ตลาดตราสารหนี้
สถานการณ์ในเดือนมีนาคม
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยแบบ Outright ต่อวันในเดือนมีนาคม 2551 ของตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 66.39 พันล้านบาทจาก 58.41 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงคิดเป็นร?อยละ -0.06 และดัชนีหุ?นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงเช่นกันโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนร?อยละ 0.64 ณ สิ้นเดือนมีนาคม ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 4.41 และมีอายุเฉลี่ยเท?ากับ 5.36 ป? ในขณะที่ดัชนีหุ?นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 4.51 และอายุเฉลี่ยเท?ากับ 2.95 ป? อัตราผลตอบแทนมีความผันผวน โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่อายุ 1-6 เดือนปรับตัวลดลงร้อยละ 0.01 ถึง 0.12 พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-3 ปีปรับตัวในช่วงร้อยละ -0.08 ถึง -0.01 พันธบัตรระยะกลางอายุ 5-10 ป?ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 0.03 ถึง 0.15 และพันธบัตรระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 ถึง 0.14
แนวโน้ม
สภาวะตลาดในเดือนเมษายน ทิศทางยังคงผันผวนตามภาวการณ์เรื่องอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันที่ 9 เมษายน 2551 น่าจะเป็นตัวกำหนดทิศทางในการลงทุนในเดือนเมษายน ดังนั้นในช่วงนี้นักลงทุนเน้นการลงทุนในตราสารระยะสั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนของราคา
กลยุทธ์ประจำเดือน
กลยุทธ์การลงทุนคือ ทะยอยลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว เปลี่ยนเป็นตราสารหนี้ระยะกลาง และระยะสั้น**
ตลาดตราสารทุน
ตัวเลขเศรษฐกิจ
- อุปสงค์ภายในประเทศฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (PCI) และดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 และ 5.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกเชนขยายตัวเพิ่มขึ้นเพราะปริมาณจำหน่ายรถยนต์โดยสารและรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.7 และ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ รายได้เกษตรกรในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะการนำเข้าสินค้าทุน (ณ ราคาปี 2543) ในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 16.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอตัวลงจากเดือนมกราคมที่เพิ่มขึ้น 29.2% ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ยังคงมีอัตราการเติบโตที่ลดลงร้อยละ -1.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกุมภาพันธ์ขยายตัว 14.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนมกราคมที่เติบโตร้อยละ13.9
- ตัวเลขการส่งออกชะลอตัวแต่อัตราการเติบโตยังดีกว่าส่วนใหญ่ที่คาดการณ์ไว้ทั้งปี การเติบโตของภาคส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ชะลอตัวลงเป็นร้อยละ 16.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนจากที่ในเดือนมกราคมมีอัตราเติบโตถึงร้อยละ 33.66 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อาจเป็นเพราะผลกระทบส่วนหนึ่งจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตามภาคส่งออกของไทยยังน่าจะได้รับแรงหนุนจากการเติบโตของอุปสงค์ในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง
- ดุลการค้าขาดดุลครั้งแรกในรอบ 10 เดือน ยอดนำเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ร้อยละ 32.47 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภคในประเทศและการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อการผลิตส่งออกในอนาคต เนื่องจากปริมาณการนำเข้าเติบโตเร็วกว่าปริมาณการส่งออก ประเทศไทยจึงประสบภาวะขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2550 จำนวน 620.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในระยะสั้นไม่น่าจะเป็นผลเสีย เพราะประเทศไทยยังเกินดุลบัญชีทุนอยู่ 752 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และดุลการชำระเงินยังเกินดุลอยู่ 6,571 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งประเทศไทยยังมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงเป็นประวัติการณ์อีกกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์
สรุปภาวะตลาด
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ตกลงไปต่ำสุดที่ระดับ 798.1 ในช่วงกลางเดือน หลังจากที่ศาลฎีการับฟ้องคดีคุณยงยุทธกรณีทุจริตการเลือกตั้ง กอปรการปรับตัวลดลงของราคาหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดที่ใหญ่เพราะมีการประกาศจ่ายเงินปันผล ระหว่างกาล เช่นหลักทรัพย์ในหมวดพลังงาน อย่างไรก็ตามดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาปิดที่ 817.03 เพราะบรรยากาศการลงทุนที่ดีขึ้น ซึ่งรวมถึงการประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ยกเลิกมาตราการกันสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้นร้อยละ 30 มาตราการภาษีของกระทรวงการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ร้อยละ 0.75
แนวโน้มตลาดเดือนเมษายน
เราคาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ยังคงมีแนวโน้มที่ผันผวนตามการขึ้นลงของตลาดทุนในสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะเป็นการสะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ประกาศรายวัน ดังนั้นเราจึงเชื่อว่าการประกาศมาตราการใดๆเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยโดยรัฐบาลจะเป็นเพียงข่าวดีที่จะทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไม่ตกลงมาก และ คาดว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะซื้อขายอยู่ในช่วงแคบๆระดับ 800-860 จุด
กลยุทธ์ประจำเดือนเมษายน
ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาดในหมวดธนาคารขนาดใหญ่ อสังหาริมทรัพย์ และโทรคมนาคม
ให้น้ำหนักเท่ากับตลาดในหมวดพลังงาน
ให้น้ำหนักการลงทุนน้อยกว่าตลาดในหมวดปิโตรเคมีและวัสดุก่อสร้าง
สถานการณ์ในเดือนมีนาคม
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยแบบ Outright ต่อวันในเดือนมีนาคม 2551 ของตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 66.39 พันล้านบาทจาก 58.41 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงคิดเป็นร?อยละ -0.06 และดัชนีหุ?นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงเช่นกันโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนร?อยละ 0.64 ณ สิ้นเดือนมีนาคม ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 4.41 และมีอายุเฉลี่ยเท?ากับ 5.36 ป? ในขณะที่ดัชนีหุ?นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 4.51 และอายุเฉลี่ยเท?ากับ 2.95 ป? อัตราผลตอบแทนมีความผันผวน โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่อายุ 1-6 เดือนปรับตัวลดลงร้อยละ 0.01 ถึง 0.12 พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-3 ปีปรับตัวในช่วงร้อยละ -0.08 ถึง -0.01 พันธบัตรระยะกลางอายุ 5-10 ป?ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 0.03 ถึง 0.15 และพันธบัตรระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 ถึง 0.14
แนวโน้ม
สภาวะตลาดในเดือนเมษายน ทิศทางยังคงผันผวนตามภาวการณ์เรื่องอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันที่ 9 เมษายน 2551 น่าจะเป็นตัวกำหนดทิศทางในการลงทุนในเดือนเมษายน ดังนั้นในช่วงนี้นักลงทุนเน้นการลงทุนในตราสารระยะสั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนของราคา
กลยุทธ์ประจำเดือน
กลยุทธ์การลงทุนคือ ทะยอยลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว เปลี่ยนเป็นตราสารหนี้ระยะกลาง และระยะสั้น**
ตลาดตราสารทุน
ตัวเลขเศรษฐกิจ
- อุปสงค์ภายในประเทศฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (PCI) และดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 และ 5.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกเชนขยายตัวเพิ่มขึ้นเพราะปริมาณจำหน่ายรถยนต์โดยสารและรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.7 และ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ รายได้เกษตรกรในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะการนำเข้าสินค้าทุน (ณ ราคาปี 2543) ในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 16.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอตัวลงจากเดือนมกราคมที่เพิ่มขึ้น 29.2% ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ยังคงมีอัตราการเติบโตที่ลดลงร้อยละ -1.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกุมภาพันธ์ขยายตัว 14.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนมกราคมที่เติบโตร้อยละ13.9
- ตัวเลขการส่งออกชะลอตัวแต่อัตราการเติบโตยังดีกว่าส่วนใหญ่ที่คาดการณ์ไว้ทั้งปี การเติบโตของภาคส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ชะลอตัวลงเป็นร้อยละ 16.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนจากที่ในเดือนมกราคมมีอัตราเติบโตถึงร้อยละ 33.66 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อาจเป็นเพราะผลกระทบส่วนหนึ่งจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตามภาคส่งออกของไทยยังน่าจะได้รับแรงหนุนจากการเติบโตของอุปสงค์ในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง
- ดุลการค้าขาดดุลครั้งแรกในรอบ 10 เดือน ยอดนำเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ร้อยละ 32.47 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภคในประเทศและการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อการผลิตส่งออกในอนาคต เนื่องจากปริมาณการนำเข้าเติบโตเร็วกว่าปริมาณการส่งออก ประเทศไทยจึงประสบภาวะขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2550 จำนวน 620.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในระยะสั้นไม่น่าจะเป็นผลเสีย เพราะประเทศไทยยังเกินดุลบัญชีทุนอยู่ 752 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และดุลการชำระเงินยังเกินดุลอยู่ 6,571 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งประเทศไทยยังมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงเป็นประวัติการณ์อีกกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์
สรุปภาวะตลาด
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ตกลงไปต่ำสุดที่ระดับ 798.1 ในช่วงกลางเดือน หลังจากที่ศาลฎีการับฟ้องคดีคุณยงยุทธกรณีทุจริตการเลือกตั้ง กอปรการปรับตัวลดลงของราคาหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดที่ใหญ่เพราะมีการประกาศจ่ายเงินปันผล ระหว่างกาล เช่นหลักทรัพย์ในหมวดพลังงาน อย่างไรก็ตามดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาปิดที่ 817.03 เพราะบรรยากาศการลงทุนที่ดีขึ้น ซึ่งรวมถึงการประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ยกเลิกมาตราการกันสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้นร้อยละ 30 มาตราการภาษีของกระทรวงการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ร้อยละ 0.75
แนวโน้มตลาดเดือนเมษายน
เราคาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ยังคงมีแนวโน้มที่ผันผวนตามการขึ้นลงของตลาดทุนในสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะเป็นการสะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ประกาศรายวัน ดังนั้นเราจึงเชื่อว่าการประกาศมาตราการใดๆเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยโดยรัฐบาลจะเป็นเพียงข่าวดีที่จะทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไม่ตกลงมาก และ คาดว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะซื้อขายอยู่ในช่วงแคบๆระดับ 800-860 จุด
กลยุทธ์ประจำเดือนเมษายน
ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาดในหมวดธนาคารขนาดใหญ่ อสังหาริมทรัพย์ และโทรคมนาคม
ให้น้ำหนักเท่ากับตลาดในหมวดพลังงาน
ให้น้ำหนักการลงทุนน้อยกว่าตลาดในหมวดปิโตรเคมีและวัสดุก่อสร้าง