แบงก์ชาติเผยภาวะเศรษฐกิจเดือนมกราคมยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากแรงขับเคลื่อนภาคส่งออกที่ยังขยายตัวในระดับสูงถึงอ 33% และอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น แต่ยังคงต้องจับตาด้านเงินเฟ้อที่ขยับตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อน
นางอมรา ศรีพยัคย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมกราคม 2551 ว่า ยังขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยมีแรงขับเคลื่อนจากทั้งอุปสงค์ในประเทศ ที่ปรับตัวดีขึ้นและการส่งออกที่ยังขยายตัวดี สอดคล้องกับการนำเข้าที่ขยายตัวในระดับสูง ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดี ตามอุปสงค์ในประเทศและการส่งออก เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามปัจจัยฤดูกาล
ทั้งนี้ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นมากจากเดือนก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 4.3 เร่งขึ้นจากเดือนก่อน จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสดโดยเฉพาะราคาผักและผลไม้ที่เร่งตัวมากจากผลผลิตที่เสียหายเนื่องจากฝกตกนอกฤดู ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.2 เท่ากับเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากการปรับลดค่าธรรมเนียมรถโดยสาร บขส. และการปรับภาษีสรรพสามิตรถยนต์ แม้ราคาในหมวดอื่นปรับเพิ่มขึ้น ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตสูงขึ้นร้อยละ 10.0 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนโดยเป็นผลจากการปรับตัวสูงขึ้นของทั้งราคาผลผลิตอุตสาหกรรมและราคาผลผลิตเกษตรกรรม
ขณะที่ ดุลการค้ามีการเกินดุล 170 ล้านดอลลาร์สรอ. โดยมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 13,843 ล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.6 สำหรับการนำเข้ามีมูลค่า 13,673 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวถึงร้อยละ 40.1 เมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่เกินดุล 1,226 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากดุลการท่องเที่ยวที่เกินดุลเพิ่มขึ้นและการส่งกลับกำไรและเงินปันผลที่ลดลงตามปัจจัยฤดูกาล ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 1,396 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงิน เกินดุล 3,300 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2551 อยู่ที่ระดับ 92.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ จำนวน 21.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 12.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการผลิตในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า และหมวดอาหาร ที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์จากต่างประเทศ ขณะที่หมวดยานยนต์ขยายตัวสูง โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง ส่วนหนึ่งจากการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้พลังงานทางเลือกหรือ E20 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 76.9 ซึ่งเมื่อปรับฤดูกาลแล้วใกล้เคียงกับเดือนก่อน
ด้านดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 8.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวสูงจากการบริโภคภายในประเทศและการนำเข้าที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับเครื่องชี้มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูงเช่นกัน สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (ประมาณการ) ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนขยายตัวร้อยละ 4.6 โดยเป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ ซึ่งขยายตัวสูง
และค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินบาท ในเดือนมกราคม 2551 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 33.18 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนธันวาคมที่ 33.70 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนลงต่อเนื่อง และในช่วงวันที่ 1-22 กุมภาพันธ์ 2551 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 32.77 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
นางอมรา ศรีพยัคย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมกราคม 2551 ว่า ยังขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยมีแรงขับเคลื่อนจากทั้งอุปสงค์ในประเทศ ที่ปรับตัวดีขึ้นและการส่งออกที่ยังขยายตัวดี สอดคล้องกับการนำเข้าที่ขยายตัวในระดับสูง ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดี ตามอุปสงค์ในประเทศและการส่งออก เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามปัจจัยฤดูกาล
ทั้งนี้ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นมากจากเดือนก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 4.3 เร่งขึ้นจากเดือนก่อน จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสดโดยเฉพาะราคาผักและผลไม้ที่เร่งตัวมากจากผลผลิตที่เสียหายเนื่องจากฝกตกนอกฤดู ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.2 เท่ากับเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากการปรับลดค่าธรรมเนียมรถโดยสาร บขส. และการปรับภาษีสรรพสามิตรถยนต์ แม้ราคาในหมวดอื่นปรับเพิ่มขึ้น ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตสูงขึ้นร้อยละ 10.0 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนโดยเป็นผลจากการปรับตัวสูงขึ้นของทั้งราคาผลผลิตอุตสาหกรรมและราคาผลผลิตเกษตรกรรม
ขณะที่ ดุลการค้ามีการเกินดุล 170 ล้านดอลลาร์สรอ. โดยมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 13,843 ล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.6 สำหรับการนำเข้ามีมูลค่า 13,673 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวถึงร้อยละ 40.1 เมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่เกินดุล 1,226 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากดุลการท่องเที่ยวที่เกินดุลเพิ่มขึ้นและการส่งกลับกำไรและเงินปันผลที่ลดลงตามปัจจัยฤดูกาล ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 1,396 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงิน เกินดุล 3,300 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2551 อยู่ที่ระดับ 92.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ จำนวน 21.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 12.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการผลิตในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า และหมวดอาหาร ที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์จากต่างประเทศ ขณะที่หมวดยานยนต์ขยายตัวสูง โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง ส่วนหนึ่งจากการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้พลังงานทางเลือกหรือ E20 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 76.9 ซึ่งเมื่อปรับฤดูกาลแล้วใกล้เคียงกับเดือนก่อน
ด้านดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 8.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวสูงจากการบริโภคภายในประเทศและการนำเข้าที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับเครื่องชี้มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูงเช่นกัน สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (ประมาณการ) ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนขยายตัวร้อยละ 4.6 โดยเป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ ซึ่งขยายตัวสูง
และค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินบาท ในเดือนมกราคม 2551 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 33.18 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนธันวาคมที่ 33.70 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนลงต่อเนื่อง และในช่วงวันที่ 1-22 กุมภาพันธ์ 2551 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 32.77 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.