝาก ถอน โอนเงิน เติมเงินโทรศัพท์มือถือและยังสามารถชำระค่าสาธารณูปโภคได้อีกด้วย โดยเคาน์เตอร์แสนสะดวกจะจัดตั้งไว้ที่สหกรณ์หรือตามกองทุนหมู่บ้านซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของเรา เพื่อความมั่นใจในระบบของเคาน์เตอร์แสนสะดวก เราทำการทดลองระบบนี้มาเกือบ 1 ปี ที่สามโคกและท่าแพ จนมั่นใจว่าไม่มีปัญหาใดและมีความปลอดภัยสูง"
ส่วนการปล่อยสินเชื่อโครงการภาครัฐ 2 เดือนที่ผ่านมา สามารถปล่อยสินเชื่อสุทธิไปแล้วประมาณ 30,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 60% จากยอดขอสินเชื่อที่มีการเปิดประมูล ส่วนเป้าหมายในปีนี้ทั้งปีคาดว่าจะปล่อยสินเชื่อได้อยู่ที่ 100,000 ล้านบาท แต่เมื่อหักยอดการชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนดแล้ว จะทำให้ยอดการปล่อยสินเชื่อสุทธิอยู่ที่ 30,000-40,000 ล้านบาท
นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวบรรยายในงานโครงการสร้างทุนทางปัญญา : KTB Lecture Series หัวข้อ "การบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจการเงินปี 2551" ว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 4.5-5.5% โดยปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจที่ส่งผ่านจากปี 2550 มายังปี 2551 นั้น ได้แก่ การขึ้นเงินเดือนข้าราชการรัฐวิสาหกิจ การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เม็ดเงินจากการเลือกตั้ง งบประมาณปี 2551 ที่มาตรงเวลา และความคืบหน้าของโครงการเมกะโปรเจกส์ เป็นต้น
ส่วนปัจจัยลบที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจ ได้แก่ การเมืองหลังการเลือกตั้ง ความชัดเจนของนโยบายการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกส์ ค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น การชะตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่วนในเรื่องความชัดเจนเกี่ยวกับกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว การค้าปลีก และมาตรการ 30% นั้นได้ลดความเข้มงวดลงแล้ว เห็นได้จากมาตรการ 30% ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้คือ เรื่องของอัตราเงินเฟ้อ ที่ได้ขยับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 5.4% เป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถจะควบคุมได้ ส่วนอัตราดอกเบี้ยซึ่งยังมีความผันผวนนั้น และต้องโยงกับต่างประเทศค่อนข้างมาก ก็ถือเป็นสิ่งที่ต้องติดตาม เนื่องจากการเกิดปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในจำนวนที่มาก ทำให้เกิดช่องว่าระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯค่อนข้างมาก
ดังนั้น การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นั้นคงจะต้องพิจารณาว่าจะเดินนโยบายอัตราดอกเบี้ยแบบไหน ถ้ายังเดินนโยบายอัตราเงินเฟ้อต่ำก็อาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ย แต่หากกังวลเกี่ยวกับเงินทุนไหลเข้าก็คงจะต้องลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นไว้ ซึ่งในที่สุดแล้วต้องรอดูว่า ธปท.จะให้น้ำหนักเรื่องไหน แต่อีกวิธีที่มองว่า ธปท. อาจจะทำคือการตรึงดอกเบี้ยเอาไว้
นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ในภาพรวมธนาคารกรุงไทยได้ปล่อยให้กู้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ 278 แห่ง ซึ่งสหกรณ์ออมทรัพย์ถือว่าเป็นหน่วยงานมีความแข็งแกร่งและมีทุนสูง กำไรสูง แต่สมาชิกรายย่อยแต่ละรายนั้นก็มีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ส่วนการนำเงินไปลงทุน การขยายเงินกู้ของสหกรณ์นั้นจำเป็นจะต้องมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี ส่วนความเสี่ยงด้านปฏิบัติการนั้นไม่มีความเสี่ยงมากนัก หัวใจของการดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์นั้นยังอยู่บริหารการเงินในภาวการณ์ที่ปั่นป่วน ซึ่งมีโอกาสใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดังนั้นต้องรู้เท่าทันกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ด้านนายปรีชา ภูขำ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารมีแผนที่จะเปิดให้บริการเคาน์เตอร์แสนสะดวกที่กองทุนหมู่บ้านและสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยจะให้บริการเกี่ยวกับการรับฝากเงิน กระแสรายวัน/ออมทรัพย์ ไม่เกิน 10,000 บาทต่อบัญชีต่อวัน การฝากเงินเข้าบัญชีบุคคลอื่นทั่วประเทศ การถอนเงินออมทรัพย์ ไม่เกิน 50,000 บาทต่อวัน การรับชำระค่าสาธารณูปโภค ค่าสินค้าและบริการ รวมถึงการเติมเงินโทรศัพท์มือถือ โดยคาดว่าในปีนี้จะสามารถเปิดเคาน์เตอร์แสนสะดวกได้ประมาณกว่า 100 เคาน์เตอร์ จากปัจจุบันมีอยู่ 2 แห่ง ซึ่งขณะนี้ได้ยื่นเรื่องไปที่ ธปท. เพื่อขออนุญาตเปิดเคาน์เตอร์ดังกล่าวแล้วประมาณ 50-60 แห่ง ซึ่งเชื่อว่าจะได้รับการอนุญาตในเร็ว ๆ นี้
"เคาน์เตอร์แสนสะดวกจะเป็นสิ่งที่จะอำนวยความสะดวกให้คนที่อยู่ชานเมืองห่างไกลธนาคาร สามารถ ฝาก ถอน โอนเงิน เติมเงินโทรศัพท์มือถือและยังสามารถชำระค่าสาธารณูปโภคได้อีกด้วย โดยเคาน์เตอร์แสนสะดวกจะจัดตั้งไว้ที่สหกรณ์หรือตามกองทุนหมู่บ้านซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของเรา เพื่อความมั่นใจในระบบของเคาน์เตอร์แสนสะดวก เราทำการทดลองระบบนี้มาเกือบ 1 ปี ที่สามโคกและท่าแพ จนมั่นใจว่าไม่มีปัญหาใดและมีความปลอดภัยสูง"
ส่วนการปล่อยสินเชื่อโครงการภาครัฐ 2 เดือนที่ผ่านมา สามารถปล่อยสินเชื่อสุทธิไปแล้วประมาณ 30,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 60% จากยอดขอสินเชื่อที่มีการเปิดประมูล ส่วนเป้าหมายในปีนี้ทั้งปีคาดว่าจะปล่อยสินเชื่อได้อยู่ที่ 100,000 ล้านบาท แต่เมื่อหักยอดการชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนดแล้ว จะทำให้ยอดการปล่อยสินเชื่อสุทธิอยู่ที่ 30,000-40,000 ล้านบาท