ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ ค่าเงินบาทสัปดาห์นี้แข็งค่าสูงสุดในรอบ 5 เดือน โดยวานนี้ (4 ม.ค.) แตะที่ระดับ 33.43 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่สัปดาห์หน้าคาดว่าค่าเงินบาทยังมีโอกาสแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า สัปดาห์นี้ค่าเงินบาทในประเทศแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยได้รับแรงหนุนอย่างต่อเนื่องจากแรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯของผู้ส่งออก และมุมมองเชิงบวกที่ว่าการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่จะนำไปสู่การใช้นโยบายที่เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทยังเป็นไปตามทิศทางการแข็งค่าของสกุลเงินในภูมิภาคทั้งเงินดอลลาร์สิงคโปร์ และเงินริงกิตแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี ขณะที่ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอีกด้วย สำหรับในวันศุกร์เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 33.43 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับระดับ 33.68 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า
สำหรับค่าเงินบาทในประเทศสัปดาห์หน้าอาจมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.20-33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปัจจัยที่ควรจับตา ได้แก่ แรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯของผู้ส่งออก การเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างชาติ สัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และความคืบหน้าทางการเมือง ตลอดจนทิศทางของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะขึ้นกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญ ประกอบด้วย ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ ข้อมูลสตอกสินค้าภาคค้าส่ง เดือนพฤศจิกายน และดัชนีราคานำเข้าและส่งออก เดือนธันวาคม
ส่วนตลาดเงินระยะสั้น สัปดาห์แรกของปี 2551 อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทรงตัวท่ามกลางสภาพคล่องในตลาดเงินที่ยังมีอยู่มาก โดยมีการทยอยไหลกลับของสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินหลังเทศกาลปีใหม่ โดยอัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืน รวมทั้งระดับปิดของอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 ขณะที่มีธุรกรรมตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ปิดที่ระดับเดียวกันในวันพฤหัสบดีด้วย ส่วนในสัปดาห์หน้า จะมีการชำระเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นน่าจะยังทรงตัวใกล้เคียงกรอบการเคลื่อนไหวเดิมอย่างต่อเนื่อง
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า สัปดาห์นี้ค่าเงินบาทในประเทศแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยได้รับแรงหนุนอย่างต่อเนื่องจากแรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯของผู้ส่งออก และมุมมองเชิงบวกที่ว่าการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่จะนำไปสู่การใช้นโยบายที่เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทยังเป็นไปตามทิศทางการแข็งค่าของสกุลเงินในภูมิภาคทั้งเงินดอลลาร์สิงคโปร์ และเงินริงกิตแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี ขณะที่ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอีกด้วย สำหรับในวันศุกร์เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 33.43 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับระดับ 33.68 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า
สำหรับค่าเงินบาทในประเทศสัปดาห์หน้าอาจมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.20-33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปัจจัยที่ควรจับตา ได้แก่ แรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯของผู้ส่งออก การเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างชาติ สัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และความคืบหน้าทางการเมือง ตลอดจนทิศทางของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะขึ้นกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญ ประกอบด้วย ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ ข้อมูลสตอกสินค้าภาคค้าส่ง เดือนพฤศจิกายน และดัชนีราคานำเข้าและส่งออก เดือนธันวาคม
ส่วนตลาดเงินระยะสั้น สัปดาห์แรกของปี 2551 อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทรงตัวท่ามกลางสภาพคล่องในตลาดเงินที่ยังมีอยู่มาก โดยมีการทยอยไหลกลับของสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินหลังเทศกาลปีใหม่ โดยอัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืน รวมทั้งระดับปิดของอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 ขณะที่มีธุรกรรมตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ปิดที่ระดับเดียวกันในวันพฤหัสบดีด้วย ส่วนในสัปดาห์หน้า จะมีการชำระเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นน่าจะยังทรงตัวใกล้เคียงกรอบการเคลื่อนไหวเดิมอย่างต่อเนื่อง