xs
xsm
sm
md
lg

รายงานจากผู้จัดการกองทุนประจำเดือนมกราคม 2551

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ตลาดตราสารทุน

ตัวเลขเศรษฐกิจ- เกินดุลบัญชีเดินสะพัดของเดือนพฤศจิกายนทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดมียอดเกินดุลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่จำนวน 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนพฤศจิกายนอัตราการขยายตัวของการส่งออกในสกุลดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลดลงเล็กน้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 เทียบปีต่อปี ในขณะที่อัตราการขยายตัวของการนำเข้าในสกุลดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวลดลงมากที่ระดับร้อยละ 17.1 เทียบปีต่อปี จากร้อยละ 22.2% ในเดือนก่อนหน้า การแทรกแซงส่งผลทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศ และยอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิเพิ่มขึ้นสู่จำนวน 8.46 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และจำนวน 1.83 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากจำนวน 8.24 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และจำนวน 1.67 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนก่อนหน้า

- มีสัญญาณว่าอุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวต่อเนื่อง ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เทียบปีต่อปีในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.7 ในเดือนก่อนหน้า อัตราการขยายตัวของภาษีมูลค่าเพิ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นมาถึงระดับร้อยละ 14.6 เทียบปีต่อปี เพิ่มขึ้นจากระดับร้อยละ 6.8 ในเดือนก่อนหน้า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5ในเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้นจากระดับร้อยละ 2.3 ในเดือนก่อนหน้า
- การขยายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมในระดับสูงส่วนใหญ่ได้รับแรงกระตุ้นจากการส่งออก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เทียบปีต่อปีในเดือนพฤศจิกายน ลดลงเล็กน้อยจากระดับร้อยละ 12.5 ในเดือนก่อนหน้า ปัจจัยหลักที่กระตุ้น คือ หมวดเคมีภัณฑ์ อิเลคทรอนิคส์ และยานพาหนะ
- อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินและสินเชื่อยังอยู่ในระดับต่ำ อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad money) ลดลงสู่ระดับร้อยละ 1.7 เทียบปีต่อปีในเดือนพฤศจิกายนลดลงจากระดับร้อยละ 3.3 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งๆที่อัตราการขยายตัวของฐานเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากร้อยละ 5.6 ในเดือนก่อนหน้า อัตราการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 2.8 เทียบปีต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.4% ในเดือนก่อนหน้า

สรุปภาวะตลาด

ดัชนีตลาดสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในช่วงครึ่งแรกของเดือนธันวาคม ทั้งๆที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลดลง ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.25% ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์กันไว้ อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับคดีแปรรูปของ PTT เป็นสาเหตุทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงสู่ยอดต่ำที่ 791.71 จุด ก่อนดีดตัวขึ้นแรงในช่วงปลายเดือนโดยได้รับการสนับสนุนจากผลการเลือกตั้งและเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าจากกองทุนเพื่อประหยัดภาษี

แนวโน้มตลาดเดือนมกราคม

การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นไทยในเดือนมกราคม (January Rally) มีแนวโน้มที่ค่อนข้างต่ำถึงแม้ว่าพัฒนาการทางการเมืองเป็นไปอย่างราบรื่นเพราะความกังวลของเรื่อง Subprime และแนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะชะลอตัวลงในสหรัฐฯ เรามองว่าตลาดในระยะสั้นจะเคลื่อนไหวแบบไม่มีทิศทางเพราะความกังวลทั้งเรื่องของการเมืองในประเทศและ ความไม่มั่นใจในการลงทุนของตลาดโลก

กลยุทธ์ประจำเดือนมกราคม

ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด คือ หมวดธนาคารขนาดใหญ่และพลังงาน
ให้น้ำหนักเท่ากับตลาด คือ หมวดโทรคมนาคมและอสังหาริมทรัพย์
ให้น้ำหนักการลงทุนน้อยกว่าตลาด คือ หมวดปิโตรเคมีและวัสดุก่อสร้าง
ตลาดตราสารหนี้

สถานการณ์ในเดือนธันวาคม

มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในเดือนธันวาคม 2550 ของตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 101.26 พันล้านบาทจาก 95.40 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 1.45 และดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทน ร?อยละ 0.77 ณ สิ้นเดือนธันวาคม ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 4.82 และมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 5.22 ปี ในขณะที่ดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 5.10 และอายุเฉลี่ย เท่ากับ 2.84 ปี อัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่ อายุ 1-6 เดือนปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.03 ส่วนอัตราผลตอบแทนตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-4 ปีปรับตัวลดลงร้อยละ 0.09 ถึง 0.20 พันธบัตรระยะกลางอายุ 5-10 ปี ปรับตัวลดลงในช่วงร้อยละ 0.08 ถึง 0.22 และพันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลงร้อยละ 0.15 ถึง 0.22

แนวโน้ม

สภาวะตลาดในเดือนมกราคม น่าจะส่งผลดีต่อตราสารหนี้ เนื่องจากปริมาณตารางการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในไตรมาสแรกไม่สูงมากนัก ใกล้เคียงกับอุปสงค์ของนักลงทุน นอกจากนี้ ตลาดยังคาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศน่าจะยังทรงตัวอยู่ในระดับนี้ต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง ในช่วงนี้นักลงทุนยังสนใจลงทุนตราสารในช่วง 3 – 5 ปี

กลยุทธ์ประจำเดือน

กลยุทธ์การลงทุนคือ ทยอยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางและยาว
รายงานนี้จัดทำขึ้น ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2550 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ไทย) จำกัด
กำลังโหลดความคิดเห็น