แบงก์ชาติดีเดย์ คาด พ.ร.บ.ธปท.ใหม่บังคับใช้ได้ในสัปดาห์หน้า พร้อมรุกเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการ ธปท.ชุดใหญ่ภายใน 4 เดือน ขณะที่ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก และ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินอยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษาอีก 180 วัน ส่วนความคืบหน้าการจับกลุ่มมิจฉาชีพหลอกล่วงประชาชนให้โอนเงินเข้าบัญชียอดร้องเรียนล่าสุดประมาณ 200 ราย ซึ่งยอดประชาชนร้องเรียนเริ่มลดลง แต่ปริมาณเงินมากขึ้น
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากได้ลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา หลังจากที่ก่อนหน้านี้ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินได้ลงราชกิจจานุเบกษาเช่นกัน ซึ่งกฎหมายการเงินทั้ง 2 ฉบับนี้ จะสามารถประกาศใช้ได้ในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วน พ.ร.บ.ธปท.คาดว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะสามารถลงในราชกิจจานุเบกษาและประกาศใช้ได้ทันที
“กฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝากและกฎหมายธุรกิจสถาบันการเงินจะต้องมีการเตรียมตัวมาก จึงต้องรอ 180 วัน หลังจากลงในราชกิจจานุเบกษาถึงจะประกาศใช้กฎหมาย 2 ฉบับนี้ได้ ส่วนกฎหมาย ธปท.มีโครงสร้างเดิมอยู่แล้ว ฉะนั้น กฎหมายฉบับใหม่ จึงเป็นเพียงปรับปรุงหรือเพิ่มเติมเนื้อหาของกฎหมายให้ทันสมัยและชัดเจนขึ้น”
สำหรับการเตรียมความพร้อมรองรับ พ.ร.บ.ธปท.ที่จะใช้ในเร็วๆ นี้ โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่ของฝ่ายกฎหมายและคดีกับสายนโยบายสถาบันการเงินกำลังอยู่ระหว่างเตรียมโครงสร้างคณะกรรมการทั้ง 4 ชุด ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (กกธ.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) และคณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) โดยขั้นตอนแรกจะจัดตั้งชุด กกธ.ก่อน เพื่อสรรหาบุคคลภายนอกที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกในชุด กกธ.ก่อน และต่อจากนั้นถึงจะสรรหาบุคคลเข้ามาเป็นกรรมการในชุดต่างๆ ต่อไป
“ในช่วง 4 เดือนแรกนับจากกฎหมาย ธปท.ประกาศใช้จะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการชุด กกธ.ให้ได้ และต่อมาในอีก 2 เดือนจะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่เหลืออีก 3 ชุด ส่วนประเด็นที่ว่าคณะกรรมการชุดใหม่ที่จะเข้ามารับตำแหน่งในบอร์ดชุดต่างๆ จะมีนโยบายเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหนนั้น ในส่วนตัวมองว่าต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง และสภาพแวดล้อมในขณะนั้นมากกว่า” นายชาญชัย กล่าว
**เร่งติดตามกลุ่มมิจฉาชีพเอทีเอ็ม**
นายชาญชัย กล่าวอีกว่า ส่วนความคืบหน้าการจับคุมกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงให้ประชาชนโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม ซึ่งแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ธปท.นั้น เท่าที่สำรวจจากฝ่ายกฎหมายและคดีของ ธปท.พบว่า ล่าสุด มีประชาชนร้องเรียนมาทั้งสิ้น 200 ราย โดยประชาชนที่ถูกหลอกให้เสียเงินมีแค่ 17-18 ราย คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 8 แสนบาท
อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้ยอดประชาชนที่ร้องเรียนมายัง ธปท.เริ่มลดลง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ เนื่องจากประชาชนเริ่มระมัดระวังมากขึ้น ทำให้นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันมีเพียงประชาชนในเขตต่างจังหวัดร้องเรียนมาแค่ 1-2 ราย แต่ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมามีผู้เสียหายรายหนึ่งต้องสูญเสียเงินถึง 1 แสนบาท ถือเป็นวงเงินที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดเท่าที่มีเคยจับกุมมา
“อุปสรรคที่ยังไม่สามารถสืบถึงตัวกลุ่มมิจฉาชีพได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากบัญชีที่กลุ่มมิจฉาชีพเปิดไว้ เป็นบัญชีที่จ้างคนต่างจังหวัดเปิด จึงยังไม่ส่ามารถสาวถึงตัวกลุ่มผู้กระทำผิดได้ นอกจากนั้น ผู้เสียหายเองไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการแจ้งความเป็นเจ้าทุกข์ เพราะเห็นว่าปริมาณเงินไม่มากนัก ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกหลอกเงินให้โอนผ่านตู้เอทีเอ็มแค่ไม่กี่พันบาท จึงไม่อยากเสียเวลา ทำได้แค่โทรมาร้องเรียนกับ ธปท.เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ได้ให้สำนักงานภาคต่างๆ ของ ธปท.ช่วยเร่งประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ระมัดระวังมากขึ้น”
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากได้ลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา หลังจากที่ก่อนหน้านี้ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินได้ลงราชกิจจานุเบกษาเช่นกัน ซึ่งกฎหมายการเงินทั้ง 2 ฉบับนี้ จะสามารถประกาศใช้ได้ในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วน พ.ร.บ.ธปท.คาดว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะสามารถลงในราชกิจจานุเบกษาและประกาศใช้ได้ทันที
“กฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝากและกฎหมายธุรกิจสถาบันการเงินจะต้องมีการเตรียมตัวมาก จึงต้องรอ 180 วัน หลังจากลงในราชกิจจานุเบกษาถึงจะประกาศใช้กฎหมาย 2 ฉบับนี้ได้ ส่วนกฎหมาย ธปท.มีโครงสร้างเดิมอยู่แล้ว ฉะนั้น กฎหมายฉบับใหม่ จึงเป็นเพียงปรับปรุงหรือเพิ่มเติมเนื้อหาของกฎหมายให้ทันสมัยและชัดเจนขึ้น”
สำหรับการเตรียมความพร้อมรองรับ พ.ร.บ.ธปท.ที่จะใช้ในเร็วๆ นี้ โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่ของฝ่ายกฎหมายและคดีกับสายนโยบายสถาบันการเงินกำลังอยู่ระหว่างเตรียมโครงสร้างคณะกรรมการทั้ง 4 ชุด ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (กกธ.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) และคณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) โดยขั้นตอนแรกจะจัดตั้งชุด กกธ.ก่อน เพื่อสรรหาบุคคลภายนอกที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกในชุด กกธ.ก่อน และต่อจากนั้นถึงจะสรรหาบุคคลเข้ามาเป็นกรรมการในชุดต่างๆ ต่อไป
“ในช่วง 4 เดือนแรกนับจากกฎหมาย ธปท.ประกาศใช้จะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการชุด กกธ.ให้ได้ และต่อมาในอีก 2 เดือนจะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่เหลืออีก 3 ชุด ส่วนประเด็นที่ว่าคณะกรรมการชุดใหม่ที่จะเข้ามารับตำแหน่งในบอร์ดชุดต่างๆ จะมีนโยบายเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหนนั้น ในส่วนตัวมองว่าต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง และสภาพแวดล้อมในขณะนั้นมากกว่า” นายชาญชัย กล่าว
**เร่งติดตามกลุ่มมิจฉาชีพเอทีเอ็ม**
นายชาญชัย กล่าวอีกว่า ส่วนความคืบหน้าการจับคุมกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงให้ประชาชนโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม ซึ่งแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ธปท.นั้น เท่าที่สำรวจจากฝ่ายกฎหมายและคดีของ ธปท.พบว่า ล่าสุด มีประชาชนร้องเรียนมาทั้งสิ้น 200 ราย โดยประชาชนที่ถูกหลอกให้เสียเงินมีแค่ 17-18 ราย คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 8 แสนบาท
อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้ยอดประชาชนที่ร้องเรียนมายัง ธปท.เริ่มลดลง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ เนื่องจากประชาชนเริ่มระมัดระวังมากขึ้น ทำให้นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันมีเพียงประชาชนในเขตต่างจังหวัดร้องเรียนมาแค่ 1-2 ราย แต่ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมามีผู้เสียหายรายหนึ่งต้องสูญเสียเงินถึง 1 แสนบาท ถือเป็นวงเงินที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดเท่าที่มีเคยจับกุมมา
“อุปสรรคที่ยังไม่สามารถสืบถึงตัวกลุ่มมิจฉาชีพได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากบัญชีที่กลุ่มมิจฉาชีพเปิดไว้ เป็นบัญชีที่จ้างคนต่างจังหวัดเปิด จึงยังไม่ส่ามารถสาวถึงตัวกลุ่มผู้กระทำผิดได้ นอกจากนั้น ผู้เสียหายเองไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการแจ้งความเป็นเจ้าทุกข์ เพราะเห็นว่าปริมาณเงินไม่มากนัก ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกหลอกเงินให้โอนผ่านตู้เอทีเอ็มแค่ไม่กี่พันบาท จึงไม่อยากเสียเวลา ทำได้แค่โทรมาร้องเรียนกับ ธปท.เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ได้ให้สำนักงานภาคต่างๆ ของ ธปท.ช่วยเร่งประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ระมัดระวังมากขึ้น”