ธปท.เผยตัวเลขหนี้เอ็นพีแอล ไตรมาส 4 ของปี 50 ลดลงจากไตรมาสก่อนกว่า 2 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 8.76% ของสินเชื่อรวม เหตุมีการขายหนี้เน่าให้แก่ บบส.บริหารต่อพร้อมทั้งตัดหนี้สูญที่ตามไม่ไหว ขณะที่สถาบันการเงินประเภทต่างๆ ล้วนเดินหน้าลดหนี้กัน มีเพียงบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ที่มีหนี้พุ่ง ซึ่งเกิดจาก บค.เอเซีย ขณะที่ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย-ทิสโก้-ธนชาต สวนกระแสระบบหนี้กลับพุ่ง
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินของธปท.ได้ประกาศตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยล่าสุดไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 พบว่า สถาบันการเงินในระบบมียอดหนี้เอ็นพีแอลทั้งสิ้น 237,887.59 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.95% ต่อสินเชื่อรวม ลดลง 22,834.38 ล้านบาท คิดเป็น 8.76% จากไตรมาสก่อนที่มีหนี้เอ็นพีแอลทั้งสิ้น 260,722.67 ล้านบาท คิดเป็น 4.44% ของสินเชื่อรวม
ทั้งนี้ สถาบันการเงินแต่ละประเภทส่วนใหญ่มียอดหนี้เอ็นพีแอลลดลง โดยธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศมียอดเอ็นพีแอลลดลงจากไตรมาสก่อนมากที่สุดในระบบถึง 22,326.07 ล้านบาท หรือลดลง 8.76% จากปัจจุบันที่มียอดททั้งสิ้น 232,458.34 ล้านบาท สาขาธนาคารต่างชาติลดลง 425.90 ล้านบาท หรือลดลง 11.60% จากล่าสุดที่มีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 3,244.60 ล้านบาท และบริษัทเงินทุน (บง.) ลดลง 103.61 ล้านบาท คิดเป็น 5.22% จากไตรมาส 4 ที่มีหนี้เอ็นพีแอลทั้งสิ้น 1,881.49 ล้านบาท
ขณะที่มีเพียงบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ (บค.) ที่มียอดหนี้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 21.21 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.52% จากปัจจุบันที่มียอดหนี้ทั้งสิ้น 303.17 ล้านบาท ซึ่งยอดเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวทั้งสิ้นเป็นส่วนของ บค.เอเซีย จำกัด
อย่างไรก็ตาม แม้โดยรวมแล้วธนาคารพาณิชย์ไทยส่วนใหญ่มียอดหนี้เอ็นพีแอลลดลง ถือเป็นการบริหารจัดการที่ดี แต่ก็มีบางรายที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย มีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 20 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 50% จากปัจจุบันที่มียอดหนี้ทั้งสิ้น 60 ล้านบาท ธนาคารทิสโก้ เพิ่มขึ้น 101 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8.66% จากปัจจุบันที่มีหนี้อยู่ 1,267 ล้านบาท และธนาคารธนชาต เพิ่มขึ้น 50 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.87%จากปัจจุบันที่มียอดหนี้ 1,790 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ปัญหาหนี้เอ็นพีแอล ซึ่งมีผลกดดันต่อธนาคารพาณิชย์ไทยในปัจจุบันอย่างมาก จากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวและเกณฑ์การจัดชั้นหนี้เสียตามสภาพของ ธปท.จึงทำให้เอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินในช่วงครึ่งหลังปีที่ผ่านมาลดลงได้ยาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไทยชะลอตัว และความผันผวนของตลาดการเงินโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินไทยด้วย ทำให้การบริหารจัดการหนี้มีความท้าทายมากขึ้น
“การลดลงส่วนใหญ่ของหนี้เอ็นพีแอลในครั้งนี้เกิดจากการตัดหนี้สูญของสถาบันการเงินของหนี้เอ็นพีแอลที่มีอายุมากกว่า 1 ปี และมีการกันสำรองหนี้ครบ 100% แล้ว และมีธนาคารพาณิชย์บางแห่งโอนขายหนี้เอ็นพีแอลในราคาส่วนลดให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ไปดำเนินการแทน”
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินของธปท.ได้ประกาศตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยล่าสุดไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 พบว่า สถาบันการเงินในระบบมียอดหนี้เอ็นพีแอลทั้งสิ้น 237,887.59 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.95% ต่อสินเชื่อรวม ลดลง 22,834.38 ล้านบาท คิดเป็น 8.76% จากไตรมาสก่อนที่มีหนี้เอ็นพีแอลทั้งสิ้น 260,722.67 ล้านบาท คิดเป็น 4.44% ของสินเชื่อรวม
ทั้งนี้ สถาบันการเงินแต่ละประเภทส่วนใหญ่มียอดหนี้เอ็นพีแอลลดลง โดยธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศมียอดเอ็นพีแอลลดลงจากไตรมาสก่อนมากที่สุดในระบบถึง 22,326.07 ล้านบาท หรือลดลง 8.76% จากปัจจุบันที่มียอดททั้งสิ้น 232,458.34 ล้านบาท สาขาธนาคารต่างชาติลดลง 425.90 ล้านบาท หรือลดลง 11.60% จากล่าสุดที่มีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 3,244.60 ล้านบาท และบริษัทเงินทุน (บง.) ลดลง 103.61 ล้านบาท คิดเป็น 5.22% จากไตรมาส 4 ที่มีหนี้เอ็นพีแอลทั้งสิ้น 1,881.49 ล้านบาท
ขณะที่มีเพียงบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ (บค.) ที่มียอดหนี้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 21.21 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.52% จากปัจจุบันที่มียอดหนี้ทั้งสิ้น 303.17 ล้านบาท ซึ่งยอดเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวทั้งสิ้นเป็นส่วนของ บค.เอเซีย จำกัด
อย่างไรก็ตาม แม้โดยรวมแล้วธนาคารพาณิชย์ไทยส่วนใหญ่มียอดหนี้เอ็นพีแอลลดลง ถือเป็นการบริหารจัดการที่ดี แต่ก็มีบางรายที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย มีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 20 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 50% จากปัจจุบันที่มียอดหนี้ทั้งสิ้น 60 ล้านบาท ธนาคารทิสโก้ เพิ่มขึ้น 101 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8.66% จากปัจจุบันที่มีหนี้อยู่ 1,267 ล้านบาท และธนาคารธนชาต เพิ่มขึ้น 50 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.87%จากปัจจุบันที่มียอดหนี้ 1,790 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ปัญหาหนี้เอ็นพีแอล ซึ่งมีผลกดดันต่อธนาคารพาณิชย์ไทยในปัจจุบันอย่างมาก จากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวและเกณฑ์การจัดชั้นหนี้เสียตามสภาพของ ธปท.จึงทำให้เอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินในช่วงครึ่งหลังปีที่ผ่านมาลดลงได้ยาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไทยชะลอตัว และความผันผวนของตลาดการเงินโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินไทยด้วย ทำให้การบริหารจัดการหนี้มีความท้าทายมากขึ้น
“การลดลงส่วนใหญ่ของหนี้เอ็นพีแอลในครั้งนี้เกิดจากการตัดหนี้สูญของสถาบันการเงินของหนี้เอ็นพีแอลที่มีอายุมากกว่า 1 ปี และมีการกันสำรองหนี้ครบ 100% แล้ว และมีธนาคารพาณิชย์บางแห่งโอนขายหนี้เอ็นพีแอลในราคาส่วนลดให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ไปดำเนินการแทน”