บล.เอเซีย พลัส เล็งลงทุนต่างประเทศมากขึ้นกว่า 10% เน้น บราซิล รัสเซีย อาเซียน พร้อมลงทุนกองทุนเฮดจ์ฟันด์เพิ่ม แย้มขณะนี้กำลังพิจารณา 2-3 กองทุน “ก้องเกียรติ” เผยหันเน้นธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุน คาด เอยูเอ็มปีนี้แตะ 4 หมื่นล้านบาท
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนที่จะเข้าลงทุนในกองทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์)เพิ่มขึ้นซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณาอยู่ 2-3 กองทุน แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจเข้าลงทุน จากปัจจุบันที่เข้าลงทุนแล้ว 1 กองทุน และอยู่ระหว่างพิจารณาลงทุนในบราซิล รัสเซีย และประเทศในแถบอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้สัดส่วนการลงทุนต่างประเทศของบริษัทเพิ่มเป็นมากกว่า 10% จากมูลค่าเงินลงทุนรวมของบริษัท (พอร์ต) ที่มี 3,000 ล้านบาท โดยปีที่ผ่านมามีการลงทุน 10% หรือประมาณ 300 ล้านบาท
นอกจากนี้ บริษัทจะเข้าไปลงทุนในบริษัทซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับบันเทิงและเทคโนโลยีที่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งแห่งประเทศไทย (ตลท.) และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) เพราะมองว่ามีแนวโน้มการเติบโตที่ดีและจะสร้างผลตอบแทนที่สูงให้กับบริษัท โดยในปี50บริษัทเข้าไปลงทุนบริษัทซึ่งประกอบธุรกิจเครื่องดื่ม ส่วนสัดส่วนการลงทุนยังไม่สามารถตอบได้
“การลงทุนของบริษัทนั้น มีนโยบายที่จะกระจายการลงทุนไปในสิ่งที่ให้ผลตอบแทนที่ดีซึ่งจะลงทุนในหุ้นต่างประเทศและในประเทศไม่เกิน 40% ปล่อยมาร์จินโลนไม่เกิน 30% ที่เหลือตราสารหนี้และหุ้นกู้ และสัดส่วนการลงทุนต่างประเทศจะมากกว่า 10% โดยขณะนี้คณะอนุกรรมการลงทุนของบริษัทกำลังดูจังหวะที่จะเข้าลงทุนในประเทศญี่ปุ่นจากดัชนีได้ปรับตัวลดลงมาและหุ้น 60% ของญี่ปุ่นมีราคาหุ้นต่ำกว่าบุ๊คแวลูโดยพอร์ตลงทุนของบริษัทในปี 2550 ให้ผลตอบแทนมากกว่า 50%” นายก้องเกียรติ กล่าว
สำหรับปีนี้บริษัทจะเพิ่มสินค้าใหม่ เช่น 1.การออกหุ้นกู้อนุพันธ์ (Structured Notes) โดยจะเสนอขายแก่นักลงทุนรายใหญ่ (ไฮด์เน็ตเวอร์) ซึ่งต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นใน 1 เมษายนนี้ เพื่อออกหุ้นกู้ในวงเงินไม่เกิน 1,000 ล้านบาท เป็นการเพิ่มทางเลือกการลงทุนให้กับลูกค้า ซึ่งมองว่าเป็นจังหวะที่ดีในการออกเสนอขายจากการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง 2.การออกกองทุนอิควิตี้อีทีเอฟ (ETF) 3.การออกเสนอขายใบรับฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เปลี่ยนมือได้ (TCR) และการประกอบธุรกิจอนุพันธ์
นายก้องเกียรติ กล่าวว่า บริษัทจะเน้นทำธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนมากขึ้น ซึ่งในปี 2553 ตั้งเป้าสัดส่วนรายได้จากการเป็นนายหน้าลดลงเหลือ 50% จากปีก่อนที่ 66% การลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 10% จากเดิม 3% การบริหารจัดการกองทุน 15% จากเดิม 7% และอื่น 5% จากเดิม 6% ซึ่งส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ปีนี้บริษัทจะพยายามรักษาให้เท่ากับปีที่ผ่านมาที่ 5.74% โดยอยู่ในอันดับที่2 ซึ่งขณะนี้บริษัทมีงานด้านที่ปรึกษาทางการเงินรวม 34 ดีล คือ งานด้านการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย (ไอพีโอ) 6-7 บริษัท งานควบรวมกิจการ (M&A) 6-10 บริษัท และงานด้านการเสนอขายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง(PP) และการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน (PO) 5-10 บริษัท
ทั้งนี้ บริษัทจะยุบหรือลดขนาดสาขาที่ไม่สร้างกำไรในปีนี้ ซึ่งต้องพิจารณาหลายอย่างส่วนธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนนั้น คาดว่า สินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ปีนี้เพิ่มอีก 1.5หมื่นล้านบาท ทำให้ AUM เพิ่มเป็น 40,000 ล้านบาท
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนที่จะเข้าลงทุนในกองทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์)เพิ่มขึ้นซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณาอยู่ 2-3 กองทุน แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจเข้าลงทุน จากปัจจุบันที่เข้าลงทุนแล้ว 1 กองทุน และอยู่ระหว่างพิจารณาลงทุนในบราซิล รัสเซีย และประเทศในแถบอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้สัดส่วนการลงทุนต่างประเทศของบริษัทเพิ่มเป็นมากกว่า 10% จากมูลค่าเงินลงทุนรวมของบริษัท (พอร์ต) ที่มี 3,000 ล้านบาท โดยปีที่ผ่านมามีการลงทุน 10% หรือประมาณ 300 ล้านบาท
นอกจากนี้ บริษัทจะเข้าไปลงทุนในบริษัทซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับบันเทิงและเทคโนโลยีที่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งแห่งประเทศไทย (ตลท.) และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) เพราะมองว่ามีแนวโน้มการเติบโตที่ดีและจะสร้างผลตอบแทนที่สูงให้กับบริษัท โดยในปี50บริษัทเข้าไปลงทุนบริษัทซึ่งประกอบธุรกิจเครื่องดื่ม ส่วนสัดส่วนการลงทุนยังไม่สามารถตอบได้
“การลงทุนของบริษัทนั้น มีนโยบายที่จะกระจายการลงทุนไปในสิ่งที่ให้ผลตอบแทนที่ดีซึ่งจะลงทุนในหุ้นต่างประเทศและในประเทศไม่เกิน 40% ปล่อยมาร์จินโลนไม่เกิน 30% ที่เหลือตราสารหนี้และหุ้นกู้ และสัดส่วนการลงทุนต่างประเทศจะมากกว่า 10% โดยขณะนี้คณะอนุกรรมการลงทุนของบริษัทกำลังดูจังหวะที่จะเข้าลงทุนในประเทศญี่ปุ่นจากดัชนีได้ปรับตัวลดลงมาและหุ้น 60% ของญี่ปุ่นมีราคาหุ้นต่ำกว่าบุ๊คแวลูโดยพอร์ตลงทุนของบริษัทในปี 2550 ให้ผลตอบแทนมากกว่า 50%” นายก้องเกียรติ กล่าว
สำหรับปีนี้บริษัทจะเพิ่มสินค้าใหม่ เช่น 1.การออกหุ้นกู้อนุพันธ์ (Structured Notes) โดยจะเสนอขายแก่นักลงทุนรายใหญ่ (ไฮด์เน็ตเวอร์) ซึ่งต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นใน 1 เมษายนนี้ เพื่อออกหุ้นกู้ในวงเงินไม่เกิน 1,000 ล้านบาท เป็นการเพิ่มทางเลือกการลงทุนให้กับลูกค้า ซึ่งมองว่าเป็นจังหวะที่ดีในการออกเสนอขายจากการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง 2.การออกกองทุนอิควิตี้อีทีเอฟ (ETF) 3.การออกเสนอขายใบรับฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เปลี่ยนมือได้ (TCR) และการประกอบธุรกิจอนุพันธ์
นายก้องเกียรติ กล่าวว่า บริษัทจะเน้นทำธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนมากขึ้น ซึ่งในปี 2553 ตั้งเป้าสัดส่วนรายได้จากการเป็นนายหน้าลดลงเหลือ 50% จากปีก่อนที่ 66% การลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 10% จากเดิม 3% การบริหารจัดการกองทุน 15% จากเดิม 7% และอื่น 5% จากเดิม 6% ซึ่งส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ปีนี้บริษัทจะพยายามรักษาให้เท่ากับปีที่ผ่านมาที่ 5.74% โดยอยู่ในอันดับที่2 ซึ่งขณะนี้บริษัทมีงานด้านที่ปรึกษาทางการเงินรวม 34 ดีล คือ งานด้านการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย (ไอพีโอ) 6-7 บริษัท งานควบรวมกิจการ (M&A) 6-10 บริษัท และงานด้านการเสนอขายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง(PP) และการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน (PO) 5-10 บริษัท
ทั้งนี้ บริษัทจะยุบหรือลดขนาดสาขาที่ไม่สร้างกำไรในปีนี้ ซึ่งต้องพิจารณาหลายอย่างส่วนธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนนั้น คาดว่า สินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ปีนี้เพิ่มอีก 1.5หมื่นล้านบาท ทำให้ AUM เพิ่มเป็น 40,000 ล้านบาท