S&P ชี้พื้นฐานศก.ไทยและพันธมิตร 4 ประเทศอาเซียน ยังแข็งแกร่ง เชื่อฝ่าวิกฤตซับไพรม์ได้
วันนี้(10 มี.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เปิดเผยว่า ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ที่แข็งแกร่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบในเชิงลบจากภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐได้ โดยเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 4 สามารถขยายตัวได้ แม้ความต้องการจากสหรัฐหดตัวลง ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤติปล่อยกู้จำนองให้ลูกหนี้กลุ่มซับไพรม์ของสหรัฐ
รายงานของ S&P ระบุว่า ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐและทั่วโลกจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวในประเทศสมาชิกอาเซียน 4 แห่งในปี 2551 แต่พื้นฐานในประเทศที่แข็งแกร่งจะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่าผลกระทบดังกล่าวจะเกิดขึ้นในวงจำกัด
นายซูบีร์ โกคาร์น นักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคแปซิฟิกของ S&P กล่าวว่า ยอดส่งออกในภูมิภาคเอเชียในปี 2550 ยังคงแข็งแกร่งและสามารถชดเชยยอดส่งออกในสหรัฐที่ซบเซาได้ นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาประกอบกับรายได้จากภาคการค้าและกระแสเงินไหลเข้าที่แข็งแกร่ง ยังช่วยกระตุ้นภาคการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศได้เป็นอย่างดี
"ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คือ ภาวะถดถอยในสหรัฐหรือสภาพคล่องในตลาดเงินที่ทรุดตัวลงอย่างรุนแรง ขณะที่ความผันผวนของราคาน้ำมันและภาวะขาดแคลนผลผลิตด้านอาหารจะกดดันให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนและตัวเลขการใช้จ่ายภาคเอกชน ไปจนถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ"
วันนี้(10 มี.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เปิดเผยว่า ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ที่แข็งแกร่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบในเชิงลบจากภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐได้ โดยเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 4 สามารถขยายตัวได้ แม้ความต้องการจากสหรัฐหดตัวลง ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤติปล่อยกู้จำนองให้ลูกหนี้กลุ่มซับไพรม์ของสหรัฐ
รายงานของ S&P ระบุว่า ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐและทั่วโลกจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวในประเทศสมาชิกอาเซียน 4 แห่งในปี 2551 แต่พื้นฐานในประเทศที่แข็งแกร่งจะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่าผลกระทบดังกล่าวจะเกิดขึ้นในวงจำกัด
นายซูบีร์ โกคาร์น นักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคแปซิฟิกของ S&P กล่าวว่า ยอดส่งออกในภูมิภาคเอเชียในปี 2550 ยังคงแข็งแกร่งและสามารถชดเชยยอดส่งออกในสหรัฐที่ซบเซาได้ นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาประกอบกับรายได้จากภาคการค้าและกระแสเงินไหลเข้าที่แข็งแกร่ง ยังช่วยกระตุ้นภาคการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศได้เป็นอย่างดี
"ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คือ ภาวะถดถอยในสหรัฐหรือสภาพคล่องในตลาดเงินที่ทรุดตัวลงอย่างรุนแรง ขณะที่ความผันผวนของราคาน้ำมันและภาวะขาดแคลนผลผลิตด้านอาหารจะกดดันให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนและตัวเลขการใช้จ่ายภาคเอกชน ไปจนถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ"